ความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • วรางคณา อุดมทรัพย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์
  • ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์
  • จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณ๊ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรู้, ความตระหนัก , ภูมิคุ้มกันโรค , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: การมีความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับบุคลากรสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลสามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการรับหรือแพร่เชื้อโรคขณะฝึกปฏิบัติงานในคลินิกและขณะปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้รับบริการ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับบุคลากรสุขภาพ และเปรียบเทียบความรู้และความตระหนักของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1–4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน  552 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 และ .73  ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัย: พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของนักศึกษาชั้นปีที่  4 อยู่ในระดับดี ( gif.latex?\dot{x} = 18.17, σ = 2.45) ส่วนนักศึกษาชั้นปีอื่นมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 อยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.51, σ = .44  และ gif.latex?\bar{x} = 4.82, σ = .34 ตามลำดับ)  ส่วนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับดี  3) การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคระหว่างชั้นปีพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าทุกชั้นปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001)

สรุปผล: การศึกษานี้แสดงถึงการมีความรู้ในระดับปานกลางของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับบุคลากรสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ  ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ควรส่งเสริมให้อาจารย์ นำแนวปฏิบัติการให้วัคซีนในบุคลากร บูรณาการกับการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในทุกรายวิชาทางการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มมากขึ้น

References

Khuri-Bulos NA, Toukan A, Mahafzah A, Adham M.AI, Faori I, Abu Khader I, Abu Rumeileh ZI. Epidemiology of needlestick and sharp injuries at a university hospital in a developing country: A 3-year prospective study at the Jordan University Hospital, 1993 through 1995. Am J Infect Control 1997;25(4):322-9.

Setthamas M, Sawaengdee K, Theerawit T, Tangcharoensathien V, Thinkhamrop B, Chaichaya N and Thinkhamrop W. Incidence and risk factors of needle stick and sharp injuries among registered nurses in Thailand. J Pub Health Dev 2018;16(1):17-28. (in Thai).

Unahalekhaka A. Vaccine preventable diseases among hospital personnel in Thailand. Nursing Journal [Internet]. 2013 [cited 2018 April 20];90–96. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19086/16789 (in Thai).

Hamborsky J, Kroger A, Wolfe C, editor. Epidemiology and prevention of vaccine-preventable diseases. 13th ed. Washington, DC: Centers for Disease Control and Prevention; 2015.

Bureau of General Communicable Diseases. Department of Disease Control. Recommendations of immunization among healthcare workers. Under the Advisory subcommittee on Immunization the year 2011. (in Thai).

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Hospital and Healthcare Standards. 4th ed. Nonthaburi: The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization), 2018. (in Thai).

Prasertsri N, Teeyapan W, Charoennukul A, Bootsri W, Wisetchoonhasilp A. Knowledge and prevention of needlestick sharp injuries in nursing students. J of Nursing, Public Health, and Education 2019;Jan-April:160-71. (in Thai).

Loulergue P, Launay O. Vaccinations among medical and nursing students: coverage and opportunities. J vaccine 2014;27;32(38):4855-9.

Anderson LW, Krathwohl DR. A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives. New York: Longman; 2001.

Udomlack S, Pinitchan A. Aung Myo N, Thaveepuk P, Langlak C. Vaccination, knowledge and awareness to prevent hepatitis B infection among nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Chainat. Nursing J of the Ministry of Public Health 2014;24(1):92-104. (in Thai).

Bandura A. Social cognitive theory in cultural context. Journal of Applied Psychology: An International Review 2002;51:269–290.

National Vaccine Institute (Public Organization), Thailand. The course of workshop for Immunization Health care worker the year 2018. Nonthaburi: Amarin printing and Publishing; 2018. (in Thai).

Chokephaibulkit K, Lapphra K, Mekmullika J, Nakboonnum T, Tangsatapornpong A. editors. Textbook of vaccine and immunization 2013. Bangkok: Suan Sunundha Rajbhat University; 2013. (in Thai).

Poovorawan Y, Chongsrisawat V, Theamboonlers A, Theamboonlers A, Bock HL, Leyssen M, Jacquet JM. Persistence of antibodies and immune memory to hepatitis B vaccine 20 years after primary vaccination of Thailand. Vaccine [Internet]. 2010 [cited 2019 Aug 10]; 28:730-6. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3495725/

Posuwan N, Wanlapakorn N, Sa-Nguanmoo P, Wasitthankasem R, Vichaiwattana P, Poovorawan Y, et al. The success of a universal hepatitis B immunization program as part Thailand’s EPI after 22 Year’ Implementation. PLoS One. 2016 Mar 3;11:e0150499. doi:10.1371/ journal pone.0150499.eCollection 2016. PMID:26938736.

Boonmee P, Fukfon K, Prompao P. Incidence of needlestick and sharps injuries and blood and body fluid exposures in nursing students of Boromarajonani College Nursing Phayao. J of Nursing and Education 2013;6 (2):125-36. (in Thai).

Tanavikrankoon M, Suwannapong N, Tipayamongkholkul M, Howteerakul N. Acceptance of seasonal influenza vaccination among medical personnel in a super tertiary care hospital, Bangkok. Vajira Nursing Journal 2015;17(2):15-29. (in Thai).

Kanchanaudom P, Charoensuk S, Watcharaach J, Wankrathok S, Sribout S. The relationship between systematic thinking, critical thinking and clinical judgment of nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri. J of Health Science Research 2021;15(2): 76-87. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01