โปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนในการส่งเสริมความตั้งใจ ในการละเว้นพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นหญิงตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี กุลสุวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพร เกิดมงคล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความตั้งใจต่อพฤติกรรม , พฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ , วัยรุ่นหญิงตอนต้น

บทคัดย่อ

บทนำ: สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษาทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความตั้งใจในการละเว้นพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นก่อนวัยอันควรก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม

ระเบียบวิธีวิจัย: งานวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลัง ศึกษาในกลุ่มนักเรียนหญิง อายุ 11-13 ปี กลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน ได้รับโปรแกรม ทั้งหมด 6 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยการให้ความรู้พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่น ความเสี่ยงทางเพศ พฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ ผลกระทบและวิธีป้องกัน อภิปรายกลุ่มหาปัญหาอุปสรรค ผลดี ผลเสีย การวางแผนและตั้งเป้าหมาย ฝึกทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา การเจรจาต่อรอง และการปฏิเสธ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และ t-test                                   

ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ทัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และพฤติกรรมการละเว้นเพศสัมพันธ์ มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความตั้งใจในการละเว้นพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ มากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)  

สรุปผล: สามารถช่วยส่งเสริมทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความตั้งใจในการละเว้นพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ให้กับนักเรียนได้

ข้อเสนอแนะ: ใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับแนวทางการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพทางเพศในวัยรุ่น ให้กับผู้ที่สนใจได้ ในการป้องกันพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ลดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรอย่างยั่งยืนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Reproductive Health Division, Department of Health, Ministry of Public Health. Reproductive health situation in adolescents and youth 2019 [Internet]. 2020 [Cited 2021 June 6]. Available from: https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1 (in Thai)

Powwattana A. Health building and disease prevention in adolescents, health promotion and prevention of disease in the community application of concepts and theories into practice. 3rd ed. Bangkok: Nana Publishing House, Klang Wittaya; 2009. p. 162-185. (in Thai)

Khumtorn L. “How to prevent unwanted teenage pregnany?”. Journal of Boromarajonani College of Nursing Bangkok. 2014. 30(3):97-105. (in Thai)

Kingmala C, Rawiworrakul T, Powwattana A. Effect of a pregnancy program for female adolescents. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2015;31(3):25-34. (in Thai)

Surasathienkul P, Banchonhatkit P. (2015). Strengthening life skills in conjunction with group processes. and reinforcement to prevent premature sex in grade 6 students, Research and Development Journal Health system. Kalasin Provincial Public Health Office.8(2):17-24 (in Thai)

Bunnag R, Termsirikulchai L, Watthanasomboon P and Phaowatana A. Effectiveness of life skills program for preventive sexual risk behaviors of secondary school students, Nakhon Pathom province. Journal of Public Health Vol. 2013;43(1):80-93. (in Thai)

Ajzen I. The theory of pland behavior organizational behavior and human descision processes [Internet]. 1991. [Cited 2018 June 2]. Available from: httpp://www.people.umass.edu/aizen/obhdp.html

Taikanong K. The factors influencing the intention of sexual risk behavior among high School Students. Christian university of Thailand journal 2011;17(1):168-77. (in Thai).

Reproductive Health Division, Department of Health, Ministry of Public Health. Reproductive health service, handbook for health workers. Bangkok: 2015 (in Thai)

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Handbook for promoting student mental health for teachers .8th ed. Bangkok: The Veterans Synthesis Organization Press; 2003. (in Thai)

Kaweewong N, Srisuriyawet R, Homsin P. Factors influencing youth’s intention to seek care for sexual and reproductive health in Rayong province. Faculty of Nursing Journal Burapha University 2012; 20(4):33-45. (in Thai)

Tisak K. The effect of a self-efficacy promoting program by peer leaders on sexual health promoting behaviors of early adolescents. Journal of Nursing Public Health 2005;19(2):48-63. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22