ภาวะสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของชุมชนริมคลองสามเสน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศศิวิมล บูรณะเรข
  • พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา
  • ไขนภา แก้วจันทรา
  • มญช์พาณี ขำวงษ์

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ; การเข้าถึงบริการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของชุมชนริมคลองสามเสน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย หลังคาเรือนที่พักอาศัยอย่างถาวรในชุมชนริมคลองสามเสนตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และสมาชิกทุกคนในครอบครัว เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรสโสด (ร้อยละ 62.99) มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001 – 10,000 บาท ส่วนใหญ่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 76.87) ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นเจ้าของบ้าน มีระยะเวลาพักอาศัยในชุมชนอยู่ในช่วง 21 – 30 ปี 1 ใน 3 ของจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมดที่มีนํ้าท่วมขังในบริเวณบ้าน ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พบว่าวัยก่อนเรียนและวัยเรียน ส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมติดเกม (ร้อยละ 51.72) มีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 65.52) วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติด ประเภทบุหรี่และสุรา (ร้อยละ 14.74, 30.56) และไม่มีการออกกำลังกาย (ร้อยละ 63.19) วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย (35 - 60 ปี) ไม่ตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ 71.43 มีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 52.51 และ 61.00 ตามลำดับ) ในเพศหญิง พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และไม่ตรวจมะเร็งปากมดลูก (ร้อยละ 85.37 และ 87.80 ตามลำดับ) วัยผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 3.57, โรคประจำตัวที่พบในชุมชน คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานการเข้าถึงบริการสุขภาพ ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงสิทธิการรักษาได้ง่ายและสะดวก (ร้อยละ 91.19) แต่มองว่าการเข้ารับบริการสุขภาพเป็นภาระ (ร้อยละ 45.67) โดยภาระที่พบมากที่สุด คือ ลางาน ขาดรายได้ (ร้อยละ 64.38) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ศึกษารูปแบบการจัดบริการสุขภาพต่างๆ ที่สามารถตอบสนองการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในชุมชนได้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-05