เปรียบเทียบวิธี Simple Smear กับวิธี Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique และวิธี Agar Plate Culture สำหรับวินิจฉัยโรค Strongyloidiasis ในอุจจาระผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

Main Article Content

ภาวิตา บุพพิ
ชาติญา อธิชาธนบดี
อัญชนา ถาวรวัน
ปวีณา ก้องสนั่น
กรศิริ บุญประเทือง
นพนัฐ จำปาเทศ
บุญช่วย เอี่ยมโภคลาภ

บทคัดย่อ

          Strongyloidiasis เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลมขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Strongyloides stercoralis โรคนี้พบได้ทั่วโลกส่วนมากพบร่วมกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในเด็กที่ขาดสารอาหาร ผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรค Leukemia โรค Lymphoma โรค Systemic Lupus Erythematosus (SLE) เป็นต้น1,2 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตรวจหาพยาธิ S. stercoralis คือเปรียบเทียบวิธี Simple smear กับวิธี Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique และเปรียบเทียบวิธี Agar Plate Culture กับวิธี Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique จากอุจจาระผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 369 ราย เพื่อหาค่าความไว (sensitivity) ความจำเพาะ (specificity) และความถูกต้อง (accuracy) ผลการศึกษาพบว่า วิธี Simple smear เปรียบเทียบกับ วิธี Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique ได้ค่า ความไว ความจำเพาะ และความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 43.3, 100.0 และ 95.4 ตามลำดับค่าความเชื่อมั่นของแคปปา (kappa coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.58 (p < 0.000) ซึ่งแสดงว่าทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และวิธี Simple smear มีความไวในการตรวจพบพยาธิ S. stercoralis น้อยกว่าวิธี Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique และวิธี Agar Plate Culture วิธี Agar Plate Culture เปรียบเทียบกับวิธี Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique จากตัวอย่างอุจจาระเดียวกันของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี 369 ราย ในการตรวจหาพยาธิ S. stercoralis มีค่าความไว ความจำเพาะ และความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 100.0, 93.5 และ 94.0 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแคปปา (kappa coefficient ) มีค่าเท่ากับ 0.70 (p < 0.000) ซึ่งแสดงว่าทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบพยาธิ S. stercoralis พบว่า วิธี Simple smear วิธี Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique และวิธี Agar Plate Culture ได้ค่าร้อยละเท่ากับ 3.5, 8.1 และ 14.1 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธี Agar Plate Culture มีโอกาสในการตรวจพบพยาธิ S. stercoralis ได้มากกว่าวิธีอื่น และสามารถนำมาใช้เป็นวิธีตรวจหาพยาธิ S. stercoralis ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Jucelene Marchi Blatt, Geny Aparecida Cantos. Evaluation of techniques for diagnosis of Strongyloides stercoralis in human immunodeficiency virus (HIV) positive and HIV negative individuals in the city of Itajai, Brazil. Braz J Infect Dis 2003; 7(6).

2. Arenas-Pinto A, Certad G, Ferrara G, Castro J, Bello MA. Association between parasitic intestinal infections and acute or chronic diarrhea in HIV-infected patients in Caracas. Venezuela. Int J STD AIDS 2003; 14(6): 487-92.

3. Jongwutiwes S, Putaporntip C, Pancome T. Indirect immunofluorescent antibody test in strongyloidiasis and its potential diagnostic implication. Chulalongkorn Med J 1995;39(11):813-22.

4. เกศิน (ณัฐรส) จันทชุม, นิภา รุจิธรรมกุล. การศึกษาเปรียบเทียบผลการตรวจอุจจาระ ด้วยวิธี simple sedimentation และ formalin - ether concentration. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2529; 30(2): 133-43.

5. ณัฐรส จันทชุม, เสาวนีย์ ขวัญเลิศจิตต์. การใช้ Ethyl acetate แทน direct ether ในการตรวจอุจจาระด้วบวิธี formalin ether แบบเข้มข้น. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2535; 36(10): 765-70.

6. PM Intapan W, Maleewong T, Wongsaroj S, Singthong N. Morakote-Comparison of the Quantitative Formalin Ethyl Acetate Concentration Technique and Agar Plate Culture for Diagnosis of Human Strongyloidiasis; 2004.

7. Jongwutiwes S, M Charoenkorn, P Sitthicharoenchai, P Akarabovorn, C Putaporntip. Increased sensitivity of routine laboratory detection of Strongyloides stercoralis and hookworm by agar-plate culture. Trans R Soc Trop Med Hyg 1999; 84: 715-9.

8. Arakaki T, M Iwanaga, F Kinjo, A Saito, R Asato, T Ikeshiro. Efficacy of agar plate culture in detection of Strongyloides stercoralis infection. J Parasitol 1990; 76: 425-28.

9. Danial WW. Biostatistics-a foundation for analysis in the health sciences. 5 th edition. John Wiley and Sons, 1991: 155-57.

10. Galen RS. The predictive values and efficiency of laboratory testing. Pediat Clin N Am 1980; 27: 861-69.

11. Cohen J, A coefficient of agreement for nominal scale. Educ Phychol Meas 1960; 20: 37-46.

12. Landish JR, Koch GG. The Measurement of observer agreement for categorical data. Biometrics 1997: 159-74.