ธรรมาภิบาลขององค์กรพยาบาลโรงพยาบาลสงฆ์: จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ

Main Article Content

ดุษฎี ใหญ่เรืองศรี
พรชัย า เทพปัญญ
พิทักษ์ ศิริวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ สังเคราะห์สภาพปัญหา และสภาพสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการนำยุทธศาสตร์ธรรมาภิบาลสู่การปฏิบัติ  (2) วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการนำยุทธศาสตร์ธรรมาภิบาลสู่การปฏิบัติ และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำยุทธศาสตร์ธรรมาภิบาลที่เหมาะสมขององค์กรสู่การปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และ การสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลสงฆ์ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและคัดเลือกยุทธศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วย (1) SWOT 7S-Mckinsey เทคนิคการจับคู่ TOWS Matrix  เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR การวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ (2) การเสวนาเชิงสร้างสรรค์


ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อธรรมาภิบาลขององค์กรพยาบาลจากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย: (1) การมุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กรพยาบาลที่เน้นคุณธรรมนำคุณภาพทำให้ผู้รับบริการคาดหวังผลลัพธ์การรักษาพยาบาลสูง (2) ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อธรรมาภิบาล ได้แก่ โครงสร้างองค์การใหม่ การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย ความก้าวหน้าทางวิชาการ และการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายจากกรมการแพทย์ โรงพยาบาลสงฆ์ คุณภาพการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานสภาการพยาบาล และมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ (3) ธรรมาภิบาลขององค์กรพยาบาล จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก: 3.1) สร้างความเข้มแข็งด้านการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย  3.2) พัฒนาระบบบริหารจัดการและการดูแลพระสงฆ์ภายใต้หลักธรรมาภิบาล  3.3) สร้างองค์กรพยาบาลเป็นองค์การสมรรถนะสูง และมีความเชี่ยวชาญระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3.4) การสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวสามารถนำธรรมาภิบาลขององค์กรพยาบาลจากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติได้ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้พระสงฆ์สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดี และพุทธศาสนายั่งยืน

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

1. Dusadee Y. Good Governance in Perception of Register Nurses’ the Priest Hospital 2015. Nursing management committee, the Priest Hospital. Routine to
Research; 2559. Thai.

2. Thawinvadee B. Good Governance: Principles for new public administration. Journal of King Prajadhipok's Institute. 2013;1(2):8-15. Thai.

3. Thawinvadee B, Wisit, C Tosatham: Indicator of Good Governance. Bangkok: Thammada Printing Press; 2015. Thai.

4. Office of the Public Sector Development Commission (OCSC). A guide to the level of supervision of government organizations according to principles Good
governance of city management (Good Governance Rating). Bangkok: Premier Pro; 2009. Thai.

5. Best J W. Research in education. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall, Inc;1986.

6. Chai P. Science and Art of Research, Qualitative. 5th ed. Bangkok: Amarintara Printing and Publishing; 2011. Thai.

7. Thanin S. Research and Statistic of Analysis SPSS, 4th ed. Bangkok: V Inter Printing; 2005. Thai.

8. Chumpol P. Future Research. Journal of Methodology. 1996;1(1):22-4. Thai.

9. Weelen, TL, Hunger JD. Strategic Management and Business Policy. 8th ed. New Jersey: Prentice – Hall; 2002.

10. Porter ME. Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competitors. New York: The free press.;1980.

11. Hunger DL, Wheelen TL. Strategic Management and Business Policy. 11th ed. New Jersey: Prentice – Hall; 2008.

12. Pornchai D. Strategic Development of Private Hospital to be Corporate Governance. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2015;8(3). Thai.