วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND <p>วารสารกองการพยาบาล&nbsp;Journal of Nursing Division</p> <p><strong>ISSN 0125-7242 (Print)&nbsp;<span lang="TH">และ&nbsp;</span>ISSN 2673-0316 (Online)</strong></p> <p>วารสารกองการพยาบาลเป็นวารสารทางด้านการพยาบาล ฉบับภาษาไทย ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ทุก 4 เดือน มีกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ&nbsp;(Peer Review)&nbsp;ด้วยวิธีการ Double-blind ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบว่าผู้แต่งเป็นใคร และผู้แต่งจะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินบทความของตน&nbsp;สถานที่ตั้งของวารสารอยู่ที่กองการพยาบาล อาคาร 4 ชั้น 4 ตึกกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข</p> th-TH [email protected] (ภูวนาถ ป้อมเมือง) [email protected] (กองบรรณาธิการวารสารกองการพยาบาล) Wed, 10 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของการจัดการพยาบาลรายกรณีในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังทางจักษุที่ควบคุมระดับน้ำตาล และระดับความดันโลหิตไม่ได้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270465 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการพยาบาลรายกรณีแบบรายโรค ร่วมกับระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิเคราะห์เจาะลึก กรณีศึกษาผู้สูงอายุโรคเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy) ที่มีความเสี่ยงสูง คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้ตามค่าเป้าหมาย ที่ศูนย์จอตาและน้ำวุ้นตา ชั้น M อาคารเลิศประชารักษ์ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) 3 ราย โดยใช้รูปแบบการจัดการพยาบาลรายกรณี ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประเมินปัญหาและวางแผนการดูแลผู้ป่วย (2) การประสานงาน (3) การติดตามกำกับ และ (4) การประเมินผล ร่วมกับการติดตามผู้ป่วยกรณีศึกษาตามรอบนัดหมาย 3 ครั้ง และติดตามการให้การพยาบาลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายอายุ 64 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดจาก 169 mg/dl ลดลงเหลือ 149 mg/dl น้ำตาลสะสมระดับคงที่ 8% ระดับความดันโลหิต 177/82 mmHg, 161/76 mmHg ,158/72 mmHg ตามลำดับ กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิง อายุ 61 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดจาก 190 mg/dl ลดลงเหลือ 160 mg/dl น้ำตาลสะสมจาก 9.6% ลดลงเหลือ 8% ระดับความดันโลหิต 146/57mmHg, 143/56mmHg, 158/72mmHg ตามลำดับ และกรณีศึกษารายที่ 3 ผู้ป่วยชายอายุ 70 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดจาก 189 mg/dl ลดลงเหลือ 134 mg/dl น้ำตาลสะสมระดับคงที่ 7.5% ระดับความดันโลหิต 170/64 mmHg, 170/70mmHg, 174/70mmHg ตามลำดับ</p> เบญจมาศ รอดแผ้วพาล, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270465 Tue, 16 Apr 2024 00:00:00 +0700 ระบบบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยพยาบาลอิสระ เยี่ยมบ้าน: กรณีศึกษาพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270656 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมีผู้ป่วยประมาณหนึ่งในสามเท่านั้นที่สามารถควบคุมโรคได้ แพทย์และพยาบาลในระบบของภาครัฐคงมีจำนวนเท่าเดิมหรือลดลงทุกปี การให้บริการผู้ป่วยยังเป็นแบบตั้งรับ บุคลากรไม่มีเวลาเพียงพอในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการปรับวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมโรคได้อย่างยั่งยืน การออกแบบระบบบริหารจัดการด้วยลักษณะการจ้างงานพยาบาลอิสระเยี่ยมบ้านให้เป็นพยาบาลประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงแบบเฉพาะเจาะจง การประยุกต์ใช้เครื่องมือช่วยในการตัดสินใจสำหรับพยาบาลอิสระเยี่ยมบ้านในการดูแลควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการนำระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการดูแลผู้ป่วยได้เป็นปัจจุบันช่วยให้พยาบาลปฏิบัติงานตามมาตรฐานอย่างปลอดภัยและมีความทันสมัย พื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ประมาณร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงทั้งหมดและมีความพร้อมในการเป็นพื้นที่นำร่องการใช้ระบบบริหารจัดการด้วยลักษณะการจ้างงานพยาบาลอิสระเยี่ยมบ้านเสริมการจัดบริการแบบเดิม</p> <p>ผลการถอดบทเรียนความสำเร็จของระบบบริหารจัดการและการจ้างงานพยาบาลอิสระเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่า ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลปลายนิ้วและค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลง ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) และตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) ลดลง พยาบาลประจำมีภาระงานลดลง พยาบาลอิสระเยี่ยมบ้านมีความมั่นใจและมีความคล่องตัวในการดูแลจัดการปัญหาสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ที่บ้าน</p> นิชดา สารถวัลย์แพศย์, ศิริอร สินธุ, ปทุมทิพย์ อดุลวัฒนศิริ Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270656 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยประเมินผลรูปแบบการจัดระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบแยกกักตัวที่บ้าน (HOME ISOLATION) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270344 <p>สถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด-19 อำเภอหาดใหญ่ในปี พ.ศ. 2565 &nbsp;มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าระบบปกติของโรงพยาบาล จะรองรับได้ จึงมีนโยบายจัดบริการแบบแยกกักตัวที่บ้าน ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบแยกกักตัวที่บ้านด้วย H-A-T-Y-A-I HI model เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและหยุดการระบาด หลังผ่านพ้นภาวะวิกฤต คณะผู้วิจัยจึงศึกษาและประเมินผลตามรูปแบบซิปป์ เพื่อวิเคราะห์นำมาปรับปรุงใช้ในสถานการณ์ระบาดในอนาคต &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลรูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในระบบการแยกกักตัวที่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามพยาบาลที่ปฏิบัติงาน 60 ราย ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน 200 ราย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และสนทนากลุ่ม มีผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;15 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และการตีความการสัมภาษณ์ <strong>&nbsp;</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลรูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบแยกกักตัวที่บ้านด้านการจัดบริการ พบว่าอยู่ในระดับดีมาก สามารถรองรับผู้ป่วยปริมาณมากในสถานการณ์ระบาดหนักได้อย่างปลอดภัย พยาบาลผู้ให้บริการเกือบทุกคนมีความเครียดเป็นบางครั้งถึงบ่อยครั้ง และเกิดภาวะหมดไฟบ่อยครั้งถึงเป็นประจำเพิ่มจาก&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 50 ผู้ป่วยรับรู้&nbsp; การให้การพยาบาลได้ในระดับมาก มีการดูแลอาการหลงเหลือหลังการป่วยโรคโควิด-19 &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ในระดับดี</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> รูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและ องค์กรเป็นต้นแบบสำหรับนำไปใช้ได้</p> อมรรัตน์ ลิ่มเฮง, รำภาภรณ์ หอมตีบ, อรพรรณ จิรายุกูล, ภาเอื้ออันน์ สิรินทรโสภณ, กฤชมล วิทยธนกุล Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270344 Wed, 10 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270348 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกของผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 32 คน แบ่งเป็น ผู้นิเทศ 10 คน ผู้รับการนิเทศ 22 คน และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 580 คน แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังพัฒนา กลุ่มละ 290 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ (1) สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนา (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นไปได้ และการออกแบบ สร้าง เลือกวิธีการ (3) ทดลองใช้และปรับปรุง และ (4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือการวิจัย คือ รูปแบบการนิเทศทางคลินิก &nbsp;เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการนิเทศทางคลินิกของพยาบาลผู้นิเทศ แบบประเมินความสามารถการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ&nbsp; และแบบบันทึกผลการพยาบาล ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.86 0.87และ 0.88 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.84, 0.86 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน paired t-test &nbsp;และ Mann-Whitney U test&nbsp;</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> &nbsp;พบว่า การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจได้ ประกอบด้วย (1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ (2) คู่มือการนิเทศ (3) คู่มือการสอนงาน (4) คู่มือหลักและจริยธรรมทางการพยาบาล ผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกของผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ พบว่า พยาบาลผู้นิเทศมีคะแนนความรู้และทักษะปฏิบัติการนิเทศทางคลินิก เพิ่มขึ้น (p &lt; .001)&nbsp; พยาบาลผู้รับการนิเทศมีการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้น (p &lt; .001) และผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย พบว่า อัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจลดลง (p &lt; .001)&nbsp; อัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดลดลง (p &lt; .001) อัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เพิ่มขึ้น (p &lt; .001) และระยะเวลาในการใส่เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ยลดลง (p &lt; .001)&nbsp;</p> ระเบียบ ขุนภักดี, ดรุณี ท่วมเพ็ชร Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270348 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากำลังคนคุณภาพทางการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270349 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การพัฒนากำลังคนคุณภาพทางการพยาบาล เป็นโครงการที่พัฒนาโดยกองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลหลักสูตรการพัฒนากำลังคนคุณภาพทางการพยาบาล โดยดำเนินการ เป็น 3 ระยะ ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตรการพัฒนากำลังคนคุณภาพทางการพยาบาล &nbsp;(2) นำหลักสูตรการพัฒนากำลังคนคุณภาพทางการพยาบาลสู่การปฏิบัติ (3) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรการพัฒนากำลังคนคุณภาพทางการพยาบาล กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้หลักสูตร คือ พยาบาลวิชาชีพที่เป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการดำเนินการ พบว่า หลักสูตร ประกอบด้วย (1) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (2) ขอบเขตเนื้อหาสาระ ซึ่งมี &nbsp;&nbsp;&nbsp;6 หมวด ดังนี้&nbsp; หมวดคุณภาพการพยาบาล หมวดกลยุทธ์และการวางแผน หมวดการสร้างคุณค่าบริการพยาบาล หมวดภาวะผู้นำ หมวดกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และหมวดการพัฒนาวิชาการ นวตกรรม และวิจัย (3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ (4) การวัดและประเมินผล&nbsp; การติดตามประเมินผล หลังสิ้นสุดการฝึกอบรมทันที พบว่า พยาบาลผู้ผ่านการอบรม ร้อยละ 91.67 มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักสูตรเพิ่มขึ้น คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อหลักสูตรและกิจกรรมการฝึกอบรมในภาพรวม อยู่ที่ 9.42 (จากคะแนน 1-10) มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นทั้ง 6 ด้าน สมรรถนะที่เพิ่มขึ้นและมีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ ด้านการสร้างคุณค่าบริการพยาบาล และด้านคุณภาพการพยาบาล การติดตามประสิทธิผลเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม 1 ปี มีผู้ให้ข้อมูล ร้อยละ 56.67 ผู้ผ่านการอบรมร้อยละ 1.67 สามารถเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงได้ ร้อยละ 36.67 สามารถพัฒนาเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพได้ และ ร้อยละ 48.33 สามารถพัฒนาเป็นวิทยากร/ ครูพี่เลี้ยงให้กับพยาบาลอื่นได้ ดังนั้น หลักสูตรการพัฒนากำลังคนคุณภาพทางการพยาบาล จึงเป็นหลักสูตรที่ผู้บริหารทางการพยาบาลในเขตสุขภาพ และในจังหวัด สามารถใช้ในการสนับสนุนพยาบาลวิชาชีพได้เพิ่มพูนสมรรถนะ และสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าผ่านการบริการพยาบาลสู่ผู้ป่วยและประชาชน</p> อุไรพร จันทะอุ่มเม้า, นครินทร์ สุวรรณแสง, ศุภิสรา พลครุธ, วิภา ตุนาค Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270349 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ในโรงพยาบาลทั่วไป https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270380 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>ภาวะตกเลือดหลังคลอด เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของมารดาทั่วโลก การประเมินปัจจัยเสี่ยงร่วมกับการดูแลทางสูติศาสตร์อย่างเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาจากผลไปหาเหตุ (case-control study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดภายใน 2 ชั่วโมงแรก&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนของผู้คลอด จำนวน 274 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด จำนวน 72 ราย และไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด จำนวน 202 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนและฐานข้อมูลของโรงพยาบาล เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางสูติศาสตร์ และข้อมูลผลลัพธ์ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Fischer’s exact test และ Multiple logistic regression</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: ผลการศึกษา case control ครั้งนี้ พบอุบัติการณ์ตกเลือดหลังคลอดภายใน 2 ชั่วโมงแรก จำนวน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;72 คน (ร้อยละ 2.2) และไม่ตกเลือดหลังคลอดจำนวน 202 ราย (ร้อยละ 97.8) ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด ภายใน 2 ชั่วโมงแรก คือ การฉีกขาดช่องทางคลอดระดับ First degree tear (OR 0.23; 95%CI 0.069-0.813, p = .022) ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดภายใน 2 ชั่วโมงแรก ได้แก่ การตั้งครรภ์ <u>&gt;</u> 3 ครั้ง (OR 3.60; 95%CI 1.191-10.899, p = .023) และการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์&nbsp;&nbsp;&nbsp; การฝากครรภ์คุณภาพ (OR 2.22; 95%CI 1.017-4.876, p = .045)</p> กฤษฏิ์กุล ตาคำ, ศรีสุดา อัศวพลังกูล, มงคล สุริเมือง Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270380 Wed, 10 Apr 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในโรงพยาบาลสุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270426 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยเชิงผสมนี้ (Mixed methods research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การบริหารจัดการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โรงพยาบาลสุรินทร์ (2) ประเมินผลการบริหารจัดการ และ (3) พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการบริการพยาบาลเพื่อรองรับการเกิดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ดำเนินการ 3 ระยะ คือ (1) ศึกษาสถานการณ์ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารทางการแพทย์และการพยาบาล (2) ประเมินผลการบริหารจัดการ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และความพึงพอใจของผู้ป่วย และ (3) พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการบริการพยาบาลเพื่อรองรับการเกิดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และทดลองใช้บนโต๊ะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ภายใต้กรอบแนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ (6 BB) และ CIPP model</p> <p>ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบว่า งานด้านบริการจัดเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย การจัดอัตรากำลังที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน การใช้ระบบสารสนเทศในการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถเพิ่มหรือลดการให้บริการที่เหมาะสม ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ทางการแพทย์ การมีงบประมาณเพียงพอ และได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน &nbsp;ผู้บริหารให้ความสำคัญกับบุคลากร รวมถึงการให้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน &nbsp;ระยะที่ 2 ผลการประเมินการบริหารจัดการบริการพยาบาลในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (Mean 3.76, SD 0.87) บุคลากรมีความพึงพอใจในระดับมาก (Mean 3.68, SD 0.76) และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (Mean 4.63, SD 0.52) ระยะที่ 3 &nbsp;ได้แนวทางการบริหารจัดการบริการพยาบาลเพื่อรองรับการเกิดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ประกอบด้วย 1) การให้บริการ 2) กำลังคนด้านสุขภาพ 3) ระบบสารสนเทศ 4) ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ วัคซีน เทคโนโลยีด้านภาพ 5) การบริหารจัดการงบประมาณ/การเงินการคลัง 6) ภาวะผู้นำ/การอภิบาลระบบ</p> วัชชรีภรณ์ รัตรสาร, สิริกุล พิพิธแสงจันทร์, ปาริชาต หาญมานพ Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270426 Fri, 12 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเลย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270467 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง คือ (1) หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ 24 คน และ (2) ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ 60 คน ดำเนินการ 3 ระยะ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบ และ (3) ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของพยาบาล (2) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย (3) แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ (4) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ (5) แบบติดตามการปฏิบัติและผลลัพธ์ (6) แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติของพยาบาล (7) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบฯ (8) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม (9) แนวคำถามการประชุมกลุ่มแบบ focus group และ (10) แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ครอนบาคอัลฟาของเครื่องมือลำดับที่ (3), (5), (7) มีค่าเท่ากับ .80, .70, และ.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ และค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ประกอบด้วย (1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ (2) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล (3) คู่มือการใช้กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ&nbsp; และ (4) แผนการนิเทศทางการพยาบาล&nbsp; ผลลัพธ์ด้านพยาบาล พบว่า หลังใช้รูปแบบฯ พยาบาลมีสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) ร้อยละ 95.8 มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก และมีความสามารถในการใชแนวปฏิบัติ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พบว่า อัตราการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจลดลงจาก 9.5 เป็น 0.0 อัตราการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 8.3 เป็น 0.0 ต่อ 1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 3.4 เป็น 2.8 วัน และวันนอนเฉลี่ยในหอผู้ป่วยลดลงจาก 6.7 เป็น 4.9 วันอย่างมีนัยสำคัญที่ .001</p> วนิดา เคนทองดี , อรอุมา แก้วเกิด, สุพัตรา กมลรัตน์, ปิยนันท์ แสนสมบัติ Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270467 Tue, 16 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาต่อความปวดในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270468 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experiment) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง (One group Pretest-posttest design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความปวด คุณภาพชีวิตก่อนและหลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษา และความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย โรงพยาบาลชลบุรี โดยใช้แนวคิด เรื่อง ความปวดในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย คุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก และความพึงพอใจของ VROOM กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่คลินิกระงับปวด และคลินิกกัญชาทางการแพทย์ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 15 ราย เครื่องมือ คือ แบบประเมินความปวดเรื้อรัง (Score for Chronic Pain Thai’s version: SPAASMS) แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (EQ-5D-5L) และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยหรือญาติต่อการจัดการความปวดหลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษา ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าอัลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.63, 0.77 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ (Repeated Measure ANOVA)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ระดับความปวดเรื้อรังและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายก่อนและหลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) โดยผู้ป่วยมีระดับความปวดเรื้อรังลดลง มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 8 และมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (Mean 4.81, SD 0.27)</p> นิภัสสรณ์ บุญญาสันติ, ปรียพัศ พรประเสริฐ, สุนิสา จุลรอด Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270468 Tue, 16 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่านของมารดาต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลทารกที่เกิดก่อนกำหนด และน้ำหนักน้อยมาก ที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270605 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่านของมารดาต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลทารกที่เกิดก่อนกำหนด และน้ำหนักน้อยมาก ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน &nbsp;22 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 11 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่านของมารดา เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดา (2) &nbsp;แบบประะเมินความรู้เรื่องการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยมาก ค่า CVI เท่ากับ 0.90 และค่าความเที่ยง KR-20 เท่ากับ 0.90 และ (3) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยมาก ค่า CVI เท่ากับ 0.95 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.92 &nbsp;เครื่องมือทดลอง คือ โปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่านของมารดา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบด้วยสถิติ Mann-Whitney U test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) ดังนั้น โปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่านสามารถนำมาใช้กับมารดาของทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักน้อยมาก ทำให้มารดาสามารถดูแลทารกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม</p> กัลยา เป๊ะหมื่นไวย, จุฑารัตน์ กาฬสินธุ์, ลัดดาพร ปานสูงเนิน, พรรณทิพา ขำโพธิ์, ชนิตา แป๊ะสกุล Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/270605 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700