การพัฒนาแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงเชื้อชาติมอญ ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐธยาน์ ปิ่นเมือง นักศึกษาหลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุทธีพร มูลศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นพวรรณ เปียซื่อ รองศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แบบแผน, การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง, กลุ่มเสี่ยง, เชื้อชาติมอญ

บทคัดย่อ

         การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงเชื้อชาติมอญ 2) พัฒนาแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงเชื้อชาติมอญ 3) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มเสี่ยงเชื้อชาติมอญในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี     

            กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามระยะการพัฒนาแบบแผน ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเชื้อชาติมอญ จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงเชื้อชาติมอญ กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมพัฒนาแบบแผน จำนวน 15 คน ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มเสี่ยงเชื้อชาติมอญ จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 2) แนวทางการระดมสมองเพื่อพัฒนาแบบแผน 3) แบบสอบถามความตระหนักรู้ในตนเองและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .80-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟาเท่ากับ .887 และ .864 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนาและสถิติการทดสอบวิลคอกซัน ไซน์ แมทแพร์แรงค์ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเชื้อชาติมอญ มีแบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การรับประทานขนมจีนและข้าว แกงกระเจี๊ยบ แกงฮังเล และน้ำพริกกะปิ เป็นอาหารหลักโดยไม่จำกัดปริมาณ ใช้เครื่องปรุงรส ไม่มีการออกกำลังกายในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ความเครียดส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว และส่วนมากสิทธิ์การใช้บริการสุขภาพเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางสถานะและสิทธิ์ (ท.99) และชำระเงินเอง ปัจจัยด้านระบบเครือญาติและสังคมมีความสัมพันธ์กับแบบแผนการรับประทานอาหาร และการเข้าวัดถือศีลทุกวันพระช่วยในการจัดการความเครียด 2) แบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงเชื้อชาติมอญ ประกอบด้วย (1) การอนุรักษ์แบบแผนการจัดการความเครียดโดยการส่งเสริมศรัทธาทางศาสนา (2) การต่อรองปรับแบบแผนการรับประทานอาหารโดยการให้ข้อมูลและอบรมให้ความรู้เป็นภาษามอญ และ (3) การจัดแบบแผนใหม่ในด้านการออกกำลังกายโดยการอบรมให้ความรู้ การฝึกทักษะ และติดตามกำกับ และ 3) หลังการใช้แบบแผนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้น พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเชื้อชาติมอญมีความตระหนักรู้ในตนเองและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงดีกว่าก่อนใช้แบบแผน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

Report Division of Non-communicable Disease Department of Disease Control. [Internet]. 2019 [cited 2019 May 7]. Available from http://www.thaincd.com/2016/mission3. (in Thai).

Health Data Center Ministry of Public Health. [Internet]. 2019 [cited 2019 May 7]. Available from https://hdc.moph.go.th (in Thai).

Report non-communicable diseases. SangKhlaburi Hospital, Kanchanaburi Province. Summary of chronic non-communicable diseases report, 2019. (in Thai).

Monthly Report by Health Insurance Department in Sangkhlaburi Hospital, 2018. (in Thai).

Tuntates U, Jamnongchob A. Traditional tourism to inherit culture and local wisdom of food of marginal culture group in Kanchanaburi Province. Journal of Culture. 2017;17-26. (in Thai).

Nakagasien P, Pungbankadee R. The study of the way of life, health problems and needs of Mon migrant workers under Mon’s socio-cultural context of Samutsakorn Province, Thailand. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2013;14(3):105-15. (in Thai).

Chimmode S. The beliefs of ghosts and spirits of Mon minority group in Wang Ka Village, Nongloo, Sangklaburi Kanchanaburi. Journal of Human Society Review Faculty of Humanities and Social Sciences 2017;19(1):73-83. (in Thai).

Tuntates U, Kwaipan W. The study of Mon culture and natural resource conservation of Mon village for sustainable community-based tourism in Sangkhlaburi, Kanjanaburi Province. Journal of Culture 2016;34(18):40-51. (in Thai).

Kongchantuek S. Rights to receive public health services for non-Thai nations. In a seminar on life, health, labor their own land; policy gap and conduct at The Art and Culture Hall Chiang Mai University; 2008. (in Thai).

Yuenyong N, Phromla W. The program health promotion of elderly's Mon people in Patumtani Province. Academic journal Suwanphum Institute of Technology 2018;391-401. (in Thai).

Moolsart S. Theoretical concepts in nursing care for clients with chronic diseases in community. In: Nuysri M, editor. Nursing care for clients with chronic disease in community. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Publisher; 2019, p.1-52. (in Thai).

Moolsart S, Potjanamart C, Thaworn N. Management of patient care for chronic non-communicable diseases in multicultural communities along the northern border of Thailand. Journal of Public Health Nursing 2017;31(3):145-62. (in Thai).

Kamwan A, Kessomboon P. Health service accessibility for migrant workers in Chiangkhan District, Loei Province. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University 2017; 4(3):359-74. (in Thai).

Junyasiri T, Aungwattana S. The review of migrant workers situation to develop research mapping. Journal of Public Health and Development 2008;6(2):119-27. (in Thai).

Kelch RH, Wehbe-Alamah H, McFarland M. Implementation of hypertension and diabetes chronic disease management in an adult group in Les Bours, Haiti. Online Journal of Cultural Competence in Nursing and Healthcare 2015;50-63.

Onsrinoi N, Leelukkanaveera Y, Toonsiri C. Predictive factors of hypertension preventive behaviors among people with pre-hypertension. Songklanagarind. Journal of Nursing 2017;31(1):63-74. (in Thai).

Krutsutthipipat C, Wivatvanit S. Transcultural nursing outcome indicators. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2017;29(3):19-29. (in Thai).

Bunmat K, Phatisena T. Effects of an exercise program with rubber chain by applying self efficacy theory for blood pressure control among hypertension risky group [Unpublished dissertation]. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University.2015;760-70. (in Thai).

Yotda P, Iemsawasdikul W, Nuysri M. Effects of a behavior developing program for prevention of stroke among patients with hypertension at Borabue District, Mahasarakham Province. Thai Journal of Nursing 2019;68(4):40-8. (in Thai).

Valaisathien J, Phatisena T. Effects of health behavioral modification program among personnel with hypertension risky group in the office of disease prevention and control region 5 Nakhon Ratchasima. In the academic report and presentation of the 34th national graduate research 2015;750-59. (in Thai).

Jangwang S, Pittayapinune T, Chutipattana N. Factors related to self-care behavior for prevention of diabetes mellitus and hypertension among population groups at risk. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2016;3(1):110-28. (in Thai).

Buasom P, Promsiripaiboon Y, Sonkasetrin A. Effects of self-efficacy program on health behavior modification elderly of high blood pressure risk group in Rommanee sub-District, Kapong District, Phangnga Province. Journal of Community Health Development 2017;5(4):549-67. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02