ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้และ ทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • มัตถก ศรีคล้อ
  • มาลินี อยู่ใจเย็น
  • ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานความรู้ด้านทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ฯ ในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน พ.ศ.2558 จำนวน 250 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการจับคู่ ระดับชั้นปี เพศ อายุ ประสบการณ์การฟื้นคืนชีพ เกรดเฉลี่ยสะสมเข้ากลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งประยุกต์แนวคิดด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง การใช้แรงเสริมและการสนับสนุนทางสังคมเข้าสู่โปรแกรม วัดความรู้ ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ความรู้ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยใช้แบบวัดความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน แบบวัดความรู้ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และแบบวัด ทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.74 ,0.81 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ความรู้ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานภายในกลุ่ม โดยใช้สถิติ Paired t- test เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ความรู้ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้น พื้นฐานระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent t- test

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หลังการทดลอง ( -10.43,SD=2.38) มากกว่า ก่อนการทดลอง (mean=7.53, SD=2.22) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 39.456, df=29, p-value = .000) มีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลอง (mean= 10.43, SD=2.38) มากกว่าก่อนการทดลอง ( mean= 7.47, SD=2.22) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 50.80 , df = 29, p-value =. 000) และมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานหลังการทดลอง (mean = 6.87, SD=1.43) มากกว่าก่อนการทดลอง (mean =0.53 SD = 0.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 29.29, df=29, p-value=. 000) 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลอง (mean = 10.43, SD = 2.38) มากกว่า กลุ่มควบคุม (mean = 7.57, SD=2.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.72, df = 58, p-value = . 000) มีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลอง ( -10.43, SD = 2.38) มากกว่ากลุ่มควบคุม (mean = 7.63, SD = 2.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.53, df = 58, p-value = . 000) และมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานหลังการทดลอง (mean = 6.87, SD = 1.43) มากกว่ากลุ่มควบคุม (mean =0.67, SD=1.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 18.85, df = 58, p-value = . 000) โปรแกรมการให้ความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ช่วยให้นักเรียนมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมนี้ ไปใช้อย่างต่อเนื่องทุกปี และขยายไปยังกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาอื่นๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และทักษะ ดังกล่าวให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. American Heart Association. American heart association guidelines for cardiopulmonary resuscitation
and emergency cardiovascular care. [internet]. 2010 [cited 2010 November 24]. from http://
circ.ahajournals.org/cgi/content/full/122/18.

2. Cooper S, Janghorbani M, Cooper G. A decade of in-hospital resuscitation: Outcomes and
prediction of survival? Resuscitation 2006;68(2):231-37.

3. National Institute of Emergency Medicine. Documentation of training for the emergency operations Course. Primary, 2010.

4. Lovell R. B. Adult learning. New York: Halsted; 1980.

5. Domjan M. The Principles of learning and behavior belmont. California: Thomson; 1996.

6. Bandura A. (2011). Social cognitive theory. London : Sage; 2011.

7. Cohen & Will. The relationship between social support and physiological process. A review
with emphasis on underlying mechanism and implication for health 1985;3(3):488-531.

8. Connolly M, Toner P, Connolly D, McCluskey DR. The ABC for life program-teaching basic life
support in school. Resuscitation 2007;7(2):270-79.

9. Sammawong K. Development of e-learning program for basic resuscitation. For high school
diploma students Master of degree [Thesis], Bangkok : Ramkhamhaeng University; 2011. (in Thai).

10. Tuntayana N, et al. Development of volunteer capacity public health students in the primary
school in Mahasarakham. Celebrate the decade Chiang Rai: School of Health Sciences. Mae Fah
Luang University; 2016. (in Thai).

11. Tupamongkul S, Ua-kit N. The effects of coaching program on basic cardiopulmonary life support
practice in mothers of congenital heart disease children. Journal of Nursing Science Chulalongkorn
University 2015;27(1):49-59. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-01