ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ดูแล และอุบัติการณ์ การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา

ผู้แต่ง

  • นอวาตี มะยิ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • รัดใจ เวชประสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิภา แซ่เซี้ย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรม, แผลกดทับ, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา

บทคัดย่อ

บทนำ: แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิดแผลกดทับให้แก่ผู้ป่วย

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ดูแล และอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดซ้ำสองกลุ่ม เก็บข้อมูลในผู้ดูแลและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพาที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ โดยผู้ป่วยและผู้ดูแล 25 คู่แรก จัดเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลแบบปกติ และ 25 คู่หลัง จัดเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลเสริมด้วยโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล แบบสอบถามพฤติกรรมของผู้ดูแล และแบบประเมินสภาพผิวหนัง โดยโปรแกรมฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดรรชนีความตรงตามเนื้อหา .85 ถึง 1.0 ตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแบบสอบถามพฤติกรรมของผู้ดูแล กรณีผู้ป่วยได้รับอาหารทางปากและได้รับอาหารทางสายยาง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .76 ถึง .95 และตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินสภาพผิวหนัง โดยวัดความเท่าเทียมกันของการสังเกต มีค่า .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ สถิติทีอิสระ สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และสถิติความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ

ผลการวิจัย: ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับฯ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมครบ 3 วัน และหลังผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลวันที่ 7 สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1.23, 29.58=105.27, p<.001 และ F1.11,26.55=112.72, p<.001 ตามลำดับ) ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับฯ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมครบ 3 วัน (F1,48=24.56, p<.001) และหลังผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลวันที่ 7 (F1,48=14.54, p< .001) แตกต่างจากผู้ดูแลกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับทั้งวันที่ 3 และวันที่ 7 หลังผู้ป่วยจำหน่ายจากโรงพยาบาล น้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 20) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.05 และ p=.05 ตามลำดับ)

สรุปผล: โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสามารถส่งเสริมความมั่นใจและพฤติกรรมของผู้ดูแลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับให้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพาในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านได้

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีสมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับให้แก่ผู้ป่วย

References

Thaipradit S, Sae-Sia W, Traniwattananon P. Impact of a skin humidity control programme on skin integrity and pressure ulcers in elderly patients with pressure ulcer risks. Thai Journal of Nursing Council 2014;29(1):43-54. (in Thai).

Hajhosseini B, Longaker MT, Gurtner GC. Pressure injury. Annals of surgery. 2020;271(4):671-9.

Stone A. Preventing pressure injuries in nursing home residents using a low-profile alternating pressure overlay: a point-of-care trial. Advances in Skin & Wound Care. 2020;33(10).

Jirandorn S. Effectiveness of protocol for pressure sore prevention. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals 2015;30(1):57-69. (in Thai).

Suttupong C, Sindhu S. Predicting factors of depression in older people post-stroke in urban communities. Journal of Nursing Science 2012;30(1):28-39. (in Thai)

Repić G, Ivanović S. Pressure ulcers and their impact on quality of life. Acta Medica Medianae 2014;53(4):75-80.

Pitthayapong S. Situations, Problems, and barriers of post-stroke care in the transitional period from hospital to home. Thai Red Cross Nursing Journal 2018;11(2):26-39. (in Thai).

Usahapiriyakul S, Changmai S, Leehalakul V. The Effects of caring program on caregiver’s operational capabilities of pressure ulcer prevention in dependent older patients at risk group. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2019;27(4):21-31. (in Thai).

Pheetarakorn P. Nursing care of the patients with pressure injury: nurse’s role. Hua Hin Medical Journal 2021;6(1):1-18. (in Thai).

Trithavin U. The effects of caregivers empowerment program on performance of bedridden elderly care in Bangban District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2018;8(2):268-80. (in Thai).

Sakgiam C. The effect of empowerment program on caregiver’s pressure ulcer prevention behaviorsfor elderly patientwith hip fracture in an orthopedic ward. Region 11 Medical Journal 2017;31(1):171-8. (in Thai)

Piyahiran C, Kasipul T, Prasertsong C. Effects of a self-efficacy promotion program for stroke caregivers. HCU Journal of Health Science 2018;22(43-44):130-42. (in Thai).

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W H Freeman; 1997.

Haesler E, editor. Prevention and Treatment of Pressure Ulcers: Quick Reference Guide. Perth, Australia: Cambridge Media; 2014.

Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Generating and assessing evidence for nursing practice. Philadelphia: Wolters Kluwer Health; 2017.

Grada A, Phillips T. Pressure ulcers get new terminology and staging definitions. Nursing 2017;47(3):68-9.

Keppel G. Design and analysis: A researcher's handbook: Prentice-Hall, Inc; 1991.

Phimsri N, Chomnirat W. Effects of self- efficacy enhancement program on food consumption behaviors among patients with uncontrolled diabetes mellitus. Journal of Nursing and Health Care 2016;34(3):25-31. (in Thai).

Thavongul S, Somkid Prabpai PD. Effects of stress management program applied self-efficacy theory on stress from first nursing practical among student nurses, Faculty of Nursing, Srinakharinwirot University. Journal of Health and Nursing Research. 2021;37(1):193-205. (in Thai).

Yuwapornpanit R, Thiangtham W, Powwattana A. The effects of the skill development program for physical rehabilitation in health volunteer for stroke survivors in the urban community of Bangkok Metropolitan. Journal of Health and Nursing Research 2021;31(1):88-98. (in Thai).

Sandee T. The effects of self-efficacy enhancement program on health promotion behaviors, body weight, and fasting plasma glucose among pre-diabetes in the community [Master thesis]. Chonburi: Burapha University; 2016. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-28