ประสิทธิภาพ ความทนต่อยาและผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดสูตรแรกในผู้สูงอายุโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: มะเร็งปอดที่พบบ่อยที่สุดคือ ชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (non-small cell lung cancer, NSCLC) และเกินกึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป เคมีบำบัดเป็นการรักษาหลักในระยะที่แพร่กระจายแล้ว (advanced stage) แต่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เลือกการดูแลแบบประคับประคองทำให้ระยะเวลารอดชีวิตสั้นลง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพความทนต่อยาและผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดสูตรแรกในการรักษา ผู้สูงอายุที่เป็น advanced NSCLC และเปรียบเทียบการรอดชีวิตระหว่างเคมีบำบัดกับการดูแลแบบประคับประคอง
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษา retrospective cohort study ในผู้ป่วย advanced NSCLC อายุ 60 ปีขึ้นไปใน รพ.ลำปาง ตั้งแต่ 1 ม.ค.2560 ถึง 30 เม.ย.2563 กลุ่มเคมีบำบัดได้รับยาสูตรแรก คือ carboplatin-paclitaxel ประเมินสภาวะร่างกาย (Eastern Cooperative Oncology Group performance status, ECOG PS) การตอบสนองของเคมีบำบัด จำนวน รอบที่ได้ยาและค่ามัธยฐานระยะเวลาการรอดชีวิต (median overall survival) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มและหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตด้วย Cox regression analysis
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 90 ราย ได้รับเคมีบำบัด 55 ราย (ร้อยละ 61.1) และดูแลประคับประคอง 35 ราย (ร้อยละ 38.9) ร้อยละ 76 ของกลุ่มเคมีบำบัดมี ECOG PS 1 และกลุ่มประคับประคองมี ECOG PS 3–4 ร้อยละ 31.4 (p<0.001) ผู้ป่วยได้รับยาสูตรแรกเฉลี่ย 4 รอบ (พิสัย 1–6) โดย 28 ราย ได้ยาครบ 6 รอบ มี overall response rate ร้อยละ 21.8 และ clinical benefit rate ร้อยละ 58.2 ผู้ป่วย 21 รายได้รับยาสูตรที่ 2 และ 9 ราย ได้รับยาสูตรที่ 3 เพิ่มเติม ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ โลหิตจางและอ่อนเพลีย (ร้อยละ 40 และ 33 ตามลำดับ) ค่ามัธยฐานระยะเวลาการรอดชีวิตโดยโรคสงบของยาสูตรแรก 140 วัน, ค่า median overall survival ของกลุ่มเคมีบำบัด 256 วันและกลุ่มประคับประคอง 49 วัน เคมีบำบัดลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตร้อยละ 63 (HR 0.37, 95%CI 0.23–0.57, p<0.001) ปัจจัยที่ลดอัตราตายคือ ระดับแอลบูมินในเลือด >3.5 ก./ดล. (HR 0.45, 95%CI 0.22–0.92, p=0.030) ปัจจัยที่เพิ่มอัตราตายคือ เพศชาย (HR 2.43, 95%CI 1.10–5.35, p=0.028)
สรุป: การรักษา advanced NSCLC ในผู้สูงอายุด้วยเคมีบำบัดมีระยะเวลาการรอดชีวิตยาวนานกว่าการดูแลแบบประคับประคอง โดยยาสูตรแรกมีอัตราการตอบสนองที่ดีและมีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้
Article Details
บทความที่ส่งมาลงพิมพ์ต้องไม่เคยพิมพ์หรือกำลังได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น เนื้อหาในบทความต้องเป็นผลงานของผู้นิพนธ์เอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนจากบทความอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้อ้างอิงอย่างเหมาะสม การแก้ไขหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่กองบรรณาธิการ จะต้องเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยก่อนจะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ และบทความที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติ ของลำปางเวชสาร
References
กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ.
แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Control Programme พ.ศ.2561– 2565. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Santos FN, Cruz MR, Riera R. Chemotherapy for advanced non-small-cell lung cancer in elderly
patients. JAMA Oncol. 2016;2(12):1645–6.
Gridelli C. The ELVIS Trial: a phase III study of single-agent vinorelbine as first-line treatment in
elderly patients with advanced non-small cell lung cancer. Elderly Lung Cancer Vinorelbine
Italian Study. Oncologist. 2001;6 Suppl 1:4–7.
Sacher AG, Le LW, Leighl NB, Coate LE. Elderly patients with advanced non-small cell lung cancer in phase III clinical trials: are the elderly excluded from practice-changing trials in advanced nonsmall cell lung cancer?. J Thorac Oncol.2013;8(3):366–8.
Gridelli C, Langer C, Maione P, Rossi A, Schild SE : Lung cancer in the elderly. J Clin Oncol. 2007;25(14):1898–907.
Oken MM, Creech RH, Tormey DC, Horton J, Davis TE, McFadden ET, et al. Toxicity and response criteria of the Eastern Cooperative Oncology Group. Am J Clin Oncol. 1982;5(6):649–55.
National Cancer Institute - Cancer Therapy Evaluation Program. Common Toxicity Criteria for
Adverse Events v5.0 (CTCAE) [Internet]. 2017 Nov [cited 2021 Mar 28]. Available from: https://ctep.cancer.gov/protocolDevelopment/electronic_applications/ctc.htm#ctc_50
Eisenhauer EA, Therasse P, Bogaerts J, Schwartz LH, Sargent D, Ford R, et al. New response evaluation criteria in solid tumours: revised RECIST guideline (version 1.1). Eur J Cancer. 2009;45(2):228–47.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Takayuki N, Keiko T, Junji U, Yoshiko K, Nobuyo T, Tadaaki Y, et al. Advanced non-small-cell lung cancer in elderly patients: patient features and therapeutic management. Biomed Res Int.
:8202971.
Davidoff AJ, Tang M, Seal B, Edelman MJ. Chemotherapy and survival benefit in elderly
patients with advanced non-small-cell lung cancer. J Clin Oncol. 2010;28(13):2191–7.
Sutepvarnon A, Paradee R. Treatment outcome of elderly patients with advanced non-small cell lung cancer treated with supportive care and supportive care plus chemotherapy or targeted
therapy. Vajira Med J. 2015;59(1):1–10.
Koyi H, Hillerdal G, Andersson O, Kolbeck KG, Liv P, Branden E. Chemotherapy treatment of
elderly patients (≥70 years) with non-small cell lung cancer: a seven-year retrospective study
of real-life clinical practice at Karolinska University Hospital, Sweden. Lung Cancer Int. 2015:317868.
Kim SW, Kim MY, Lee YP, Ryu YJ, Lee SJ, Lee JH, et al. Clinical features and prognostic factors in elderly koreans with advanced non-small-cell lung cancer in a tertiary referral hospital. Tuberc Respir Dis (Seoul). 2013;75(2):52–8.
Ikeda S, Yoshioka H, Ikeo S, Morita M, Sone N, Niwa T, et al. Serum albumin level as a potential
marker for deciding chemotherapy or best supportive care in elderly, advanced non-small
cell lung cancer patients with poor performance status. BMC Cancer. 2017;17(1):797.
Schiller JH, Harrington D, Belani CP, Langer C, Sandler A, Krook J, et al. Comparison of four
chemotherapy regimens for advanced non-smallcell lung cancer. N Engl J Med. 2002;346(2):92–8.
Quoix E, Zalcman G, Oster JP, Westeel V, Pichon E, Lavole A, et al. Carboplatin and weekly paclitaxel doublet chemotherapy compared with monotherapy in elderly patients with advanced
non-small-cell lung cancer: IFCT-0501 randomised, phase 3 trial. Lancet. 2011;378(9796):1079–88.