ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ ก้านศรี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ชุติมา มาลัย พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • นภัทร เตี๋ยอนุกูล พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ภัทรวดี ศรีนวล พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • นภัสสร ยอดทองดี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

ส่งเสริมสุขภาพจิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด การส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นแนวคิดที่สามารถลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 1) ช่วยเหลือตนเองได้ดี 2) ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือความพิการด้านการเคลื่อนไหว 3) ยินดีและเต็มใจให้ความร่วมมือในการวิจัย 4) สามารถติดต่อสื่อสาร อ่านและเขียนภาษาไทยได้ จำนวน 60 คน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตโดยประยุกต์แนวคิดของการสร้างสุขจากหลักธรรมะผสมผสานกับแนวคิดการสร้างสุขเชิงจิตวิทยาและแนวคิดในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ประกอบด้วย 8 กิจกรรม จำนวน 8 ครั้งละ 90 นาที ดำเนินกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 8 สัปดาห์และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

            1) ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตภายหลังการทดลอง (Mean=167.40, SD. =13.09) สูงกว่าก่อนทดลอง (Mean =154.40, SD=14.13) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

            2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตของกลุ่มทดลอง (=13.54, SD=13.80) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (=2.17, SD=1.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

            จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต สามารถส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้ แต่ควรมีการศึกษาติดตามระยะยาว เพื่อประเมินผลการคงอยู่ของภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Photisiri W, Mitranon P, Matthum J, Arunthippaitoon S, Asawanniranorn C. Annual report situation of the Thai elderly 2012. Nonthaburi: SS Plus Media; 2013. (in Thai).

2. Suphawat W, Siriwattanamethanon J, Hanbunhim P. Mental health of the elderly. J of Nurses Association of Thailand Northeastern Division 2009;27(1):27-35. (in Thai).

3. National Statistical Office. Summary of important findings, Thai mental health survey 2008-2010. [Internet]. 2011[Cited 2019 Mar 16]; Available from: http://www.service.nso.go.th/nso.nsopublish

4. Kamble SV, Ghodke YD, Dhumale GB, Goyal RC, Avchat SS. Mental health status of elderly persons in rural area of India. Indian J of Basic & Applied Medical Research 2012;1(4):309-12.

5. Nakwijit B. Psycho-social factors related to self-care behavior and happiness of the senior citizen club members in the hospitals under medical service department, Bangkok metropolis. [Master Thesis]. [Bangkok]: Srinakarinwirot University; 2008. (in Thai).

6. Choorat, W., Sawangdee, Y., & Arunraksombat, S. Factors influencing the risk of having mental health problems of Thai elderly. Thai Population J 2012;6(2):87-92. (in Thai)

7. Thammacharoen W. Influence of external factors and internal factors on the happiness of the elderly. [Master Thesis]. [Bangkok]: National Institute of Development Administration; 2012. (in Thai).

8. Somsri C, Mokmoon P. The effect of 5-dimensional happiness on the elderly in Nakhonphanom hospital. Nakhonphanom Hospital J 2017;3(2):3-14. (in Thai).9. Sutthilet P. A synthesis of research on mental health promotion in older adults [Master Thesis]. [Bangkok]: Mahidol University; 2008. (in Thai).

8. Khunaporn PP. (Por. Payutto). The current trend for life and society. Bangkok: Dharma Council; 2008. (in Thai).

9. Benjaphonpitak A, Wanitcharom K, Phanuwatsuk P. The 5-dimensional happiness guide In the elderly. 1st ed. Nonthaburi: Bureau of mental health development of mental health; 2012. (in Thai).

10. Petburi P, Somprasert C, Othaganont P. The effect of a social support program on the mental health of the elderly. J of Nursing and Health Care 2017;35(22):188-97.

11 Gray R.J, Grove KS., Burns N. The practice of nursing research: appraisal, synthesis, and generation of evidence. 7th Ed. st. Louis; Elswvier Saunders; 2013.

12 Mongkol A, Vongpiromsan Y, Tangseree T, Huttapanom W, Romsai P, Chutha W. The development and testing of Thai mental health Indicator version 2007. J Psychiatric Assoc Thailand. 2009;54(3): 299-316.

13 Thoits PA. Mechanisms linking social ties and support to physical and mental health. J of Health and Social Behavior 2011;52(1):145-61.

14 Hazer O, Boylu AA. The examination of the factors affecting the feeling of loneliness of the elderly. Procedia-Social and Behavioral Sciences 2010;9(0):2083-89.

15 Chonlakorn S, Thippawan S. Self-acceptance, family relationship, community participation and quality of life of the elderly at Dindaeng housing community in Bangkok metropolitan. J of Soc Sci & Hum 20131;39(2):80-94.

16 Sota J. Concepts theories and application for health behavioral development. Khonkean: Khonkean University Printing House; 2011. (in Thai).

17. Karnchanasubsin T. The 5 Dimensions of Happiness program of Department of Mental Health that affects elders' mental health At Phochai Sub District, Wapi Pathum District, Mahasarakham Province. Buriram Rajabhat University; 2019. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02