ผลของการใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การตรวจสุขภาพนักเรียน ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • ประไพ กิตติบุญถวัลย์ อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • ดวงดาว อุบลแย้ม อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนอีเลิร์นนิงแบปฏิสัมพันธ์, การตรวจสุขภาพนักเรียน, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การตรวจสุขภาพนักเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักศึกษาที่เรียนแบบปกติ และนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การตรวจสุขภาพนักเรียน ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  พระพุทธบาท กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี  จำนวน 109 คน กลุ่มควบคุมคือ นักศึกษาพยาบาลศาตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมสราชชนนี พระพุทธบาท จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่องการตรวจสุขภาพนักเรียน 2) แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และสถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนโดยใช้สถิติทดสอบที

     ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนมีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001

References

1. Piyapa J. The development of online learning model, The culture for life of bachelor degree students [Dissertation]. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2012. (in Thai)

2. Jaturong T. Development of the e-learning course on technology information subject on the topic of data and information for Matthayomsuksa 1 students in Phattharayan Wittaya school. Veridian E-Journal 2012;5:239-52. (in Thai)

3. Thanawit K. Apply of web-based interactive learning in mathematics [Dissertation]. Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce; 2008. (in Thai)

4. Wanicha P, Sirirat P. Developing of the learning and teaching with e-learning model for undergraduate nursing students in a gerontological nursing course. Nursing Journal 2014;41:11-25. (in Thai)

5. Cook D, Levinson A, Garside S. Instructional design variations in internet-based learning for health profession education: a systematic review and meta-analysis. Academic Medicine 2010;85:909–22.

6. McVeigh, H. Factors influencing the utilization of e-learning in post registration nursing Students. Nurse Education Today 2009;29:91-9.

7. Varin B, Pornpun S. A development of e-learning course media of BNS 406: mental health and psychiatric nursing on student’s readiness for nursing licensing examination. Nursing College of Rangsit University, Proceeding of National Conference of IPST in Nursing Science; Creative administration for Health Service: Nursing Educational Roles; 42-50. 15-16 January 2015, Siam University. (in Thai)

8. Feng JY, Chang YT, Chang HY, Erdley WS, Lin CH, Chang YJ. Systematic review of effectiveness of
situated e-learning on medical and nursing education. Worldviews Evidence Based Nursing
Journal 2013;10(3):174-83.

9. Saijai T. Study of development of e-lining in THA 106 Thai language for communication. Prathumthani: Learning Supporting and Development Center, Rangsit University; 2007. Rangsit University. (in Thai)

10. Atcharawadee S, Varunee K, Suwannee S, Virot C. The efficiency test of the computer lesson based on the Internet network, titled “Hydrogeology head (Hydrocephalus)” Nursing Student, Year 3. Princess of Naradhiwas University Journal 2011;3:91-103 (In Thai).

11. Lahti H, Hätönen H, Välimäki M. Impact of e-learning on nurses' and student nurses knowledge, skills, and satisfaction: a systematic review and meta-analysis. The International Journal of Nursing Studies 2014;51:136-49.

12. Barker K, Omoni G, Wakasiaka S, Watiti J, Mathai M, Lavender T. Moving with the times' taking a glocal approach: a qualitative study of African student nurse views of e-learning. Nurse Education Today 2013;33:407-12.

13. Ilkay AO, Zeynep CO. Impacts of e-learning in nursing education: in the light of recent studies. International Journal of Nursing and Health Sciences 2014;8:1285-87.

14. Thunyaluck W. The efficiency of web-based instruction focused on anatomy & physiology courses: skeletal system. Journal of Nursing and Education2010;3:15-28. (in Thai)

15. Boonchai S. The methodology in nursing research. Bangkok: You and Me Intermedia; 2009. (in Thai)

16. Moule P, Ward R, Lockyer L. Nursing and healthcare students' experiences and use of e-learning in higher education. Journal of Advance Nursing 2010;66:2785-95.

17. Nivet C. Best Practice in Teaching with e-Learning [Internet] [cited in Aug, 12 2017]. Available from:http://www.east.spu.ac.th/2012. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02