วารสารกองการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND <p><strong>วารสารกองการพยาบาล Journal of Nursing Division</strong></p> <p><strong>ISSN 2673-0316 (Online)</strong></p> <p> </p> กองการพยาบาล Nursing Division th-TH วารสารกองการพยาบาล 0125-7242 ผลลัพธ์การนำแนวปฏิบัติการป้องกันพลัดตกหกล้มไปใช้ในผู้สูงอายุหลัง ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273224 <p>การวิจัยดำเนินการ (Implementation research) นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการใช้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แนวปฏิบัติการป้องกันพลัดตกหกล้ม วัดผลลัพธ์ด้านการพยาบาล ได้แก่ ความรู้ การปฏิบัติ และความพึงพอใจก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย คือ อุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด จำนวน 30 ราย และพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย จำนวน 21 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวปฏิบัติการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ แบบบันทึกการเกิดเหตุการณ์พลัดตกหกล้ม แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาล&nbsp; ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสังเกตการณ์ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันพลัดตกหกล้ม แบบทดสอบความรู้ในการป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.88, 0.60 และ 0.89 ตามลำดับ &nbsp;วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย one sample t-test และ Z- test</p> <p>ผลการวิจัย: พบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติการป้องกันพลัดตกหกล้ม พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯ มากกว่าร้อยละ 80 พยาบาลมีความรู้ในการป้องกันพลัดตกหกล้มสูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) ความพึงพอใจจากการนำแนวปฏิบัติไปใช้ของพยาบาลสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) และอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มลดลงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p &gt; .05)</p> ศษิกร ศรีสุขเกษม วารินทร์ บินโฮเซ็น น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-19 2024-08-19 51 2 1 12 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการคิดเชิงออกแบบเพื่อการออกแบบทางการพยาบาลต่อทักษะการคิดเชิงออกแบบทางการพยาบาลนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273227 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการคิดเชิงออกแบบ ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 44 คน เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมการส่งเสริมการคิดเชิงออกแบบเพื่อการออกแบบทางการพยาบาล ประกอบด้วย การบรรยาย คลิปวิดีโอ การออกแบบการให้บริการกับผู้รับบริการตามสถานการณ์จำลอง เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบวัดทักษะการคิดเชิงออกแบบทางการพยาบาล&nbsp; มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา มากกว่า 0.67 ทุกข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติการทดสอบ paired sample t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดเชิงออกแบบทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลภายหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการคิดเชิงออกแบบนี้สามารถนำไปใช้ส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการส่งมอบการบริการทางสุขภาพให้กับผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม และตอบสนองต่อปัญหา ความต้องการ และความคาดหวังของผู้รับบริการ</p> จีระวรรณ์ อุคคกิมาพันธุ์ ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ กษิดิศ ครุฑางคะ Copyright (c) 2024 วารสารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-19 2024-08-19 51 2 13 27 การตายดีตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273455 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>มุมมองต่อการตายดีมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกในการดูแลตนเองและผู้ที่อยู่ในการดูแล การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตายดีตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สถาบันการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า 410 ราย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการตายดี ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะของการตายดีตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ (1) การได้รับความเคารพในฐานะบุคคล (2) ความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว (3) การเตรียมตัวก่อนตาย (4) การตายอย่างธรรมชาติ (5) การดำรงไว้ซึ่งความหวังและความสุข (6) การได้รับการรักษาที่เพียงพอ (7) ความรู้สึกว่าชีวิตมีค่า (8) ความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรทางการแพทย์ และ (9) ความพอใจด้านศาสนาและจิตวิญญาณ นอกจากนี้ คุณลักษณะทางเลือกของการตายดี เรียงจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด&nbsp; ได้แก่ (1) การควบคุมอนาคต (2) การตายในสถานที่ที่พอใจ (3) ความสบายของสภาพแวดล้อม (4) การตระหนักรู้ถึงความตาย (5) ความสมบูรณ์ของชีวิต (6) ความเป็นอิสระ (7) ความสุขสบายด้านจิตใจและร่างกาย (8) การไม่เป็นภาระของผู้อื่น และ (9) ความภาคภูมิใจและความสวยงาม ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล เกิดทัศนคติที่ดีต่อความตาย และสามารถให้การดูแลแบบเอื้ออาทรในผู้ป่วยระยะท้ายได้อย่างเหมาะสม</p> ชนุกร แก้วมณี พนัชญา ขันติจิตร ลักขนา ชอบเสียง Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-29 2024-08-29 51 2 28 39 การรับรู้ต่อสถานการณ์การก่อความรุนแรงตามมุมมองของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทชาย ที่เสพแอมเฟตามีนในชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273458 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทชายที่เสพแอมเฟตามีนในชุมชน ใช้วิธีการศึกษาเชิงปรากฎการณ์วิทยา เพื่อทำความเข้าใจการรับรู้ต่อสถานการณ์การก่อความรุนแรงตามมุมมองของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทชายที่เสพแอมเฟตามีนในชุมชน&nbsp; เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การบันทึกเสียง และการจดบันทึกภาคสนามกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 8 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความแบบบรรยายจากการสัมภาษณ์</p> <p>ผลการศึกษา ได้ข้อค้นพบ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความหมายสถานการณ์รุนแรง เป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายกับการถูกทำให้อับอายขาดความน่าเชื่อถือ เอือมระอา ท้อ จากการถูกคำพูดและสายตาคนรอบข้าง ทำให้ไม่กล้าไปขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น (2) สาเหตุปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภทชายที่เสพแอมเฟตามีน คือ การเสพยาบ้ากระตุ้น และขาดยารักษาอาการจิตเวช และ (3) การป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทชายที่เสพแอมเฟตามีน คือ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับผู้ป่วย หาพื้นที่ปลอดภัย ร้องขอความช่วยเหลือจากคนที่ใกล้ชิดในสถานการณ์วิกฤติ และศึกษาช่องทางบริการการรักษาอาการจิตเวชทันที</p> ภาณุรัตน์ ศรีมุงคุล ณัฐกร พิชัยเชิด Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-29 2024-08-29 51 2 40 54 การพัฒนารูปแบบระบบตรวจสอบความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลหัวหิน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273461 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบระบบตรวจสอบความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ดำเนินการ 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 67 คนและผู้รับบริการผ่าตัด 90 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบระบบตรวจสอบความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความยากง่ายในการใช้รูปแบบ แบบวัดความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกข้อมูลความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด&nbsp; ตรวจสอบความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.88 – 0.99 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบระบบตรวจสอบความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำกับดูแล การจัดการตรวจสอบ การกำหนดนโยบาย การมีส่วนร่วมพัฒนา การเพิ่มการเรียนรู้ การมอบหมายหน้าที่ การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย และการทำงานเป็นทีม หลังใช้รูปแบบ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.103 และ t = 9.155, p &lt; 0.05 ตามลำดับ) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 4.61, SD 0.71) และปฏิบัติตามระบบในทุกหน่วยบริการ ร้อยละ 100&nbsp;&nbsp; หลังใช้รูปแบบ ผู้รับบริการผ่าตัดเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ลดลงจาก ร้อยละ 11.11 เป็นร้อยละ 2.22 และอัตราการเลื่อนผ่าตัดจากสาเหตุที่ป้องกันได้ ลดลงจากร้อยละ 3.33 เป็นร้อยละ 2.22 &nbsp;&nbsp;</p> จารุณี ตั้งใจรักการดี Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-29 2024-08-29 51 2 55 74 การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใส สถาบันโรคผิวหนัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273463 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใส กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพเลือกแบบเจาะจง 19 คน และผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใสเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย 68 คน กลุ่มทดลอง 34 คน กลุ่มควบคุม 34 คน ดำเนินการ 4 ระยะ คือ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบ (3) ทดลองใช้ (4) ประเมินผล เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) แนวทางการสัมภาษณ์ (2) แบบฟอร์มวิเคราะห์ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (3) แบบบันทึกการระดมสมอง (4) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (5) แบบวัดความรู้เรื่องโรคตุ่มน้ำพองใส (6) แบบวัดความรู้และความเข้าใจหลักความรอบรู้ด้านสุขภาพ (7) แบบวัดความรู้ของผู้ป่วย (8) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ (9) แบบวัดคุณภาพชีวิต (10) แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจสอบความเที่ยงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .76, .67, .72, .96, .85, และ .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย t-test,&nbsp; Wilcoxon signed ranks test และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย (1) การกำหนดนโยบายและสมรรถนะของพยาบาล (2) ความรู้ด้านโรคและการเข้าถึงบริการ (3) การกำกับตนเอง และ (4) การสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคม ผลลัพธ์ด้านพยาบาล พบว่า พยาบาลมีความรู้เรื่องโรค และหลักการความรอบรู้ด้านสุขภาพก่อนและหลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt;.05)&nbsp; ด้านผู้ป่วย พบว่า มีความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt;.05) ยกเว้นคุณภาพชีวิต ด้านคลินิก พบว่า กลุ่มทดลองมีอาการระดับเล็กน้อยลดลงจากร้อยละ 76.50 เป็นร้อยละ 38.20 และไม่มีอาการเพิ่มจากร้อยละ 11.18 เป็นร้อยละ 61.80 ไม่พบอัตราการมาตรวจซ้ำและเข้ารับการรักษาซ้ำ (Re-visit และ Re-admit)</p> พสิษฐ์ เงางาม พรรณทิพย์ โพธิ์รัตน์พิทักษ์ สิรินทิพย์ ทองขาว อิงลดา ศรีโภคา ภัควัฒน์ บุญเจริญธนพงษ์ Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-29 2024-08-29 51 2 75 88 รูปแบบการพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่รักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องในหอผู้ป่วยหนักสถาบันโรคทรวงอก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273467 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพใน การดูแลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่รักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง (CRRT) ในหอผู้ป่วยหนัก ดำเนินการ 3 ระยะ (1) ศึกษาสภาพปัญหา (2) พัฒนา และทดลองใช้รูปแบบฯ (3) ประเมินผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยหนัก 36 คน และผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่รักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องในหอผู้ป่วยหนัก จำนวน 11 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่รักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องในหอผู้ป่วยหนัก &nbsp;เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ แบบสอบถามการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินการใช้รูปแบบ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่า IOC เท่ากับ 0.8-1.0 และค่าความเที่ยง 0.78, 0.95 และ 0.94 &nbsp;ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon signed ranks test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบฯ มี &nbsp;2 องค์ประกอบ คือ (1) ความรู้ ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้ผ่านระบบพี่เลี้ยง การศึกษาคู่มือ และ (2) การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วย การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน (On-the-Job Training) การสอนสาธิตผ่านเครื่องมือ หรืออุปกรณ์สาธิต&nbsp; การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ พบว่า คะแนนความรู้ และ การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วย CRRT เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .001) การคืนเลือดได้ก่อนชุดสายนำเลือดอุดตัน ร้อยละ 100 และไม่พบการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ</p> น้ำฝน ขัดจวง อรสา ไพรรุณ นวรัตน์ สุทธิพงศ์ ภัทรชยา สวัสดิ์วงษ์ ยูงทอง นาทมนตรี มลฤดี สิงหล Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-29 2024-08-29 51 2 89 102 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกันของวัยรุ่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/273468 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์และวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน ซึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทยเป็นปัญหาสาธารณสุขเช่นเดียวกับทั่วโลก เนื่องจากอัตราป่วยรายใหม่มีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญพบว่าวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี มีอัตราป่วยสูงที่สุด สาเหตุการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่า วัยรุ่นมีการใช้สื่อ Social media platform ในช่องทางต่างๆ เพื่อหาเพื่อน หาแฟน รวมถึงการสร้างรายได้จากสื่อออนไลน์ ทั้งนี้ พบว่าแอพลิเคชั่นหาคู่ออนไลน์ เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น โดยวัยรุ่นมักมีค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความจริงใจ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สูงขึ้น</p> <p>การแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมควบคุมโรค จึงกำหนดนโนบายระดับประเทศในการยุติการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร้ายแรงในปี 2573 โดยมีมาตรการในการสนับสนุนให้วัยรุ่นมีความรู้ความสามารถที่ถูกต้องในการป้องกันตนเอง สนับสนุนการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ในการคัดกรองโรคและการป้องกันโรค รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการสื่อสาร การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเข้ารับบริการถุงยางอนามัย และการให้คำปรึกษาปัญหาเรื่องเพศที่สะดวกต่อวัยรุ่นอย่างเป็นมิตรและเท่าเทียม เพื่อให้วัยรุ่นสามารถดูแลตนเองได้และลดอัตราป่วยรายใหม่ได้ต่อไป</p> เอกกวี หอมขจร คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์ Copyright (c) 2024 วารกองการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-29 2024-08-29 51 2 103 117