ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยาต่อพฤติกรรมการรับประทานยาและความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

Effects of Family Participation Program in Medication Management on Drug Consumption Behavior and Blood Pressure in Patients with Hypertension

ผู้แต่ง

  • ทัพพ์ขวัญ ศรีสัตยาวงศ์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
  • จุฑาพงศ์ เตชะสืบ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
  • ดาว เวียงคำ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
  • ประเสร็ฐ คำอ้าย มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของครอบครัว, การจัดการยา, พฤติกรรมการรับประทานยา, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยาต่อพฤติกรรมการรับประทานยา และความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นครอบครัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 66 ครอบครัว ใช้ระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ โดยแบ่งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 33 ครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การตัดสินใจ 2) การปฏิบัติการ 3) การรับประโยชน์ร่วมกัน และ 4) การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที

          ผลการวิจัยของกลุ่มทดลองพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .01 ค่าเฉลี่ยความดันซีสโตลิกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยาลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ p< .01 และค่าเฉลี่ยความดันไดแอสโตลิกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยาลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p< .01 )           ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยาส่งผลให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการรับประทานยาที่ดีขึ้นและส่งผลต่อค่าความดันโลหิตลดลง ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนให้นำโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการยาไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลด้านการใช้ยาอย่างเหมาะสมต่อไป

References

REFERENCES
1. World Health Organization (WHO). Hypertension [Internet]. Switzerland ; 2019. [cited
019/8/5] Available from: https://www.who.int/health-topics/hypertension/.
2. Information and Communication Office of the Permanent Secretary. Public health services. Incidence Rate of Cardiovascular disease [Internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health; [cited 2018/2/26] Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/ index_pk.php (in Thai)
3. Thai Hypertension Society. Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension.
[Internet]. bangkok ; 2019 [cited 2019/9/20]. Available from: http://www.thaihypertension .org/files/HT%20guideline%202019.with%20watermark. pdf (in Thai)
4. Poophalee, T., Koonsawat, C., Phuradchaphon, T., Srisaknok, T., Explanations and Handling of Unused Medicines in Patients with Type 2 Diabetes and Hypertension: a Case of a Community at Ubon Ratchathani. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2018;10(1):3-13
5. Sadoyoo S, Jirapreeya N, Treesak C, Sangjam P. Leftover Medications in Patients with
Chronic Diseases from Home Health Care Visits: A Community Study in Bangkok. Dialogue on Pharmacy and Health Care Practice. 2014;1:1-7
6. Sujamnong S, Therawiwat M, Imamee N. Factors Related to Self-Management of
Hypertensive Patients, Taladkwan District Health Promoting Hospital, Nonthaburi Province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2013; 29(2): 20-30.
7. Sallis, J. F., & Owen, N. Ecological models of Health Behavior. Health Behavior and health
Education. 3rd. San Francisco; 2002
8. Catherine S, James C. C, Richard S. L. The Health-Related Functions of Social Support.
Journal of Behavioral Medicine. 1981;4(4):381-405
9. Thamnamsin K, Amnatsatsue K, Kerdmongkol P, Artsanthia J. Effects Of Self-Care
Promoting Program on Self-Care Agency and Self-Care Behavior among Older Adults with Uncontrolled Hypertension in Bangkok Metropolitan. Journal of Public Health Nursing. 2015; 29(2): 43-55
10. Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. Rural . Development Participation : Concept and
Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies; Cornell University; 1981
11. Polit, D.F. and Beck, C.T. Nursing Research: Principles and Methods. 7th. Philadelphia:
Lippincott Williams & Wilkins; 2004.
12. Waltz, C.F., Strickland, O. and Lenz, E. Measurement in Nursing and Health Research. 3rd.
New York: Springer Publishing Company; 2005.
13. Yuychim P, Niratharadorn M, Siriumpunkul P, Buaboon N. Effects of a Family Participation
Program in Managing Drug Managing Drug Use Behaviors among older Adults with Chronic Disease in Phun Phin Community. Journal of public Health. 2018;48(1):44-56
14. Suwanseep, S., Ratnakarn, N., Vanitmanee, K., Panuwatsuk, P., Prasarntong, N., editors.
Guideline Social and Psychological Care of the Elderly, to Prevent Mental Health Problems. 4th Nontaburi : Division of Mental Health Promotion and Development. Ministry of Public Health ; 2013
15. Chobanian, A. V., Bakris, G. L., Black, H. R., Cushman, W. C., Green, L. A., Izzo, J. L.Wright, J.T.The Seventh Report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure: the JNC 7 report. 2017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย