ความรู้และทัศนคติต่อเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ของบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: กระทรวงสาธารณสุขได้นำเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award, PCA) มาใช้ประเมินหน่วยบริการในจังหวัดลำปางในปีงบประมาณ 2555 - 2556 พบว่าส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์แต่ยังพบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้และทัศนคติต่อการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพ PCA ของบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดลำปาง
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง 145 แห่งๆ ละ 2 คน ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม - 15 กันยายน 2556 โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติต่อการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพ PCA วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบไคแสควร์
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามกลับมา 252 คน (ร้อยละ 86.9) เป็นเพศหญิง 2 ใน 3 อายุเฉลี่ย 39.9 ± 9.5 ปี (พิสัย 20-60 ปี) เป็นผู้อำนวยการ รพ.สต. ร้อยละ 43.6 รองลงมาคือ พยาบาล ร้อยละ 26.8 และนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 14.8 ประมาณ 2 ใน 3 มีความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพ PCA ในระดับปานกลางและร้อยละ 58 มีทัศนคติที่ดี กลุ่มที่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพ PCA มีร้อยละของประชากรที่มีระดับความรู้มากและปานกลาง สูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยได้รับการอบรมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.243) ตำแหน่งหน้าที่ อายุราชการและระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
ปัจจุบันไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการพัฒนา (p=0.915, 0.093 และ 0.066 ตามลำดับ) การมีความรู้ความเข้าใจที่ดีต่อกระบวนการพัฒนามีความสัมพันธ์กับการมีทัศนคติที่ดีต่อเกณฑ์คุณภาพ PCA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002)
สรุป: บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดลำปาง ประมาณ 2 ใน 3 มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพ PCA ในระดับปานกลางและร้อยละ 58 มีทัศนคติที่ดี บุคลากรที่มีความรู้ที่ดีต่อกระบวนการพัฒนาจะมีทัศนคติที่ดีต่อเกณฑ์คุณภาพ PCA ด้วยอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาลงพิมพ์ต้องไม่เคยพิมพ์หรือกำลังได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น เนื้อหาในบทความต้องเป็นผลงานของผู้นิพนธ์เอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนจากบทความอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้อ้างอิงอย่างเหมาะสม การแก้ไขหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่กองบรรณาธิการ จะต้องเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยก่อนจะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ และบทความที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติ ของลำปางเวชสาร
References
ศุภกิจ ศิริลักษณ์. นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. 2556 [cited 2013 Sep 30].
Available from: http://phmahidol-husita.blogspot.com/2010/02/blog-post.html
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, กฤษณา คำมูล, วราภรณ์ จิระพงษา, ผการัตน์ ฤทธิ์ศรีบุญ, บรรณาธิการ. จิ๊กซอว์การก้าวย่างสู่แก่นแท้คุณภาพในระบบ PCA. ปทุมธานี: นโม พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่ง; 2555.
กันยา บุญธรรม, สุนทรี อภิญญานนท์, ศรีสมร นุ้ยปรี, เกวลิน ชื่นเจริญสุข, สมสินี เกษมศิลป์, บรรณาธิการ. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2552.
สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555. 2556 [cited 2013 Sep 30]. Available from:
http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat.55html
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ผการัตน์ ฤทธิ์ศรีบุญ, กฤษณา คำมูล, วราภรณ์ จิระพงษา, บรรณาธิการ. การพัฒนาและให้รางวัลคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ. ปทุมธานี: นโม พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่ง; 2555.
บวร จอมพรรษา, บัววรุณ ศรีชัยกุล, วงศาเลาหศิริวงศ์. การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2555; 5:70-82.
วรวุฒิ โฆวัชรกุล. แนวคิด PCA. ใน: การพัฒนาระบบคุณภาพปฐมภูมิ. สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) 2555 [Cited 2013 Sep 30]. Available from: http://www.aihd.mahidol.ac.th/sites/default/files/images/new/chn/Primary_Care_Expo_2nd/006/006-13.pdf