ประสบการณ์การทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงผ่านการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาหญิง: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา

ผู้แต่ง

  • พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ยุทธนา มีกลิ่นหอม โรงเรียนบางพลีราษฏร์บำรุง
  • สุรพล บุญลือ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

นักเรียนมัธยมศึกษาหญิง, พหุพฤติกรรมเสี่ยง, ประสบการณ์, การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา

บทคัดย่อ

บทนำ อุบัติการณ์ของพหุพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นหญิงไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่น่าสนใจคือ การค้นหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการทำพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ที่ผ่านมาเน้นที่พฤติกรรมเสี่ยงชนิดเดียว และขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยสาเหตุและประสบการณ์การทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นหญิงอย่างลึกซึ้ง วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาประสบการณ์การทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงผ่านการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาหญิง ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับนักเรียนมัธยมศึกษาหญิงที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยง 16 คน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาหญิงทั้ง 16 คน มีประสบการณ์ในการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงตั้งแต่ 2 ถึง 8 พฤติกรรม ส่วนใหญ่เริ่มจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังจากนั้นทำพฤติกรรมเสี่ยงชนิดอื่น ๆ ตามมาภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน สถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้ทำพหุพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ฉลองสอบเสร็จ การเข้าค่ายนอกสถานที่ และการไปบ้านรุ่นพี่ เป็นต้น ปัจจัยสาเหตุสำคัญของการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยง ส่วนใหญ่ยอมรับว่าตนเองขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการควบคุมพหุพฤติกรรมเสี่ยง เนื่องจากไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน เพราะกลัวเพื่อนไม่พอใจ และกลัวเข้ากับกลุ่มเพื่อนไม่ได้ นักเรียนมัธยมศึกษาหญิงมีความตั้งใจเป็นพื้นฐานของการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ จึงไม่เคยหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมเสี่ยงเมื่อมีโอกาส สรุปผล สาเหตุการเกิดพหุพฤติกรรมเสี่ยงในนักเรียนมัธยมศึกษาหญิง คือ การมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพหุพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ และมีความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงพหุพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนารูปแบบการป้องกันพหุพฤติกรรมเสี่ยงสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เน้นส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพหุพฤติกรรมเสี่ยง และความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงพหุพฤติกรรมเสี่ยง พยาบาลควรทำความเข้าใจความต้องการเฉพาะในวัยรุ่นหญิง เพื่อลดโอกาสในการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยง

References

1. Wichaidiz W, Macnale E, Sainham D, Autsanangkornchai S. Report of Thai society's alcohol consumption situation in the year 2017. Bangkok: Sahamitpattana Printing; 2019. (in Thai).

2. Autsanangkornchai S. Report on the results of the research project to surveillance about consumption of alcoholic beverages behavioral and health risk behavior of students in the junior secondary level in Thailand, Bangkok: Pimdee printing; 2008. (in Thai).

3. Bureau of Reproductive Health, Ministry of Public Health. Fact sheet 2020 teenage pregnancy in Thailand. C2021 [cited 2020 September]. Available from http://rh.anamai. moph.go.th/download/all_file/index/situation/Fact [email protected] (in Thai).

4. National Statistical Office Thailand. Female adolescents are more likely to smoke. Bangkok: Bangkok block Printing; 2018. (in Thai).

5. Kengkanpanich T. Factors Influencing smoking behavior of female adolescents. Journal of Health
Education 2008;31(108):26-40. (in Thai).
6. Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. Situation of consumer consumption control of tobacco country of Thailand in the year 2016. Bangkok: Chareondeemankong Printing; 2016. (in Thai).

7. Thammaraksa P, Powwattana A, Wannasuntad S, Tipkanjanaraykha K. Factors related to multiple risk behaviors among female secondary school students. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2019;35(1):224-38. (in Thai).

8. Hair EC, Park MJ, Ling TJ, Moore KA. Risky behaviors in late adolescence: co-occurrence, predictors, and consequences. Journal of Adolescent Health 2009;45(3):253-61.

9. Powwattana A, Auemaneekul N, Lagampan S. Risk behaviors prevention in adolescence: concepts and management in multilevel approach. Bangkok: Protexts, 2017. (in Thai).

10. Teanchaithut C, Masingboon K, Wacharasin C. A Causal model of safe sex behaviors in female adolescents. Journal of Phrapokklao Nursing College 2016;27(2):78-94. (in Thai).

11. Ajzen I. The theory of planned behavior. Organ Behav Hum Dec. 1991;50:179-211.

12. Office of the Basic Education Commission. Education management information system. 2019[2019 Dec 17] Available from http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata.(in Thai).

13. Graneheim UH, Lundman B. Qualitative content analysis in nursing research: concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today. 2004;24(2): 105-12. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2003.10.001

14. Autsanangkornchai S, Sainham D, Jitpiboon W, Jinpon P, Chindech A, Jaroenrat S, Paileaklee S, Thaikra K. The fourth surveillance of alcohol, tobacco, substance use and health-risk behaviors among high school students in Thailand in 2018. Center for Alcohol studies, Prince of Songkla University; 2018. (in Thai).

15. Tipwareerom W, Powwattana A, Lapvongwatana P. The effectiveness of sexual risk behaviorprevention program for male adolescent in Phitsanulok province. Journal of Public Health Nursing 2013;27(1):31-45. (in Thai).

16. Areekul W, Hongsaholsee S, Treepatee S, Manaboriboon B, Areemit R, Prasertwit J, Inill S. Practical points in Adolescent Health Care. Bangkok, A-plus Print;2012. (in Thai).

17. Loke AY, Mak YW, Wu CST. The association of peer pressure and peer affiliation with the health risk behaviors of secondary school students in Hong Kong. Journal of Public Health. 2016;137:113-23. https://doi.org/10.1016/j. puhe.2016.02.024

18. Thammaraksa P, Powwattana A. Whether or not multiple risk behaviors in Thai adolescents is preventable? Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2018;34(2):173-88. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09