ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล ประวัติการรักษา และการเข้าถึงบริการที่มีผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลรามาธิบดี

ผู้แต่ง

  • ละออ นาคกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐพร แสนมีมา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วรมิญช สุขสุวรรณ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมนึก สังฆานุภาพ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ยาต้านไวรัสเอชไอวี, ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส, อุปสรรคในการเข้ารับบริการ

บทคัดย่อ

บทนำ : ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับประทานยาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อประสิทธิภาพในการลดปริมาณเชื้อเอชไอวี เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตลอดจนคงไว้ซึ่งการรักษาให้ได้ผลอย่างยาวนานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส และปัจจัยที่มีผลต่อความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในหญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี และมาตรวจรับบริการที่คลินิกอายุรกรรม อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นผู้ติดเชื้อเพศหญิงที่รับประทานยาต้านไวรัสมาแล้วมากกว่า 6 เดือน จำนวนทั้งหมด 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 4 ส่วน ประกอบด้วย ลักษณะส่วนบุคคล ประวัติการรักษา อุปสรรคการเข้าถึงบริการ ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา มีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินอุปสรรคในการเข้าถึงบริการและแบบประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส 0.79 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และ ไคว์สแควร์

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่คลินิกอายุรกรรม พบว่ามีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส ร้อยละ 85.5 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ร้อยละ 14.5 สำหรับปัจจัยความเพียงพอของรายได้ ประวัติการผิดนัดพบแพทย์และการติดเชื้อเอชไอวีของคู่/ผู้อยู่ร่วมกัน มีผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.014 p-value =0.002 และ p-value=0.002 ตามลำดับ) ส่วนอุปสรรคในการเข้ารับบริการ ในเรื่องการปกปิดการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองกับเพื่อนหรือผู้ร่วมงาน อุปสรรคเรื่องค่าใช้จ่ายในการไปตรวจรักษาและซื้อยาต้านไวรัส และภาระงานมากจนลืมทานยาหรือไม่สามารถรับประทานยาได้ตรงเวลา มีผลต่อความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.006, p-value=0.035 และ p-value=0.001) ตามลำดับ ส่วนการตรวจวัดค่าระดับไวรัสในเลือดของกลุ่มตัวอย่างที่รับประทานยาต้านไวรัสสม่ำเสมอ กับกลุ่มตัวอย่างที่รับประทานยาต้านไวรัสไม่สม่ำเสมอ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value=0.001

สรุปผล: ปัจจัยด้านบุคคลและอุปสรรคในการเข้ารับบริการ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส

ข้อเสนอแนะ: จากงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ทีมผู้ให้การรักษาควรเพิ่มช่องทางการเข้ารับบริการที่มีความสะดวก และพัฒนาแนวทางการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ก่อนการเริ่มยาต้านไวรัส เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานยาต้านไวรัสให้ถูกต้องอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ติดเชื้อที่รับประทานยาต้านไวรัสไม่สม่ำเสมอ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Kiertiburanakul S. Ambulatory care of HIV-infected patients. Bangkok: Beyond Enterprise Company Limited. 2013. (in Thai).

Siraplapasiri T. Strategic plan to end AIDS problems in Bangkok in 2017-2030. Bangkok: NC Concept Company limited 2017;36-46 (in Thai).

National Health Security Office (NHSO).Generation Y [Internet].2021[cited 2021].Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1531820201028023609.pdf. (in Thai).

Ramathibodi. Power BI system.Statistics of services for HIV/AIDS patients.2021[cited 2021 Jun 15]. Available from: https://app.powerbi.com/groups/me.

Centers for Disease Control and Prevention [Internet].2021 [cited 2021 May 13]. Available from: https://hivinfo.nih.gov/understanding-hiv/fact-sheets/hiv-and-women Centers for Disease Control and Prevention (CDC).

Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Diagnosis, Treatment and Prevention 2021/2022) [Internet]. 2021[cited 2021 Jun 08]. Available from: http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/hiv-aids-guideline-2564_2565.pdf.

Srirach C. Antiretroviral drug adherence by people living with human immunodeficiency virus [master's thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2016. (in Thai)

Srirach C, Boonshuyar C, Pacheun O. Health behaviors and adherence to antiretroviral drug among people living with human immunodeficiency virus. J nursing Siam University 2018;19(37):39-55.

Maneesriwongkul W.Relationships between selected factors, health behaviors and medication adherence among people living with HIV. Journal of public health nursing 2015;29(2). (in Thai).

Choodam M, Quality of life among patients with HIV/AIDS in Pa-phayom district, Phatthalung province. Journal of Health Science. Thaksin University 2019; 1(1). (in Thai).

Bureau of AIDS, TB and STIs Ministry of Public Health.Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017. Bangkok: National Office of Buddhism; 2017. (in Thai).

Veerakul K, Prasertchai A, Praditbatuka S. Factors affecting the cooperation of treatment behavior among HIV infected/ AIDS

patients attending antiretroviral therapy program at Thung Tako Hospital, Chumphon province. The 2nd STOU Graduate Research Conference 2017. (in Thai).

Thanawuth N and Sinarak S. Antiretroviral adherence and associated factors. Songkla Med J 2014;32(1). (in Thai).

Therawattanasuk N, Chaiyakulwattana A, Peankhum S. The relationship between social support factors and antiretroviral agent adherence in HIV/AIDS patients at Um-Najaroen province, Thailand. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2012; 8(3):1-13. (in Thai).

Muangma N, Lalitanantpong D. Resilience and social support in HIV/AIDS clients at the HIV Netherlands Australia Thailand Research Collaboration, Thai Red Cross AIDS Research Centre. Chula Med J 2018; 62(6):947-63.

Chaichan M, Maneesriwongul W, Visudtibhan P. Relationships between personal characteristics, barriers to access to care and perceived stigma and medication adherence among people living with HIV. Journal of Phrapokklao nursing nollege 2015;26(2). (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22