ลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาการบาดเจ็บทางตาของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

ศรินทิพย์ ทองซิว
ปิยาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง:การบาดเจ็บทางตาเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นเกิดจากหลายสาเหตุแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ขึ้นกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางตาในจังหวัดเชียงรายในด้านระบาดวิทยา สาเหตุ ลักษณะทางคลินิกและผลการรักษา
วัสดุและวิธีการ:เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ของผู้ป่วยบาดเจ็บทางตาที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนเมษายน 2563 ถึง มีนาคม 2564 บันทึกผลการรักษาระดับสายตาครั้งสุดท้ายที่มาตรวจติดตามอาการ หรือที่ 6 เดือนหลังจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มบาดเจ็บแบบลูกตาไม่แตก (closed globe injury) และแบบลูกตาแตก (open globe injury) วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตาบอดตามกฎหมายด้วย multivariate logistic regression
ผลการศึกษา:มีผู้ป่วย 111 ราย ร้อยละ 75.7 เป็นเพศชาย (84 ราย) อายุเฉลี่ย 46.4 ปี (SD 19.4,พิสัย 4−84) ส่วนใหญ่เกิดจากการทำงาน 69 ราย (ร้อยละ 62.2) โดยเกิดจากไม้กระเด็นใส่ตา 27 ราย (ร้อยละ 39.1) และตัดหญ้า 23 ราย (ร้อยละ 33.3) มี ผู้ป่วย 2 ราย (ร้อยละ 2.9) ที่ใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงาน การบาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นแบบลูกตาไม่แตก 74 ราย (ร้อยละ 66.7) พบผู้ป่วยตาบอดตามกฎหมาย 18 รายในกลุ่มลูกตาแตก (ร้อยละ 48.7) และ 19 ราย (ร้อยละ 25.7) ในกลุ่มลูกตาไม่แตก (p=0.020) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับตาบอดตามกฎหมายคือ ระดับสายตาแรกรับ < 10/200 (OR 14.80, 95%CI 4.02−80.50, p=0.010) และการบาดเจ็บแบบลูกตาแตก (OR 2.74, 95%CI 1.10−6.81, p=0.020)
สรุป:การบาดเจ็บทางตาของผู้ป่วยใน รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ พบว่า สามในสี่ เป็นเพศชาย สองในสามเป็นการบาดเจ็บแบบลูกตาไม่แตกและสามในห้าเกิดจากการทำงานโดยมีผู้ที่ใช้อุปกรณ์ป้องกันเพียงร้อยละ 2.9 ผู้ป่วยหนึ่งในสามมีตาบอดตามกฎหมายโดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กันคือ ระดับการมองเห็นแรกรับ < 10/200 และการบาดเจ็บแบบลูกตาแตก

Article Details

How to Cite
ทองซิว ศ. ., & ศิริจันทร์ชื่น ป. . (2023). ลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาการบาดเจ็บทางตาของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. ลำปางเวชสาร, 44(2), 40–47. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/LMJ/article/view/264687
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Niyazova Z, Buzrukov B. Eye injury as a reason for disability. Int J Adv Sci Technol 2020;29(05):1356–64.

สุณิส า สินธุวงศ์, สิริธีรา ศรีจันทพงศ์, วันทนา รินทร์ไพจิตร. การศึกษาผู้ป่วยบาดเจ็บทางตาที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง). จักษุเวชสาร 2551;22(2):112–7.

Chaikitmongkol V, Leeungurasatien T, Sengupta S. Work-related eye injuries: Important occupational health problem in Northern Thailand. Asia Pac J Ophthalmol (Phila) 2015;4(3):155–60.

Woo JH, Sundar G. Eye injuries in Singaporedon’t risk it. Do more. A prospective study. Ann Acad Med Singap 2006;35(10):706–18.

สุณิสา สินธุวงศ์, สิริธีรา ศรีจันทพงศ์, วันทนา นรินทร์ไพจิตร. การบาดเจ็บทางตาของผู้ป่วยในที่เกิดจากอาชีพ:โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17(ฉบับเพิ่มเติม 6):1757–63.

อมรรัตน์ วงศ์ณรัตน์. อุบัติการณ์การบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตกในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;16(3):168–75.

Pipatrattanathaworn W, Ausayakhun S, Tantraworasin A, Ausayakhun S. Clinical features and visual outcomes of eye and orbital injuries in Northern Thailand. J Med Assoc Thai 2019;102(5):564–9.

Choovuthayakorn J, Worakriangkrai V, Patikulsila D, Watanachai N, Kunavisarut P, Chaikitmongkol V, et al. Epidemiology of eye injuries resulting in hospitalization, a referral hospital-based study. Clin Ophthalmol 2020;14:1–6.

กฤติกา อุปโยคิน. การศึกษาผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน. เชียงรายเวชสาร 2562;11(2):60–6.

Zhang X, Liu Y, Ji X, Zou Y. A Retrospective study on clinical features and visual outcome of patients hospitalized for ocular trauma in Cangzhou, China. J Ophthalmol 2017;2017:7694913.

Mansouri MR, Hosseini M, Mohebi M, Alipour F, Mehrdad R. Work-related eye injury: the main cause of ocular trauma in Iran. Eur J Ophthalmol 2010;20(4):770–5.