การวินิจฉัยความผิดปกติของอัณฑะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (US) มีความสำคัญในการวินิจฉัยความผิดปกติของอัณฑะ โดยให้ข้อมูลทั้งด้านกายวิภาคและการไหลเวียนโลหิต เป็นการตรวจที่รวดเร็ว ราคาถูกและปลอดภัย
วัตถุประสงค์ : ประเมินความถูกต้องของการวินิจฉัยความผิดปกติของอัณฑะด้วยการตรวจ US ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ในผู้ป่วยชายอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ที่มารักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2554 ด้วยความผิดปกติของอัณฑะและได้รับการตรวจ US แบบ gray scale และ color Doppler เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกข้อมูลทางคลินิก ผลการตรวจ US และผลพยาธิวิทยา วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คำนวณค่าความไว ความจำเพาะ ค่าพยากรณ์บวก ค่าพยากรณ์ลบและความแม่นยำ
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยมีจำนวน 97 ราย อายุเฉลี่ย 47.0 ± 22.8 ปี (พิสัย 17-84 ปี) มีอาการปวดอัณฑะ 78 ราย (ร้อยละ 80.4) และอาการบวมโตหรือคลำได้ก้อนโดยไม่ปวด 19 ราย (ร้อยละ19.6) ได้รับการวินิจฉัยสุดท้ายว่าเป็นการติดเชื้อของอัณฑะ 52 ราย ถุงน้ำในอัณฑะ17 ราย อุบัติเหตุต่ออัณฑะ 12 ราย
เนื้องอกของลูกอัณฑะ 6 ราย ถุงน้ำของหลอดเก็บตัวอสุจิ 4 ราย หลอดเลือดอัณฑะขอด 3 รายและอัณฑะบิดตัว 3 ราย การตรวจ US มีความไวร้อยละ 91.7-100 ความจำเพาะร้อยละ 97.8-100 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 75-100 ค่าพยากรณ์ลบร้อยละ 96.7-100 และความแม่นยำร้อยละ 97.9-100
สรุป : การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงมีความแม่นยำสูงมากในการวินิจฉัยความผิดปกติของอัณฑะ ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและทันเวลา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาลงพิมพ์ต้องไม่เคยพิมพ์หรือกำลังได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น เนื้อหาในบทความต้องเป็นผลงานของผู้นิพนธ์เอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนจากบทความอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้อ้างอิงอย่างเหมาะสม การแก้ไขหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่กองบรรณาธิการ จะต้องเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยก่อนจะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ และบทความที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติ ของลำปางเวชสาร
References
Dogra VS, Gottlieb RH, Oka M, Rubens DJ. Sonography of the scrotum. Radiology 2003;227(1):18-36.
Muttarak M. Anatomy and disease of the scrotum. In: Peh WCG, Hiramatsu Y, eds. The asianoceanian textbook of radiology. Singapore: TTG Asia Media, 2003.p.809-21.
Muttarak M, Lojanapiwat B. The painful scrotum: an ultrasonographical approach to diagnosis. Singapore Med J 2005;46(7):352-7.
Rizvi SA, Ahmad I, Siddiqui MA, Zaheer S, Ahmad K. Role of color Doppler ultrasonography in evaluation of scrotal swellings: pattern of disease in 120 patients with review of literature. Urology J 2011;8(1):60-5.
Thinyu S, Muttarak M. Role of ultrasounography in diagnosis of scrotal disorder: a review of 110 cases. Biomed Imaging Interv J 009;5(1):e2.
Dogra V, Bhatt S. Acute painful scrotum. Radiol Clin North Am 2004;42(2):349-63.
Middleton WD, Siegel BA, Melson GL, Yates CK, Andriole GL. Acute scrotal disorders: prospective comparison of color Doppler US and testicular scintigraphy. Radiology 1990;177:177-81.
Burks DD, Markey BJ, Burkhard TK, Balsara ZN, Haluszka MM, Canning DA. Suspected testicular torsion and ischemia: evaluation with color Doppler sonography. Radiology 1990;175:815–21.
Opio J, Byanyima RK, Kiguli-Malwadde E, Kaggwa S, Kawooya M. The sonographic pattern of diseases presenting with scrotal pain at Mulago Hospital, Kampala, Uganda. East and Central African Journal of Surgery 2008;13(2):68-74.
Horstman WG, Middleton WD, Melson GL, Siegel BA. Color Doppler US of the scrotum. Radiographics 1991;11(6):941-57.
Muttarak M, Chaiwun B. Painless scrotal swelling: ultrasonographical features with pathological correlation. Singapore Med J 2005;46(4):196-201.
Muttarak M, Peh WC, Lojanapiwat B, Chaiwun B. Tuberculous epididymitis and epididymo-orchitis: sonographic appearances. Am J Roentgenol 2001;176(6):1459-66.
Woodward PJ, Sohaey R, O’Donoghue MJ, Green DE. From the archives of the AFIP: tumors and tumorlike lesions of the testis: radiologic- pathologic correlation. Radiographics 2002;22(1):189-216.
Deurdulian C, Mittelstaedt CA, Chong WK, Fielding JR. US of acute scrotal trauma: optimal technique, imaging findings and management. Radiographics 2007;27(2):357-69.