ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์
  • ปัญญาวดี ทองแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์
  • นันธิดา วัดยิ้ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์
  • ภัทรา สุวรรณโท วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักศึกษาพยาบาล ที่ต้องอยู่รวมกันในหอพักและฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย หากนักศึกษาขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น ก็จะเกิดผลกระทบตามมาทั้งในด้านสุขภาพและการพัฒนาวิชาชีพ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional analytical study) โดยใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ  ของ Baker และคณะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 ของวิทยาลัยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 7 แห่ง จำนวน 565 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ต่อการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในรูป google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสเปียร์แมน และสถิติถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ที่ตั้งของวิทยาลัย ระดับความรู้ การรับรู้ภาวะสุขภาพทั้ง 6 ด้าน โดยระดับความรู้และภูมิลำเนาร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 9.70 และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 38 ( R2 = .380) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)

สรุปผล: การที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นจะมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคของตนเองมากน้อยเพียงใด

ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีความมั่นใจและรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและผู้รับบริการต่อไป

References

World Health Organization. What is a coronavirus? 2020c [Internet].2021[cited 2021 April 10]. Available from: https://www.who. Int/news-room/q-a-detail/q-a-coronaviruses

Ministry of Health. Notification of the Ministry of Public Health [Internet]. 2019 [cited 2022 April 18]. Available from: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF

Department of Disease Control. Covid-19 [Internet]. 2021 [cited 2021 May 18]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php. (in Thai)

Adli I, Widyahening IS, Lazarus G, Phowira J, Azzahra L, Ariffandi B, et al. Knowledge, attitude, and practice related to the COVID-19 pandemic among undergraduate medical students in Indonesia: a nationwide cross-sectional study. medRxiv 2021. https://doi.org/10.1101/2021.07.05.21260021

Tsai, Fu-Ju, Hu, Yih-Jin, Chen, Cheng-Yu, Tseng, Chie-Chien, Yeh, Gwo-Liang, Cheng, Jin-Fong. Using the health belief model to explore nursing students’ relationships between COVID-19 knowledge, health beliefs, cues to action, self-efficacy, and behavioral intention: A cross-sectional survey study. Medicine 2021; 100: 11 (e25210).

Becker, MH. The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs 1974; 2: 324- 508. Available from http://dx.doi.org/ 10.1177/10901981 7400200407.

Bunthan W, Soynahk C, Whaikit P, Akaratanapol P, Soysang V, Kompayak J. Factor influencing to health promotion behavior for Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention of older adults. Journal of the Police Nurses 2020; 12(2):323-337 (In Thai)

Glomjai T, Kaewjiboon J, Chachvarat T. Knowledge and behavior of people regrading self-care prevention from Novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of Nursing, Public Health, and Education 2020; 21(2),29-39. (in Thai).

Nulty DD. The adequacy of response rates to online and paper surveys: what can be done? Assessment & Evaluation in Higher Education 2008; 33(3), 301-14.

Green SB. How many subjects does it take to do a regression analysis? Multivariate Behavioral Research 1991; 26(3), 499-510.

Singweratham N. Thaopan WW, Nawsuwan K, Pohboon C, Surirak S. Perception and preventive behaviors on the coronavirus disease-2019 (COVID-19) among dental nurses under the Ministry of Public Health. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute 2020; 14(2): 104-115. (in Thai)

Poonaklom, P., Rungram, V., Abthaison, P., & Piralam, B. (2020). Factors Associated with Preventive Behaviors towards Coronavirus Disease (COVID-19) among Adults in Kalasin Province, Thailand. OSIR, 13(3), 78-89. (in Thai)

Puengching T, Punthasri P. Factors related to prevention behavior for communicable disease in the air technical students. Royal Thai Air Force Medical Gazette 2019; 65(3): 1-11. (in Thai)

Waeputeh N, Kanchanapoom K, Tansakul K. Prevention behaviors of Coronavirus disease 2019 of Songkhla Rajabhat university students. Journal of Council of Community Public Health 2021; 3(2): 31-39. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01