ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของ อาสาสมัครกู้ชีพเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เกศวดี ดาวภักศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมความปลอดภัย , อาสาสมัครกู้ชีพ

บทคัดย่อ

บทนำ: การทำงานอาสาสมัครกู้ชีพเป็นงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดจากการทำงาน การมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานที่ดีจะช่วยป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานได้

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพในเขตกรุงเทพมหานคร

ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครกู้ชีพในเขตกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมีความเชื่อมั่น 0.94-0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์และการถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression analysis)

สรุปผล: การขึ้นทะเบียนกับมูลนิธิกู้ชีพ ความรู้และทัศนคติด้านความปลอดภัยในการทำงาน การจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงาน แรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และแรงสนับสนุนจากมูลนิธิกู้ชีพ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพ

ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นความสำคัญของการให้ความรู้และทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยในการทำงาน การขึ้นทะเบียน ปัจจัยเอื้อด้านอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน หัวหน้า มูลนิธิกู้ชีพส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Google. National institute for emergency medicine [Internet].2020 [Cited 2020 January 2]. Available from: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/492?group=16

Yeeheng U, Rawiworrakul T. Bystander cardio-pulmonary resuscitation practice among out of hospital cardiac arrest: Rajavithi hospital’s narenthorn emergency medical service center. Journal of public health 2018; 48(2): 269-727.

Google. Information Technology for Emergency Medical System [Internet].2020 [Cited 2020 Feb 19]. Avialable from: https://ws.niems.go.th/items_front/index.aspx

Rogers, B. (1997). Health hazards in nursing and health care: An overview. American Journal of Infection Control 1997; 25(3), 248-61.

Habib H, Khan E, Aziz A. Prevalence and factors associated with needle stick injuries among registered nurses in public sector tertiary care hospitals of Pakistan. International Journal of Collaborative Research on Internal Medicine & Public Health 2011; 3(2): 124-30.

Google. Accident prevention network [Internet]. 2018 [Cited 2018 Feb 19]. Avialable from: http://www.accident.or.th

Somboon P. Stress and associated factors among rumkatanyu rescue worker in Bangkok [Mental health thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2009. (in Thai)

Harris SA & Nicolai LA. Occupational exposures in emergency medical service providers and knowledge of and compliance with universal precautions. American Journal Infection Control 2010; 38: 94-86.

Luksamijarulkul P, Noppakunwong M, Auemaneekul N. Prevalance and factors associated with needle stick and/or sharp injury during working among medical first responders. The Public Health Journal of Burapha University 2016; 11(1): 14-21. (in Thai)

Sukheerut S. Relationship between health belief model and work related infection prevention behavior first responders Angthong province. [Public health nursing thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2011. (in Thai)

Department of Labour Protection and Welfare.Situation of Occupational Safety and Health in Thailand 2019. Bangkok: Ministry of Labour. (in Thai)

Boonbumroe S. Work safety of nurse in Maharat nakhonratchasima hospital Nakonrachasima. The journal of boromrajonani college of nursing. Nakhonratchasima 2014; 20(2): 82-92. (in Thai).

Green LW, Kreuter MW. Health program planning an educational and Ecological approach. New York: Quebecor world fairfield. 2005; 528-36.

Vanichbuncha K. Journal of Statistics. 2nd ed. Bangkok. Chulalongkorn University; 2006. (in Thai).

Chumnanborirak P, Srikaew S. Development of knowledge and skills of emergency medical services among volunteer rescuers at Wungsang subdistrict administration organization, Mahasarakham province. Nursing journal of the ministry of public health. 2015; 24(3): 132-142. (in Thai).

Jodsuntea J, Maharachpong N, Rodjapuy Y. Safety Behaviors of Emergency Medical Responder Working in Chonburi. Journal of the department of medical service 2020; 45(2): 120-126.

(in Thai).

Thummakul D, Siriphan S, Srisuwan P, Working well-being promotion of professional nurse: lessons learned from the inspiration project. Journal of Health and Nursing Research 2019; 35(1): 36-47. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01