ความปลอดภัยและประสิทธิผลทางคลินิกของตำรับยา N040 ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแพร่กระจายและไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน

Main Article Content

Monthaka Teerachaisakul
thanut Khuayjarernpanishk
Wiwan Worakunphanich
Kamonwam Bancheun
Anchalee Chaiyasat
Thavatchai Kamoltham

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับสองของมะเร็งในผู้หญิงไทย ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแพร่กระจายมีอัตรารอดชีพ ณ 5 ปี เพียงร้อยละ 15 ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาในต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าการใช้ตำรับยาสมุนไพรร่วมรักษาผู้ป่วยมะเร็งช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีพได้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปลอดภัยและผลเบื้องต้นของการใช้ตำรับยา N040 ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแพร่กระจายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน โดยเป็นการศึกษาวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1b ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแพร่กระจายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานจำนวน 44 ราย ได้รับประทานยาแคปซูลที่มีสารสกัด N040 จำนวน 267.50 มิลลิกรัมต่อแคปซูล ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน ติดตามข้อมูลทุก 4 สัปดาห์เป็นเวลา 36 สัปดาห์ โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ประเมินผลเลือดทางห้องปฏิบัติการ 6 ครั้ง (24 สัปดาห์), ประเมินรังสีวินิจฉัย 3 ครั้ง ณ สัปดาห์ที่ 1, 12 และ 36 สรุปการตอบสนองต่อยาตาม RECIST criteria ณ สัปดาห์ที่ 1 และ 36 และประเมินคุณภาพชีวิตด้วย Thai modified function living index cancer questionnaire version 2 (T-FLIC 2) 2 ครั้ง ณ สัปดาห์ที่ 1 และ 24 พร้อมทั้งติดตามอัตรารอดชีพ (survival rate) เป็นระยะเวลา 1 ปี วิเคราะห์ทางสถิติด้วย ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, paired t-test, Repeated One way ANOVA และ Kaplan Meier Method โดยใช้หลัก intention to treat ผลการศึกษา พบว่า มีผู้เข้าร่วมวิจัยคุณสมบัติครบตามเกณฑ์และติดตามครบทั้งสิ้นจำนวน 32 ราย พบค่าเฉลี่ยของอายุและดัชนีมวลกายที่ 53.31 ± 10.29 ปีและ 22.64 ± 4.28 กิโลกรัม/ตารางเมตร ตามลำดับ ผลเปรียบเทียบก่อนและหลังรับประทานยา N040 พบว่า จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (%neutrophils), ค่า Blood Urea Nitrogen (BUN) และค่าเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (Alkaline phosphatase: ALP) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้านผลประเมินการตอบสนองต่อยา N040 ตาม RECIST criteria พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 20 ราย (ร้อยละ 62.5) ตอบสนองต่อการได้รับยา N040 ทั้งนี้ค่า CEA, ค่า CA19-9 และค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต T-FLIC 2 เปรียบเทียบก่อนและหลังไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งสิ้นจำนวน 12 รายในระยะเวลา 1 ปี มีอัตราการรอดชีพที่ 1 ปีคิดเป็นร้อยละ 62.50 และไม่พบการรายงานอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงใด ข้อสรุป การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ยา N040 ร่วมรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแพร่กระจายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานมีความปลอดภัย และผู้ป่วยร้อยละ 62.5 ตอบสนองต่อยาดังกล่าว อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาทางคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุมตามหลักมาตรฐานสากลเพิ่มเติมเพื่อข้อสรุปทางประสิทธิผลที่ชัดเจนต่อไป

Article Details

บท
Original Articles
Author Biography

Monthaka Teerachaisakul, สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี 11000

N/A

References

1. National Cancer Institute. Cancer situation in Thailand [Internet]. 2013 [cited 2018 Feb 16]; Available from: www.nci.go.th/th/File_download/D_index/NCCP 2556-2560.pdf (in Thai)
2. Information Center on HPV and Cancer. Human papillomavirus and related diseases report: world [Internet]. 2017 [cited 2018 Feb 16]; Available from: www.hpvcentre.net/statistics/reports/XWX.pdf
3. Malini T, Manimaran RR, Arunakaran J, Aruldhas MM, Govindarajulu P. Effects of piperine on testis of albino rats. J Ethnopharmacol. 1999;64:219–25.
4. Prakash AO. Potentialities of some indigenous plants for antifertility activity. Int J Crude Drug Res. 1986;24(1):19–24.
5. Kitdamrongtham W, Manosroi A, Akazawa H, Gidado A, Stienrut P, Manosroi W, et al. Potent anti-cervical cancer activity: synergistic effects of Thai medicinal plants in recipe N040 selected from the MANOSROI III database. J Ethnopharmacol. 2013;149:288–96.
6. Paithoon O. (2013). Cervical cancer incidence in Thailand [Internet]. 2013 [cited 2018 Feb 16]; Available from: https://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=17. (in Thai)
7. Scheele JS, Harder J, Stankovic Z, Räpple D, Dorn A, Spangenberg HC, et al. Clinical response to Auron Misheil therapy in a man with advanced multifocal hepatocellular carcinoma: A case report. Journal of Medical Case Reports. 2011;5:478.
8. Yang Jin Kun. 中医药治疗中晚期原发性肝癌的临床观察. Documentation for Traditional Cancer Therapy Seminar "Traditional Chinese Medicine Research Experience in Cancer Patients" Thai Traditional Medicine Research Institute. Department of Traditional Thai Medicine and Alternative Medicine. 2017. (in Thai)
9. Shen Ke Ping. 肝癌治疗概述及中医药在肝癌综合疗法中的作用. Documentation for Traditional Cancer Therapy Seminar "Traditional Chinese Medicine Research Experience in Cancer Patients" Thai Traditional Medicine Research Institute. Department of Traditional Thai Medicine and Alternative Medicine. 2017. (in Thai)
10. Greimel ER, Kuljanic Vlasic K, Waldenstrom AC, Duric VM, Jensen PT, Singer S, et al. (2006). The European Organization for Research and Treatment of Cancer (EORTC) Quality-of-Life questionnaire cervical cancer module: EORTC QLQ-CX24. Cancer. 2006;107(8):1812-22.
11. Thongprasert S, Intarapak S, Saengsawang P, Thaikla K. Reliability of the Thai-modified function living index Cancer questionnaire version 2 (T-FLIC 2) for the evaluation of quality of life in non-small cell lung cancer patients. J Med Assoc Thai. 2005;88(12):1809-15.
12. Schipper H, Levitt M. Measuring quality of life: risks and benefits. Cancer Treatment Reports; 1985;69(10):1115-23.
13. Jaroenwech C, Sindhu S, Ratinthorn A. Factors affecting the quality of life among early stage cervical cancer patients after treatment. J The Royal Thai Army Nurses. 2017;18:232–8. (in Thai)
14. Greimel ER, Winter R, Kapp KS, Haas J. Quality of life and sexual functioning after cervical cancer treatment: A long-term follow-up study. Psychooncology. 2009;18(5):476-82.
15. M Frumovitz, CC Sun, Schover LR, Munsell MF, Jhingran A, Wharton JT, et al. Quality of life and sexual functioning in cervical cancer survivors. J Clin Oncol. 2005;23(30):7428–36.
16. Uribe-Querol E, Rosales C. Neutrophils in Cancer: Two Sides of the Same Coin. J Immunol Res. 2015;2015:983698.
17. Treffers LW, Hiemstra IH, Kuijpers TW, van den Berg TK, Matlung HL. Neutrophils in cancer. Immunol Rev. 2016;273(1):312–28.