ประสบการณ์การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ของทีมสหสาขาวิชาชีพ
คำสำคัญ:
ประสบการณ์, ผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ระบบสุขภาพปฐมภูมิ, ทีมสหสาขาวิชาชีพบทคัดย่อ
ทีมสหสาขาวิชาชีพที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีม ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง และผู้อื่น ที่จะช่วยในการจัดบริการสาธารณสุขให้เหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับบริบทของชุมชน การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของทีมสหสาขาวิชาชีพภายหลังการอบรมหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิ หลักสูตรนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การอบรม ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 3 รุ่น ๆ รุ่นละ 4 วัน อบรมรุ่นละ 20 ทีม รวมทั้งหมดจำนวน 60 ทีม ระยะที่ 2 การนำเสนอรูปแบบการบริการที่พัฒนาขึ้นหลังจากการอบรม จำนวน 24 ทีม ๆ ละ 3 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสมัครใจของทีมที่มานำเสนอผลงานในระยะที่ 2 จำนวน 17 ทีม ๆ ละ 3 คน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุข รวมทั้งสิ้นจำนวน 51 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group discussion) กับแต่ละทีม ๆ ละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 60 - 90 นาที ณ หน่วยบริการของแต่ละทีม ใช้แนวทางการสนทนาเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลแบบสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพที่ผ่านการอบรมเกิดประสบการณ์การเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงใน “ตัวบุคคล” ทั้งของตนเอง ทีมงาน และเครือข่าย 2) ประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงาน และ 3) ประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบริการในระบบสุขภาพปฐมภูมิ จากผลการวิจัย ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อส่งเสริมทีมสหสาขาวิชาชีพให้สามารถเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาตน คน และงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
Downloads
References
2. Mekthon S, Mungchit P, Wetchapanbhesat S, Larbbenjakul S, Sriyakul D, Tassanee S, et al. Guideline of primary care cluster services. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited. 2015. (in Thai).
3. Burns JM. Transforming leadership: a new pursuit of happiness. New York: Atlantic Monthly Press. Burnstein, Samual J. and O'Hara, Patrick; 2003.
4. Bureau of Primary Health Care System Support. Transformation Leadership Development Program in Primary Health System. Nonthaburi: Bureau of Primary Health Care Support, Office of the Permanent Secretary. 2019. (in Thai).
5. Charoenchai S, Ritruechai S, Chanphet J. Tewtong K, Sukolpuk M. The study of the implementation of the transformational leadership development project in the primary health care system. Journal of Health Science Research 2019;13(2):93-102. (in Thai).6. Van Manen M. Researching lived experience: human science for an action sensitive pedagogy. London: Althouse; 1990.
7. Creswell JW. Qualitative inquiry and research design: qualitative, quantitative, and mixed methods approach. California: Thousand Oaks: Sage; 2009.
8. Sanrattana W. Leadership: theory and contemporary perspectives of leadership. (1st edition). Bangkok: Tippayawisut; 2014. (in Thai).
9. Rogers EM. Modernization among peasant: the impact of communication. New York: Holt, Rinchart and Winston; 1976.
10. Schwartz ZD. Introduction to management: principle, practice and process. New York: Harcourt Brace Jovanovich; 1980.
11. Krairiksh M. Nursing leadership for the service plan. Thai Journal of Nursing 2015;64(2):55-61. (in Thai).
12. Ainto W, Hingkanont P, Santayakon C. The relationship between transformational leadership of director of sub-district health promotion hospitals and level of primary health care unit quality development in sub-district health promotion hospitals Chainat province. Journal of Nursing and Health Sciences 2015;9(3):57-67. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น