การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การตรวจครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ปภาวดี ทวีสุข
  • เกษร สุวิทยะศิริ
  • เสาวลักษณ์ หวังชม

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, การตรวจครรภ์, นักศึกษาพยาบาล, เอ็ดดี โมเดล

บทคัดย่อ

      ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่องการตรวจครรภ์ สำหรับนักศึกษา พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2) เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การตรวจครรภ์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การตรวจครรภ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี ที่3 ห้องเอ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิ ชา การพยาบาล มารดา ทารกและผดุงครรภ์ 1 ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 86 คน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อวีดีทัศน์ เรื่อง การตรวจครรภ์ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การตรวจครรภ์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การตรวจครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การตรวจครรภ์ โดยหาค่าเฉลี่ยคะแนนที่ได้จากการทำแบบ ฝึกหัดระหว่างเรียน/แบบทดสอบหลังเรียน (E1/E2) เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการ เรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์ โดยใช้สถิติ Paired t-test ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ โดยหาค่าคะแนนเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพสื่อวีดิทัศน์มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ เท่ากับ 85.00/83.50 2) คะแนนความรู้หลัง เรียนมากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.66, S.D.=.57)สื่อวีดิทัศน์เรื่องการตรวจครรภ์ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นและมีความพึงพอใจ ดังนั้น จึงควรนำสื่อวีดิทัศน์เรื่องการตรวจครรภ์นี้ไปใช้ในการเรียนการสอนและขยายไปยังกลุ่มผู้เรียนแห่งอื่นเพื่อเป็นการเผยแพร่สื่อดังกล่าวให้กว้างขวางมาก ยิ่งขึ้น

References

1. Report of teaching and learning management. Department of maternal-infant nursing and
midwifery, Boromarajonani College of nursing, Bangkok .2017. (in Thai)
2. Chareonsanti J, Charuwatcharapaniskul U. Development of an Interactive web-based Learning on
abdominal assessment skills for nursing students. Nursing Journal 2015;42(special):141-50. (in Thai)
3. Edna B, Beatriz A, Pep S, Mihaela E, Vicenc F. Video as a new teaching tool to increase student
motivation. [internet]. 2014. [cited 2015 June 15] Available from https:// upcommons.upc.edu/
e-prints/bitstream/2117/12717/1/bravo-amante.pdf
4. William WL, Dianna LO. Multiple-Based Instruction Design. 2nd ed. San Francisco: John Wiley & Sons,
Inc; 2004.
5. Kent LG, Robert MB. Survey of instructional development models. 4thed. New York: ERIC
publication; 2002.
6. Brahmawong C. Developmental testing of media and instructional package. Journal of the
Faculty of Arts 2013;5(1):7-20. (in Thai)
7. Sri Sa-at B. Preliminary research. 8th edition. Bangkok: Suriwiyasat; 2010.
8. Chinglek M, Sriyasak A, Ket-in V, Sangartit S. The effectiveness of web-based instruction “Heart
Disease in Children” among Third Year Nursing Students. Journal of Health Science Research
2012;6(2):21-9. (in Thai)
9. Sriyasak A, Ketin V, Sangarthit S, Chinglek V. The efficiency test of the computer lesson based on
the Internet network, titled “Hydrogeology head (Hydrocephalus)”Nursing Student, Year 3. Princess
of Naradhiwas University Journal 2011;3(1):91-103. (in Thai)
10. Wajanawisit T. Development of e-Learning on information technology course, Kuakarun Faculty of
Nursing Kuakarun. Journal of Nursing 2014;21(1):100-13. (in Thai)
11. Meenasantirak A, Wangwun P, Siripitakchai C, Plodpluang U. Muenthaisong S. Development of wound
dressing e-learning lesson for Nursing Student in Srimahasarakham Nursing College. Nursing Journal
of the Ministry of Public Health 2018;145-55. (in Thai)
12. Rangdang N, Ubolyaem D. The development of Interactive e-learning of mentalstatus examination
for the third year nursing students of Boramarajonani College of Nursing, Saraburi Nursing Public
Health and Education Journal 2018;19(1):169-78. (in Thai)
13. Paowana W. Efficiency of video media on vaginal washing in nursing practice subjects for persons
with health problems. Journal of the Nursing Association Major Northeast 2013;31(3): 99-106.
(in Thai)
14. Bandura A. Social cognitive theory. In: Van Lange PAM. Kruglanski AW. Higgins ET, editors. Handbook
of social psychological theories. London: Sage; 2011. p. 349-73.
15. Cardoso AF, Moreli L, Braga FT, Vasques CI, Santos, CB, Carvalho EC. Effect of a video on developing
skill in undergrad nursing students for the management of totally implantable central venous access
ports. Nurse Education Today 2012;32:709-13
16. Pinar G, Akalin A, Abay H. The effect of video based simulation training on neonatal examination
competency among Turkish nursing students. European Scientific Journal 2016; 12(15):394-340.
17. Maneejiraprakarn P. The development of computer-assisted instruction via the internet on health
assessment for students in Bachelor of Nursing Science Program. Journal Nursing and Health
2011;5(1):91-100. (in Thai)
18. Sansee U. Creating an electronic lesson on a network of venous diseases in the legs for 4th year
medical student, [Dissertation]. [Chiang Mai]: Chiang Mai University; 2009. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-01