ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อลด ความรุนแรงอาการผลข้างเคียงจากการรับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร มั่งสุข
  • สมคิด ปราบภัย

คำสำคัญ:

ผลข้างเคียง, พฤติกรรม, การดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้ป่วยมะเร็ง, ยาเคมีบำบัด

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อลดความรุนแรง อาการผลข้างเคียงจากการรับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง ใช้ทฤษฎีแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ ทำการวิจัยแบบ กึ่งทดลอง แบบวัดก่อนหลังหนึ่งกลุ่มการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยมะเร็งรับยาเคมีบำบัด อายุ 18-70 ปี ที่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 40 คน จะได้รับการให้โปรแกรมฯ และทำการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมฯ ด้วยการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ

ผลการศึกษาพบว่า

1. คะแนนเฉลี่ยของคะแนนระดับความรุนแรงของอาการผลข้างเคียงจากการรับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งในระยะ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนระดับความรุนแรงอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารและอ่อนเพลียลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) อาการแผลในปาก ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05, t=0.22)

2. คะแนนเฉลี่ยของคะแนนระดับความรุนแรงของอาการผลข้างเคียงจากการรับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งในระยะ หลังการทดลอง 2 สัปดาห์และหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนระดับความรุนแรงอาการ เบื่ออาหารและอ่อนเพลียลดลงกว่าหลังการทดลอง 2 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) อาการคลื่นไส้อาเจียน และแผลในปากลดลงกว่าหลังการทดลอง 2 สัปดาห์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05)

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯ มีประสิทธิผลในการลดความรุนแรงของอาการข้างเคียงจากการรับยาเคมี บำบัดได้

References

1. National Cancer Institute. National Cancer Control Programmes (2013-2017). Bangkok: Cancer Instiste; 2013. (in Thai)

2. Honestdoce.[Internet].2018 [cited 2018 Nov 19]. Available from:http:// honestdocs.co/cancertreatment

3. Siriloettrakun S, Wongchanlongsin S, Ariyaprayun P, Chiracharat M. Nursing care for cancer patients.
1sted. Samut Prakan: Sin Thareekij Printing Company; 2012. (in Thai)

4. Malangpoothong R, Pongthavornkamol K, Sriyuktasuth A, Soparattanapaisarn N. Symptom
experiences, management strategies and functional status in advanced lung cancer patients
receiving chemotherapy. Journal of Nursing Science 2011;27(2):67-78. (in Thai)

5. Roopashri G, Jayanthi K. Radiotherapy and chemotherapy in duced oral mucositis prevention and
current therapeutic modalities. Indian Journal of Dental Advancements 2010;2:174-79.

6. Roa M, Raghuram N, Nagendra HR, Gopinath KS, Srinath BS, Diwakar RB,et al. Anxiolytic effects of
a yoga program in early breast cancer patients undergoing conventional treatment A randomized
controlled trail. Complementary Thrapies in Medicine 2009;17:1-8.

7. Sirin A, Taspinar A. Effect of acupressure on chemotherapy-induced nausea and vomiting in
gynecologic cancer patient in Turkey. European Journal of Oncology Nursing 2010; 14:49-54.

8. Suwanpiwat, A. The Effect of the oral self-care program combining coconut oil pulling on oral
mucositis in cancer patients receiving chemotherapy. [Master of Nursing Science]: [Songkla]: Prince
of Songkla University; 2013. (in Thai)

9. Berger A. and Wiser W. Practical management of chemotherapy-Induced nausea and vomiting. Oncology 2005;19(5):1-6.

10. Prison P. Effects of acupressure on alleviation of nausea, retching, and vomiting in breast cancer patients receiving chemotherapy. [Master of Nursing Science]. [Chiang Mai]: Chiang Mai University; 2008. (in Thai)

11. Pakpoe R. Effects of music therapy on stress, nausea, retching and vomiting among women with gynecologic cancer receiving chemotherapy. [Master of Nursing Science]: [Chiang Mai]: Chiang Mai University; 2007. (in Thai)

12. Keawmanee P. The effectiveness of nausea/vomiting management program for colorectal cancer
receiving chemotherapy. [Master of Nursing Science]. [Nakhon Pathom]: Mahidol University; 2011. (in Thai)

13. Nantakaew K. Effects of an educative-supportive program on self-care and quality of life among
lung cancer patients receiving chemotherapy. [Master of Nursing Science]. [Chiang Mai]: Chiang Mai
University; 2010. (in Thai)

14. Green LW, Kreute MW. Health promotion planning: An education and environmental approach.
3rd ed. Toronto: Mayfield Publishing; 1999

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01