สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทํางานในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ภัทรภณ แจ่มมิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สิ่งคุกคามสุขภาพ , ทำงาน, คณะแพทยศาสตร์

บทคัดย่อ

บทนำ: พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ไม่ใช้บังคับกับหน่วยงานราชการ อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ มีมาตรฐานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด การสำรวจสิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงานเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินงานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อสำรวจและประเมินสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระเบียบวิธีวิจัย: วิจัยเชิงสำรวจ สำรวจและประเมินสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน 22 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และแบบประเมินสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและการป้องกันอันตรายจากสิ่งคุกคามสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวนและร้อยละ

ผลการวิจัย: สิ่งคุกคามสุขภาพที่พบจากหน่วยงานทั้งหมดในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียงตามลำดับ ดังนี้ สิ่งคุกคามสุขภาพด้านกายภาพเป็นปัญหาอันดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 86.36 ของหน่วยงานทั้งหมด สิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมีเป็นปัญหาอันดับที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 81.82 ของหน่วยงานทั้งหมด สิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวกลศาสตร์เป็นปัญหาอันดับที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 72.72 ของหน่วยงานทั้งหมด และสิ่งคุกคามสุขภาพทางจิตใจและชีวภาพเป็นปัญหาอันดับที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 50 ของหน่วยงานทั้งหมด

สรุปผล: ปัญหาที่พบส่วนมาก คือ สิ่งคุกคามทางด้านกายภาพ ได้แก่ พื้นที่อับอากาศ ความร้อน น้ำรั่วซึม และแสงสว่างน้อย และสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี ได้แก่ ฝุ่นละออง ฟอร์มาลิน ฟีนอล ปรอทก๊าซในห้องทดลอง ไนโตรเจนเหลว

ข้อเสนอแนะ: นำเสนอผลการสำรวจต่อผู้บริหารและคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในแก้ไขปัญหาหรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข

Downloads

Download data is not yet available.

References

Department of Labour Protection and Welfare. Occupational safety, health, and environment management manual for government agencies under occupational safety, health, and environment act (A.D. 2011). Bangkok: Jiahua; 2013 (in Thai).

Secretariat of the Cabinet. Occupational safety, health, and environment act (A.D. 2011). Government Gazette 2011;128(4):5-25 (in Thai).

World Health Organization and the International Labour Organization. WHO/ILO joint estimates of the work-related burden of disease and injury, 2000-2016: global monitoring report. Geneva: World Health Organization and the International Labour Organization; 2021.

Hamalainen P, Takala J, Kiat TB. Global Estimates of Occupational Injuries and Work-related Illnesses 2017. Singapore: Workplace Safety and Health Institute; 2017.

Workers’ compensation fund [Internet]. 2021 [cited 2022 April 17]. Available from: https:// shorturl.at/fwF89. (in Thai).

Health and Safety Executive. Costs to Britain of workplace fatalities and self-reported injuries and ill health, 2018/19. London: Health and Safety Executive; 2020.

Miller TR, Waehrer GM, Leigh JP, Lawrence BA, Sheppard MA. Costs of Occupational Hazards: A Microdata Approach. Calverton: Pacific Institute for Research and Evaluation; 2002. Grant No.: R01/CCR312179-03. Sponsor by National Institute for Occupational Safety and Health.

Canadian Centre for Occupational Health and Safety. Hazard and risk [Internet], 2009. [cited 2011 May 9], Available from www.ccohs.ca.

Occupational Safety and Health Bureau. Ergonomics manual for lifting and handling operations improvement. Bangkok: Chayakorn printing; 2019. (in Thai)

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P, Stewart J. Incidence and risk factors associated with lower back pain among university office workers. Int J Occup Saf Ergon 2021;27(4):1215-21.

Meyoutam C, Sithisarankul P. Occupational safety, and health of clinical laboratories. Chula Med J 2018;62(5):773 – 84 (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24