สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ชูกำเนิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ผาณิต หลีเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศักรินทร์ สุวรรณเวหา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จารุณี วาระหัส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อภิสิทธิ์ เชื้อคำเพ็ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

สมรรถนะ , การพยาบาล , โรคโควิด 19 , พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทนำ: สมรรถนะการพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกคุณภาพการดูแลผู้ป่วย พยาบาลวิชาชีพจึงต้องมีสมรรถนะที่โดดเด่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการด้านสุขภาพรองรับการการระบาดของโรคโควิด 19

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด 19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ

ระเบียบวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative descriptive research) ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ จำนวน 53 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ ประกอบด้วยสมรรถนะ 7 ด้านคือ 1) การป้องกัน ควบคุมการติดเชื้อและเฝ้าระวังโรค  2) การคัดกรองและคัดแยกผู้ป่วย 3) การปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 4) มีความมุ่งมั่น เสียสละและทุ่มเท 5) สามารถทำงานเป็นทีม เน้นการสื่อสาร และประสานงาน 6) สามารถจัดการกับปัญหาและความท้าทายในการดูแลผู้ป่วย และ 7) สามารถควบคุม และจัดการอารมณ์ตนเอง

สรุปผล: การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลอันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ ครอบครัวและชุมชน

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด 19

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2022. [cited 2022 June 3]. Available from: https://covid19.who.int

Chawaphanth S, Sennun P, Tanasirijiranont R. Nurses and their’ spirit of the second mile’ service during Covid-19 pandemic. JTNC 2021;36(1): 5-17. (in Thai)

International Council of Nurses. ICN says 115,000 healthcare worker deaths from COVID-19 exposes collective failure of leaders to protect global workforce [Internet]. 2021. [cited 2022 Jan 3]. Available from: https://www.icn.ch/news/icn-says-115000-healthcare-worker-deaths-covid-19-exposes-collective-failure-leaders-protect

Lai J, Ma S, Wang Y, Cai Z, Hu J, Wei N, et al. Factors associated with mental health outcomes among health care workers exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Netw Open. 2020 Mar 2;3(3):e203976.

Cowin LS, Hengstberger-Sims C, Eagar SC, Gregory L, Andrew S, Rolley J. Competency measurements: testing convergent validity for two measures. J Adv Nurs 2008;64(3):272-7.

Garside JR, Nhemachena JZ. A concept analysis of competence and its transition in nursing. Nurse Educ Today 2013;33(5):541-5.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Professional nursing and midwifery competencies. Nonthaburi: Siriyord printing; 2010. (in Thai)

Sungkeaw S, Harnirattisai T, Srisatidnarakul B. Registered nurses’ competency in caring for emerging infectious diseases. JTNC 2020;35(3): 69-86. (in Thai)

Toprasert T. Competency of nurses in emerging infectious disease care, Bamrasnaradura Infectious Disease Institute. J Bamrasnaradura Infect Dis In 2021;15(1): 25-36. (in Thai)

Graneheim UH, Lundman B. Qualitative content analysis in nursing research: concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Educ Today 2004;24(2):105-12.

World Health organization. 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV): Strategic preparedness and response plan [Internet]. 2020. [cited 2022 Jan 3]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/strategic-preparedness-and-response-plan-for-the-new-coronavirus

Thailand Ministry of Public Health. Department of Disease Control. Health Workers' Guide to Emergency Response case of coronavirus disease 2019 outbreak [Internet]. 2020. [cited 2020 Feb 18]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other05.pdf

Vázquez-Calatayud M, Regaira-Martínez E, Rumeu-Casares C, Paloma-Mora B, Esain A, Oroviogoicoechea C. Experiences of frontline nurse managers during the COVID-19: A qualitative study. J Nurs Manag 2022;30(1):79-89.

Lauck SB, Bains VK, Nordby D, Iacoe E, Forman J, Polderman J, et al. Responding to the COVID-19 pandemic: Development of a critical care nursing surge model to meet patient needs and maximize competencies. Aust Crit Care 2022;35(1):13-21.

Li H, Dong S, He L, Wang R, Long S, He F, et al. Nurses' core emergency competencies for COVID-19 in China: A cross-sectional study. Int Nurs Rev 2021;68(4):524-32.

Karnjuš I, Prosen M, Ličen S. Nurses' core disaster-response competencies for combating COVID-19-A cross-sectional study. PLoS One 2021;16(6):e0252934.

Chen SC, Lai YH, Tsay SL. Nursing perspectives on the impacts of COVID-19. J Nurs Res 2020;28(3):e85.

Peiró T, Lorente L, Vera M. The COVID-19 crisis: Skills that are paramount to build into nursing programs for future global health crisis. Int J Environ Res Public Health 2020;17(18):6532. https://doi.org/10.3390/ijerph17186532

Chaipornjaroensri W, Sosome B, Chaowiang K. Reviews of educational research developing humanized care: A case study of Boromarajonani College of Nursing, Praputthabat. Journal of Public Health Nursing 2017;31(1): 146-59. (in Thai)

Gebbie KM, Qureshi K. Emergency and disaster preparedness: Core competencies for nurses. Am J Nurs 2002;102(1):46-51.

Fang Y, Nie Y, Penny M. Transmission dynamics of the COVID-19 outbreak and effectiveness of government interventions: A data-driven analysis. J Med Virol 2020;92(6):645-59.

Mao X, Loke AY, Hu X. Developing a tool for measuring the disaster resilience of healthcare rescuers: a modified Delphi study. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine 2020;28(4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22