การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ

Main Article Content

วนิดา แสนพุก
สุดใจ ศรีสงค์
เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 30 คน ผู้ดูแล 30 คน และบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพ 34 คน การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ มี 4 ขั้นตอน: 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบ 3)ทดลองใช้รูปแบบ และ 4)ประเมินผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ทีมสหสาขาวิชาชีพและผู้ดูแล แบบตรวจสอบเวชระเบียน แบบทดสอบความรู้ของผู้ดูแลและของพยาบาล แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแล แบบประเมินทักษะของพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลและทีมสหสาขาวิชาชีพ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


             ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ มี 4 องค์ประกอบ: 1)แผนการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล 3) การมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว และ 4) การวางแผนการจำหน่าย 5 ขั้นตอน: 4.1) ประเมินปัญหาและความต้องการ 4.2) วินิจฉัยปัญหา 4.3) กำหนดแผนการจำหน่ายโดยใช้ METHOD 4.4) ปฏิบัติตามแผน และ 4.5) ประเมินผล การนำรูปแบบไปใช้ พบ ผู้ป่วยมีวันนอนลดลง 1.1 วัน ค่ารักษาพยาบาลลดลง 2,466.20 บาท ไม่พบการเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ย้ายไปหอผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้วางแผน หรือกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังได้รับการสอน ผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยสูงขึ้น (P<.01) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด พยาบาลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยสูงขึ้น (P<.01) พยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

1. Cantais A, Mory O, Pillet S, Verhoeven PO, Bonneau J, Patural H, et al. Epidemiology and microbiological investigations of community-acquired pneumonia in
children admitted at the
emergency department of a university hospital. J Clin Virol. [Internet]. 2014. [cited 2017 Aug 10]. Available from: http://www.thaipediatricss.org.

2. Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control. MOPH. Pneumonia. [Internet]. 2016. [cited 2017 Dec 06]. Available from:
http://www.boe.moph.go.th. Thai

3. Medical statistics department. Medical statistics 2016-2017, NakhonPhanom. Nakhon Phanom Hospital; 2017. Thai

4. Power N, Franck L. Parent participation in the care of hospitalized children, doctoral dissertation: a systematic review. J Adv Nurs. [Internet]. 2008. [cited 2017
Sep 01]. Available from:http://www.thaipediatricss.org

5. Kristensson-Hallstrom, I. Parental participation in pediatric surgical care. Association of perioperative Registerred Nurse [AORN] Journal 2000;71(5),1021-33.

6. Donabedian A. The quality of care: How can it be assessed. Journal of American Medical Association. 1988; 260(1):1743-8.

7. Schepp, K. Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. Unpublished manuscript, University of
Washington, School of Nursing, Seattle, WA;1995.

8. Khanarot Apinyalungkon, Waraporn Pathong, Ruttanaporn Poommarin. Effectiveness of Clinical Practice Guideline of Respiratory Management for Children
with Pneumonia. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2016;27(1):139-50. Thai

9. Siriwan Yimleang, Porntip Rattanawichai, Chongmat Chagvichient. The development of care model for Asthama pediatric by multidiscipline participate in
Phichit Hospital. Journal of Nursing Division. 2009;36(3):96-112. Thai

10. Jarupan Tanaree. The efficacy of the Pediatric Early Warning Score: PEWS in the pediatric ward at Kamphaeng Phet Hospital. Thai Journal of Pediatrics.
2016;55(3):196-201. Thai.

11. Ajjimavadee Pongdara. Effect of High Flow Nasal Cannula (HFNC) in Pediatric with Respiratory Distress. Thai Journal Pediatrics. 2019;58(3),175-80. Thai.

12. Linda Santawaja, Saranya Boonyo. Development of Stroke Patient Care Model in Phranangklao Hospital,Nonthaburi Provnce. Journal of Nursing Division
2015;42(1):139-50. Thai.

13. Duangnate Phuwattanavanich. The effects of supportive-educative nursing system on maternal knowledge and capabilities in the care of children hospitalized
with pneumonia. Vajira Nursing Journal. 2017;19(2): 35-44. Thai.