https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/issue/feed วารสารกองการพยาบาล 2024-12-19T13:51:43+07:00 ภูวนาถ ป้อมเมือง ndjournal@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารกองการพยาบาล Journal of Nursing Division</strong></p> <p><strong>ISSN 2673-0316 (Online)</strong></p> <p> </p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275793 การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลเพื่อป้องกันผู้ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะ 2024-12-09T10:24:17+07:00 วาศินี อ่อนท้วม Wasinee.o@hotmail.com ปณิตา คุณสาระ Wasinee.o@hotmail.com ดวงกมล ทองคำ Wasinee.o@hotmail.com พรทิพย์ สายสุด Wasinee.o@hotmail.com ปฏิวัติ กุณะแสงคำ Wasinee.o@hotmail.com <p><strong>บทคัดย่อ </strong>&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ ของการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การพยาบาล เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะ (CAUTI) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นิเทศ คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ 18 คน ผู้รับการนิเทศ คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ มากกว่า 1 ปี 191 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ 604 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 302 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการนิเทศทางคลินิกฯ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ด้านการนิเทศทางคลินิก (KR-20 = 0.86) ด้านการพยาบาลป้องกัน CAUTI (KR-20 = 0.88) แบบบันทึกการปฏิบัติของผู้รับการนิเทศ (interrater reliability = 1) แบบบันทึกผลลัพธ์การพยาบาล (CVI = 0.84) และแบบประเมินความคิดเห็นของผู้นิเทศต่อรูปแบบ (CVI = 0.86)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ผลการวิจัย </strong>รูปแบบการนิเทศทางคลินิกฯ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบายการนิเทศทางคลินิกเฉพาะโรค 2) บทบาทหน้าที่ของผู้นิเทศ 3) ความรู้ของผู้นิเทศด้านการนิเทศ 4) คู่มือการนิเทศฯ 5) แผนการนิเทศตาม CAUTI Bundle และ 6) กิจกรรมการนิเทศที่สอดคล้องกับสถานการณ์&nbsp; ผลลัพธ์การใช้รูปแบบ (1) ด้านผู้ป่วย ก่อนการใช้รูปแบบพบผู้ป่วยติดเชื้อ CAUTI 82 ราย (ร้อยละ 27.2) หลังการใช้ พบ 12 ราย (ร้อยละ 4) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) (2) ด้านผู้นิเทศ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการนิเทศ และด้านการป้องกัน CAUTI ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ความคิดเห็นต่อรูปแบบ มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับดี (x̄ =4.22, SD=0.43) (3) ด้านผู้รับการนิเทศ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน CAUTI ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ &nbsp;แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ผู้รับการนิเทศปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน CAUTI ครบถ้วนในกิจกรรมสำคัญ เช่น การจัดการการใส่สายสวนตามข้อบ่งชี้ การล้างมือก่อนและหลังสัมผัสสายสวน การใช้เทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique) และการดูแลระบบปิดของสายสวน&nbsp;</p> 2024-12-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275843 ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-12-11T08:51:08+07:00 ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ patrabulptt@gmail.com ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข patrabulptt@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบบ่อยในวัยรุ่น ส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 15 -18 ปี ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 441 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือค่า CVI ตั้งแต่ 0.60-1.00 ทุกข้อ &nbsp;การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้คะแนนความเที่ยงเท่ากับ .90 .89 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการถดถอยแบบขั้นตอน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีระดับภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับรุนแรง โดยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า การสนับสนุนด้านอารมณ์ ทักษะการจัดการตนเอง และการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพสามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ร้อยละ 19.60 ผลการศึกษาให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตและพยาบาลเด็กและวัยรุ่นในการเฝ้าระวังและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมและป้องกันภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหรือความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้มากขึ้</p> 2024-12-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275845 การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดของมารดาที่มีการคลอดครั้งแรก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา 2024-12-11T08:58:32+07:00 มลิจันทร์ เกียรติสังวร malijanying@gmail.com สายชล พฤกษ์ขจร malijanying@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การเจ็บครรภ์คลอดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคลอดปกติ ผู้คลอดมีการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดและจัดการกับความปวดได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะมารดาที่คลอดครั้งแรก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดของมารดาที่มีการคลอดครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกที่คลอดทางช่องคลอด ที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด มีความตรงของเนื้อหารายข้อ ค่า I-CVI อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามตอนที่ 2 เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบค่าที ทดสอบเวลช์ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยสถิติ LSD</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า มารดาที่มีการคลอดครั้งแรกมีอายุ ระดับการศึกษา ความสัมพันธ์กับสามี รายได้ของครอบครัว และประวัติการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บครรภ์คลอดแตกต่างกัน มีการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการให้ความรู้ คำแนะนำ พร้อมทั้งสาธิตวิธีการจัดการการเจ็บครรภ์คลอด เพื่อให้มารดาสามารถรับมือกับการเจ็บครรภ์คลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275889 การเข้ารับบริการฝากครรภ์: มุมมองหญิงตั้งครรภ์และผู้ปฏิบัติงาน 2024-12-12T10:16:00+07:00 อุทัยทิพย์ ทองฉวี Tippawan@bcnt.ac.th ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์ Tippawan@bcnt.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฝากครรภ์หลัง 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ 10 คน และเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน 20 คน ในพื้นที่อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์และเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพผู้ปฏิบัติงานมีมุมมองที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการฝากครรภ์หลัง 12 สัปดาห์ใน 4 ประเด็น ได้แก่ (1) ปัจจัยจากตัวหญิงตั้งครรภ์&nbsp; คือ ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ ขาดความเข้าใจในกระบวนการรับบริการฝากครรภ์และความต้องการการสนับสนุนจากครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ (2) ปัจจัยด้านกระบวนการของการรับบริการฝากครรภ์ คือ ระยะเวลาการเปิดบริการฝากครรภ์ที่ไม่เอื้ออำนวย&nbsp; (3) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ การขาดงานหรือลางานที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ และ(4) ปัจจัยทางสังคม คือ ยังไม่ผ่านพิธีแต่งงานจึงจำเป็นต้องปกปิดการตั้งครรภ์ &nbsp;ดังนั้นการส่งเสริมการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ให้ประสบความสำเร็จ จึงต้องอาศัยการให้ข้อมูล การทำความเข้าใจในกระบวนการให้บริการฝากครรภ์ การจัดช่วงเวลาการให้บริการที่เหมาะกับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และการช่วยเหลือกลุ่มที่ต้องการปกปิดการตั้งครรภ์</p> 2024-12-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275890 การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล 2024-12-12T10:25:22+07:00 ญาณนี รัตนไพศาลกิจ yannee.r@gmail.com วิวา หายทุกข์ yannee.r@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยและพัฒนานี้ &nbsp;มี 4 ขั้นตอน: (1) เตรียมการและศึกษาสภาพการณ์ (2) พัฒนารูปแบบและจัดทำคู่มือการนิเทศทางคลินิก (3) ทดลองใช้และปรับปรุงรูปแบบ (4) นำไปใช้และประเมินผลรูปแบบ &nbsp;กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ หัวหน้าและรองหัวหน้าหอผู้ป่วย 14 คน พยาบาลวิชาชีพ 70 คน ผู้ป่วยในที่เสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบและไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ 136 คน &nbsp;เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสำรวจสภาพการณ์นิเทศ และคู่มือการนิเทศทางคลินิก ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 1.00 &nbsp;&nbsp;เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามผู้นิเทศ&nbsp; แบบสอบถามผู้รับการนิเทศ และแบบสอบถามผู้ป่วย ค่าความเชื่อมั่น 0.84, 0.86 และ 0.89 ตามลำดับ &nbsp;และแบบบันทึกข้อมูลการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>&nbsp;</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศทางคลินิก มี 2 องค์ประกอบ: (1) การให้ความรู้การนิเทศทางคลินิกแก่ผู้นิเทศ และการให้ความรู้การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลแก่พยาบาลวิชาชีพ (2) คู่มือการนิเทศทางคลินิก ประกอบด้วย 2.1 ทำความเข้าใจประเด็นการนิเทศ 2.2 กำหนดเป้าหมายการนิเทศ 2.3 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของประเด็นนิเทศ 2.4 กำหนดทางเลือกปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการนิเทศ และ 2.5 สรุปผลการนิเทศร่วมกัน ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้นิเทศมีความรู้และมีทักษะการนิเทศสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p &lt; .05) และพึงพอใจในระดับมาก ( Mean 4.75, SD .33) &nbsp;ผู้รับการนิเทศมีความรู้และมีการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p&lt;.05) และพึงพอใจในระดับมาก ( Mean 4.68, SD .34) ผู้ป่วยพึงพอใจในระดับมาก (Mean 2.89, SD .84) อัตราการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลลดลงจาก 0.29 เป็น 0.13 ต่อ 1,000 วันนอน</p> 2024-12-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275977 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก 2024-12-16T15:14:16+07:00 มธุรส จันทร์แสงศรี charen01101963@gmail.com เจริญสุข อัศวพิพิธ charen01101963@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดครรภ์แรก จำนวน 88 คนที่มาตรวจตามนัด 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีค่า KR-20 เท่ากับ .77 แบบสอบถามทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสอบถามพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .79, .80 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสมการถดถอยพหุคูณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 51.13 ความรู้ ทัศนคติ และสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r .407, .502, .600 ตามลำดับ, p &lt; .01) ความรู้ ทัศนคติ และสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก ได้ร้อยละ 44.80 ( R<sup>2</sup> .448, p &lt; .01) ดังนั้น พยาบาลห้องคลอดและหลังคลอดควรส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับมารดาตั้งแต่ระยะก่อนคลอด เพื่อกระตุ้นและให้มารดาหลังคลอดบุตรคนแรกมีความมั่นใจและตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่</p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275992 การพัฒนารูปแบบการพยาบาล A to I สำหรับพยาบาลประจำการต่อความสามารถ ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยการผ่าตัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2024-12-17T11:03:29+07:00 บุปผาชาติ ขุนอินทร์ nsanaeha@gmail.com นรลักษณ์ เสน่หา nsanaeha@gmail.com เสาวลักษณ์ ไวพรรทา nsanaeha@gmail.com นิรมล พจน์ด้วง nsanaeha@gmail.com แสงรุ้ง สุขจิระทวี nsanaeha@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการพยาบาล A to I สำหรับพยาบาลประจำการ และศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการพยาบาลนี้ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 25 คน และผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยการผ่าตัด 57 คน&nbsp; ดำเนินการ 3 ระยะ (1) วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วย (2) พัฒนารูปแบบฯ และ (3) ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) รูปแบบการพยาบาล A to I สำหรับพยาบาลประจำการ (3) แบบสอบความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (4) แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลฯ (5) แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และ (6) แบบบันทึกการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่า CVI .88-1.0 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาคของเครื่องมือลำดับที่ 3, 4 และ 5 คือ .83, .85 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Wilcoxson signed rank test และการวิเคราะห์เนื้อหา&nbsp;</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพยาบาล A to I สำหรับพยาบาลประจำการ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ (1) ระยะเตรียมความพร้อม 4 ด้าน ได้แก่ 1.1 ด้านโครงสร้าง 1.2 ด้านการบริการ 1.3 ด้านพยาบาลประจำการ และ 1.4 ด้านมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย (2) ระยะการดูแลผู้ป่วย และ (3) ระยะสิ้นสุดการดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์การใช้รูปแบบ พบว่า หลังใช้รูปแบบผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) และ ความรู้ของพยาบาลประจำการหลังได้รับการอบรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275993 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคลมชัก 2024-12-17T11:16:04+07:00 กัญณภัทร สนสกุล walainaree@hotmail.com วลัยนารี พรมลา walainaree@hotmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคลมชัก&nbsp; กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคลมชักที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปทุมธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์ และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคลมชัก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของโปรแกรม และแบบสอบถาม มีค่าเท่ากับ 1.00 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม มีค่าเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ Dependent t-test (one group pre – post test)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคลมชักหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (Mean 3.71 และ Mean 2.61, ตามลำดับ) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t -7.82, p &lt; .001) ดังนั้น โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์ที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคลมชักและพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ รับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ รับรู้ความสามารถของตนเอง และเข้าใจวิธีการจัดการตนเองเพื่อการมีสุขภาพที่ดีต่อไป</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/276025 ความสัมพันธ์ระหว่าง การสนับสนุนของครอบครัว และทัศนคติของผู้ดูแลเกี่ยวกับ การมีกิจกรรมทางกาย ต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม 2024-12-19T09:10:08+07:00 วลัยนารี พรมลา pisan.p@ptu.ac.th พิสันต์ ประชาชู pisan.p@ptu.ac.th <p>การวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การสนับสนุนของครอบครัว และทัศนคติของผู้ดูแลเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกาย ต่อการมีกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 88 คน ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่&nbsp; แบบสอบถามทัศนคติของผู้ดูแลต่อการมีกิจกรรมทางกาย และแบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาทั้งสองชุด เท่ากับ 1.00 และตรวจสอบความเชื่อมั่น แบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัว แบบสอบถามทัศนคติของผู้ดูแลต่อการมีกิจกรรมทางกาย และ แบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุสมองเสื่อม ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ .79, .80 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า การสนับสนุนของครอบครัว และทัศนคติของผู้ดูแลต่อการมีกิจกรรมทางกาย มีความสัมพันธ์ต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุสมองเสื่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .507, .502 ตามลำดับ) ดังนั้นพยาบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถดูแลและส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับผู้สูงอายุสมองเสื่อมได้</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/276027 ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลลำพูน 2024-12-19T09:30:01+07:00 จงลักษณ์ โกมุทศิริกุล Tipanan@bcnph.ac.th ทิพนันท์ บูรณะกิติ Tipanan@bcnph.ac.th <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้ต่อพฤติกรรม&nbsp;&nbsp;&nbsp; การดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นแนวทางในการศึกษา&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 15 – 75 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลลำพูน ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกที่กำหนด แบ่งเป็น&nbsp; กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้ที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็ม แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่านการตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.97, 1.00, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ ทดสอบหาความเที่ยงของเครื่องมือแบบวัดความรู้และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ 0.75 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบที</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรม&nbsp;&nbsp;&nbsp; การดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมอาการของโรค ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/276030 ผลของรูปแบบการเตรียมพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อสมรรถนะการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบครอบคลุมเป็นองค์รวมของนักศึกษาพยาบาล และความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อม 2024-12-19T13:39:39+07:00 ศุภวรรณ ป้อมจันทร์ oraya@bcnsprnw.ac.th อรญา ศรีนารอด oraya@bcnsprnw.ac.th ณชพัฒน์ จีนหลักร้อย oraya@bcnsprnw.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบครอบคลุมเป็นองค์รวมก่อนและหลังการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการเตรียมความพร้อมฯ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 36 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการเตรียมพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินสมรรถนะของนักศึกษาเกี่ยวกับการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุแบบครอบคลุมเป็นองค์รวม และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 1.0 และ .97 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .86 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุแบบครอบคลุมเป็นองค์รวมของนักศึกษาพยาบาลหลังเตรียมความพร้อมโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูงกว่าก่อนเตรียมความพร้อมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ&nbsp; (t 23.59, p &lt; .05) นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจด้านการสร้างความมั่นใจในการประเมินผู้สูงอายุในระดับมากที่สุด (Mean 4.80, SD .40) ดังนั้น ผู้สอนควรใช้รูปแบบการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงเพื่อให้ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมฝึกปฏิบัติโดยใช้ความรู้และมีสมรรถนะในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/276031 การพัฒนาการบริการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดสู่องค์กรสมรรถนะสูง 2024-12-19T13:51:43+07:00 วรลักษณ์ ฆ้องวงษ์ ha.ayh09@gmail.com สุกัญญา พินหอม ha.ayh09@gmail.com พิราลักษณ์ ลาภหลาย ha.ayh09@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการบริการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติทารกแรกเกิดสู่องค์กรสมรรถนะสูง ดำเนินการ 3 ระยะ คือ (1) การศึกษาสถานการณ์ (2) พัฒนาการบริการพยาบาลฯ และ (3) ประเมินประสิทธิผลการบริการฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาล 30 คน ผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด 30 คน และญาติผู้ดูแลหลัก 30 คน เครื่องมือวิจัย คือ การบริการพยาบาลฯที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงของกระทรวงสาธารณสุข แบบประเมินคุณลักษณะและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลและญาติผู้ดูแลหลัก และแบบบันทึกความปลอดภัยของผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด ตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ .88 - .99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า การบริการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดสู่องค์กรสมรรถนะสูงที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิผล 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านคุณภาพ ประกอบด้วย 1.1 คะแนนการประเมินคุณภาพผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.00 เป็นร้อยละ 81.00 1.2 คะแนนความพึงพอใจของพยาบาลต่อการบริการพยาบาลอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 86.00 (2) ด้านการยอมรับ ประกอบด้วย 2.1 คะแนนสมรรถนะของพยาบาลก่อนและหลังพัฒนาฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ &nbsp;(p &lt; .05) 2.2 คะแนนเฉลี่ยการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงฯ เพิ่มขึ้นจาก 3.78 เป็น 4.21 (3) ด้านประสิทธิผล ประกอบด้วย 3.1 อุบัติการณ์และภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังการใช้การบริการพยาบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) 3.2 ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลหลักต่อการบริการพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 96.00</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/275848 การบริการการแพทย์ทางไกล : ทางเลือกในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน 2024-12-11T09:12:23+07:00 พรพรรณ โพธิไชยา natthawirot.c@nrru.ac.th ณัฐวิโรจน์ ชูดำ natthawirot.c@nrru.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมและไม่ทั่วถึงยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขของไทย การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ การบริการการแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการพัฒนาบริการเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสะดวก ลดระยะทาง ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์ของผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ &nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>แนวทางการจัดบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการบริการการแพทย์ทางไกล จะต้องมีการจัดทำคู่มือหรือสื่อการเรียนรู้ที่ผู้สูงอายุใช้งานสะดวกเข้าใจง่าย การให้บริการที่เป็นมิตร ให้บริการช่วยเหลือทางเทคนิคหากเกิดปัญหาขณะใช้งาน การเน้นย้ำเรื่องมาตรการด้านความปลอดภัยและการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลสุขภาพ การสร้างประสบการณ์ที่ดี การสื่อสารที่ชัดเจน การติดตามผลและความพึงพอใจ รวมถึงการสร้างกลุ่มหรือชุมชนออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน และการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้บริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ลดการแออัดในโรงพยาบาล และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาในโรงพยาบาลที่ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง อีกทั้งยังช่วยพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างยั่งยืน</p> 2024-12-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล