ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการรับวัคซีนป้องกันโควิด 19

ผู้แต่ง

  • สุกฤตา ตะการีย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • อรทิพา ส่องศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • สุสารี ประคินกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • รัตนาภรณ์ นิวาศานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • พาจนา ดวงจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล , การรับวัคซีนป้องกันโควิด 19

บทคัดย่อ

บทนำ: วัคซีนป้องกันโควิด 19 เป็นภูมิคุ้มกันช่วยลดความรุนแรงของการเกิดอาการแทรกซ้อน และการผลิตวัคซีนในระยะเวลาที่จำกัดข้อมูลวัคซีนไม่มีความชัดเจนก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัย ทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลในประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทางการแพทย์เรียกว่า ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน Immunization Stress Related Response (ISRR)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้มารับวัคซีนป้องกันโควิด 19

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลในประชาชนที่รอรับการฉีดวัคซีน จำนวน 406 คน ในช่วงเดือนมิถุนายน–ตุลาคม พศ.2564 สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง > 0.7  และมีความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย: พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความพร้อมในการฉีดวัคซีน, ปัจจัยการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีน ด้านความถี่ในการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด 19, ปัจจัยทัศนคติเกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ .05 และปัจจัยความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19

สรุปผล: ความวิตกกังวลในการรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของประชาชนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล, การได้รับข้อมูลข่าวสาร และทัศนคติเกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีน

ข้อเสนอแนะ: การวิจัยนี้สามารถนําข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแล ให้ความรู้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน และลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19

Downloads

Download data is not yet available.

References

Today reports the situation of Covid-19. Medical Innovation and Research and Development Laboratory Covid-19 Situation Administration Center (CDC) National Research Office (NRCT), Ministry of Higher Education Science Research and Innovation. [Internet]. 2021 [cited 2022 July 6]. Available from: https://covid19.nrct.go.th/category/daily/

Guideline document for adverse reactions after vaccination. Pediatric infections Disease Society of Thailand. [Internet]. 2021 [cited 2021 June 15] Available from: https://www.pidst.or.th/A1021.html

Christopher MA, Shelby R, Alexander WT, Patrick JT, William LI, Radu T, Jonathan RE. Annals of Neurology. 2021;90(2):315-18. Available from: https://stevekirsch.substack.com/p/vaccine-adverse-reaction-articles?s=r

Trakultaweesuk P. Factors of Influence COVID-19 Vaccine Intent and Vaccine’s Concerns Among Hospital Staffs. Journal of Research and Health Innovative. 2021;3(1):47-57. (in Thai).

Ekakul T. Research Methods in Behavioral and Social Sciences. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat Institute. 2000. (in Thai).

Kittiratanapaiboon P. A handbook for taking care of social and mental health personnel during the COVID-19 crisis. Department of Mental Health, Ministry of Public Health Nonthaburi Province. 2020. (in Thai).

COVID-19 is a contagious disease. [Internet]. 2021 [cited 2021 June 16] Available from: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand

Khumsaen N, Peawnalaw S, Sripituk S, Narysangkharn S. Factors Influencing Mental Health Status of Residents in U-thong District, Suphanburi Province during the Covid-19 Pandemic. Journal of Health and Nursing Research. 2021;37(1):36-50. (in Thai).

Kullabut A, Laochan N, Wangkui S, Suwanphan A. Knowledge and Opinions about the COVID-19 Vaccine and Vaccination Decision of Staffs Operating. at U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport, Rayong Province. Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University. 2022;2(1): 31-42. (in Thai).

Liang L, Ren H, Cao R, Hu Y, Qin Z, Li C, et al. The Effect of COVID-19 on Youth Mental Health. Psychiatr Q. 2020; 91(3):841-52.

Spielberger, C.D. Manual for the state-trait anxiety inventory. (STAI) form Y: Self-evaluation questionnaire. 1983.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-17