ภาวะจุดรับภาพชัดเสื่อมจากยาคลอโรควินในผู้ป่วยโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ยาคลอโรควินมีผลข้างเคียงทางตาที่สำคัญและรุนแรงคือ ภาวะจุดรับภาพชัดเสื่อม ทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้ ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดเสื่อมจากยาคลอโรควิน
วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ในผู้ป่วยนอกที่ได้รับยากลุ่มคลอโรควินและได้รับการตรวจจอประสาทตา ที่แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 จำนวน 51 ราย เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกข้อมูลทั่วไป
โรคประจำตัว ปริมาณยาสะสม ระยะเวลาที่ได้รับยา ผลการตรวจตา การตรวจตาบอดสี และลานสายตาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ผลการตรวจปกติและกลุ่มที่พบภาวะจุดรับภาพชัดเสื่อม โดยใช้ t-test และ Mann-Whitney U test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยร้อยละ 88.2 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49.6 ± 13.7 ปี (พิสัย 14-83 ปี) ระยะเวลาที่ได้รับยาคลอโรควิน เฉลี่ย 48.8 ± 36.4 เดือน (พิสัย 7-168 เดือน) มีปริมาณยาสะสมเฉลี่ย 336.9 ± 226.0 กรัม (พิสัย 53-1,260 กรัม) ทุกรายได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยวิธีขยายม่านตาแล้ว ตรวจด้วยเลนส์ขยายกำลังบวก ร้อยละ 68.6 ได้รับการตรวจตาบอดสี และกึ่งหนึ่งได้รับการตรวจลานสายตาพบภาวะจุดรับภาพชัดเสื่อมจากยาคลอโรควิน 16 ราย (ร้อยละ 31.4) และ 7 รายมียาสะสมที่กระจกตา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ผลการตรวจตาปกติ กับกลุ่มที่มีจุดรับภาพชัดเสื่อม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในด้านอายุ ปริมาณยาสะสม และระยะเวลาได้รับยา (p=0.47, 0.19 และ 0.22 ตามลำดับ)
สรุป: อายุ ปริมาณยาสะสมและระยะเวลาที่ได้รับยา ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดเสื่อม
จากยาคลอโรควิน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาลงพิมพ์ต้องไม่เคยพิมพ์หรือกำลังได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น เนื้อหาในบทความต้องเป็นผลงานของผู้นิพนธ์เอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนจากบทความอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้อ้างอิงอย่างเหมาะสม การแก้ไขหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่กองบรรณาธิการ จะต้องเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยก่อนจะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ และบทความที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติ ของลำปางเวชสาร
References
Isaacson D, Elgart M, Turner ML. Antimararials in dermatology. Int J Dermatol 1982; 21:379-95.
Koranda FC. Antimalarials. J Am Acad Dermatol 1981; 4:650-5.
Puavilai S, Kunavisarut S, Vatanasuk M, Timpatanapong P, Sriwong S, Janvitayanujit S, et al. Ocular toxicity of chloroquine among Thai patients. Int J Dematol 1999; 38:934-7.
Michael FM, Ronald EC, Michael E, Ayad AF, William FM. Recommendations on screening for chloroquine and hydroxychloroquine retinopathy. Ophthalmol 2002: 109(7):1377-82.
Leecharoen S, Wangkaew S, Louthrenoo W. Ocular side effects of chloroquine in patients with rheumatoid arthritis, systemic lupus erythematosus and scleroderma. J Med Assoc Thai 2007; 90(1):52-8.
Samuel KS, Maia J, Tizziani CM, Morita C, Kochen J, Takahashi W, et al. Chloroquine induced bull’s eye maculoapathy in rheumatoid arthritis: related to disease duration?. Clin Rheumatol 2007; 26:1248-53.