ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกระดูกขาหักชนิดปิด ที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน

Factors Related to Coping Difficulties after Hospitalization in Patients with Closed Leg Fracture Undergoing Open Reduction Internal Fixation Surgery

ผู้แต่ง

  • ธรณัส ปิยะกุล นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นิภาวรรณ สามารถกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เขมารดี มาสิงบุญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล, การรับรู้ความพร้อมก่อน จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล, อาการปวด, ความวิตกกังวล, ผู้ป่วยกระดูกขาหักชนิดปิด ที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน

บทคัดย่อ

  บทคัดย่อ

ความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล มีผลต่อการฟื้นหายอย่างสมบูรณ์ของผู้ป่วยกระดูกขาหักชนิดปิดที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล อาการปวด และความวิตกกังวล กับความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกระดูกขาหักชนิดปิดที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายในที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 84 ราย สุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดช่วงเวลาและเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แบบสอบถามความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล แบบประเมินอาการปวด และแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82, .80, .87 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลระดับสูง                      (M = 162.98, S.D. = 25.86) อาการปวดระดับต่ำ (M =1.9, S.D. =1.29) ความวิตกกังวลระดับต่ำ       (M =28.69, S.D. = 5.57) ความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลในระดับต่ำ         (M = 23.7, S.D. =12.19) และพบว่าความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.34) นอกจากนี้อาการปวด และความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .58 และ r = .57 ตามลำดับ) 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27