ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • กรกนก ลัธธนันท์
  • จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ และเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่1-4 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ที่ศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2561 และสมัครใจให้ข้อมูล จำนวน 419 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ที่พัฒนาโดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการ สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลแต่ละชั้นปี โดยใช้สถิติ ANOVA และ Scheffe

     ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปี 4 มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพมากที่สุดเท่ากับ 97.91 และระดับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวม (ด้านที่ 1-6) เท่ากับ 72.51 ระดับผลลัพธ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปี ที่ 4 เท่ากับ 25.67, 25.03, 23.72, 25.40 ตามลำดับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพื้นฐาน ระดับปฏิสัมพันธ์ ระดับวิจารณญาณ ของนักศึกษาทุกชั้นปีอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของนักศึกษาแต่ละชั้นปีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความรอบรู้ด้านสุ ขภาพรายด้านพบว่าด้านที่1 ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพที่ถูกต้อง ด้านที่ 2 การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านที่ 3 การสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ ด้านที่5 การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของนักศึกษาแต่ละชั้นปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ของความรอบรู้ด้านสุขภาพจำแนกรายชั้นพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงควรมีการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำแนวทางพัฒนาความรอบรู้ด้าน สุขภาพให้กับนักศึกษาพยาบาลแต่ละชั้นปีและมีการนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

References

1. World Health Organization. Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya;1998.

2. Osborn RH, Batterham RW, Elsworth GR, Hawkins M, Buchbinder R. The grounded psychometric development and initial validation of the health literacy questionnaire (HLQ). BMC Public Health 2013;13:1-17.

3. Tanasugran C. Health literacy. Bangkok: Department of Health Education & Behavior Sciences, Faculty of Public Health, Mahidol University;2017. (in Thai).

4. Irwin PM. National literacy act of 1991: Major provisions of P.L. 102-73. CRS report for Congress
[Internet]. 1991[cited 2018 Jan 28]; Available from: https://files.eric.ed.gov/ fulltext/ED341851.pdf.

5. National Revolution Committee for Health and Environment. (2016). Health Literacy Revolution and Health Communication. https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d111459-03. pdf

6. Health Education Division. ABCD-Health Literacy Scale of Thai adults] [Cited 2013 Jan 20] Available
from: https://www.hed.go.th/linkhed/file/597

7. Choeisuwan V, Tansantawee A. Selected factors related to health literacy of nursing students in
royal Thai Navy College of nursing. Royal Thai Navy Medical Journal 2018;45(2):250-66.

8. Turner K, Rakkwamsuk S, Duangchai O. Health literacy of nursing student at Boromarajonnani College
of Nursing, Bangkok. Journal of Health Science Research, 2018;12(1):1-10

9. Chobthamasakul.S. (2019) Relationship between health literacy and obesity prevention behavior of
undergraduate students in Bangkok Metropolitan Region. Journal of inter disciplinary research:
graduate study 2019;8(1):116-23.

10. Kickbush II. Health lieracy: addressing the health and education divide. New Haven: Yale University
School of Public Health; 2001.

11. Sharif I, & Blank, AE. Relationship between child health literacy and body mass index in overweight
children. Patient Education and Counseling 2010;79:43-8.

12. Uraiwan P. Thai’s education in 21th century. [cited 2018 Jan 28]; Available from https://www.gotoknow.
org/posts/557865.

13. Chantha W. Health literacy of self-care behavi.ors for blood glucose level control in patients with
type 2 diabetes, Chainat province.[dissertation] Bangkok. Thammasat University; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-01