การศึกษาปัจจัยที่มีผลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ชญาดา อินยอด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ้าน ในตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่ยังปฏิบัติงานและ        รับค่าป่วยการจากแอพพลิเคชั่นสมาร์ท อสม. ในตำบลด่านทับตะโกในระยะเวลาตั้งแต่ปี 2565 - 2566 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 250 คน ที่ยังปฏิบัติงานและรับค่าป่วยการจากแอพพลิเคชั่นสมาร์ท อสม. ในตำบล ด่านทับตะโก ในระยะเวลาตั้งแต่ ปี 2565 - 2566 ( ณ วันที่ 15 มีนาคม 2566)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น ข้อคำถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ


               ผลการวิจัยพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี   โดยปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (p-value < 0.001, β = 0.564) ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในการปฏิบัติงาน (p-value <0.001, β = 0.198) การรับรู้บทบาทหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (p-value < 0.001,    β = 0.186)  และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (p-value < 0.001, β = 0.035) ตามลำดับ จากผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไปใช้ในแนวทางในการพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีความทันสมัย ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำงานอย่างมีความสุข และเพื่อประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและสูงสุด


 


คำสำคัญ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน


 


ผู้ให้การติดต่อ : ( e-mail ; [email protected] เบอร์โทรศัพท์ 081-9417289 )


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจากอสม. สู่ อสค.

กรุงเทพฯ: โอ-วิทย์ (ประเทศไทย).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ.

นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2554. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข ;2566 [เข้าถึง

เมื่อ 9 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://rbr.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

กองสนับสนุนสุขภาพภาพประชาชน. (2562). ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน: ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562, จาก http://www.thaiphc.net/new2020/content/1

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมิน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

และพฤติกรรมสุขภาพ. (อินเตอร์เน็ต). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560), เข้าถึงได้

จากhttps://www.scribd.com/document/linkhed-pdf.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ .การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy).นนทบุรี:กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2558.

กองสุขศึกษา. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส.ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561.

(อินเทอร์เน็ต).กรุงเทพ,2560. (เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2560), เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/333.2561.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้

ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ.นนทบุรี:กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข.

กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม สศช.ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.แผนภูมิเส้นความยากจน สัดส่วนคนจน จำนวนคนจน ของ

ประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 24 ปี (พ.ศ. 2531 – 2563) .สำนักงานสถิติแห่งชาติ ;2563,เข้าถึงได้จาก

https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific/karldkhwamyakcnaelaprabprungkhwamethaethiiyminpraethsithy

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง.(2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพ:อมรินทร์; 2561.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และ นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและ

โรคความดันโลหิตสูง.นนทบุรี:กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2558

ทรรศนีย์ บุญมั่น.(2564).ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

นเรศวร.งานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

นิสา ปัญญา.ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอสม.หมอประจำบ้านเขตสุขภาพที่ 10. ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่

อุบลราชธานี.2563,เข้าถึงได้จาก https://moph.cc/0KTMK5aka

นาถยา ขุนแก้ว. (2564).ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ของอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) จังหวัดศรีสะเกษ.รายงานวิจัย:2564

เบญจวรรณ บัวชุ่ม.(2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัด

เชียงราย.วารสารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ;2563

ประพันธ์ เข็มแก้ว และ นิกรณ์รัตน์ ภักดีวิวัฒน์. (2564 ). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มวัยทำงานในเขตจังหวัดพิจิตร.

รายงานวิจัย:2564

ปราโมทย์ ดวงเลขา. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคมและสิ่ง

แวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ระพีพรรณ ฉลองสุข, การกำหนดขนาดตัวอย่าง sample size. คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร /โรงพิมพ์ ม.ศิลปากร: ม.ป.ท. 2552

วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากร กรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่

ประเทศไทย; 19 มกราคม 2561.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. แพทย์นาวี, 44(3), 183-197.

สมจิต หนุเจริญกุลและคณะ (2539). การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:วี.เจ.พริ้นติ้ง. พาแลงค์ ( Palank,1991 : 818)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ; 2560.

สำเริง แหยงกระโทก. (2562). นโยบายรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

อารีย์ แร่ทอง. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์

จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 62-70.

อำนวย เนียมหมื่นไวย. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงาน

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 14(2), 78-92.

Goto, E., Ishikawa, H., Okuhara, T., & Kiuchi, T. Relationship of health literacy with utilization of health-care services in a general

Japanese population. Preventive medicine reports, 2019; 14, 100811.

Jordan, J. E., Buchbinder, R., & Osborne, R. H. (2010). Conceptualising Health Literacy from the Patient Perspective. Patient education

and counseling, 79(1), 36-42.

Mancuso, J. M. Assessment and measurement of health literacy: an integrative review of the literature. Nursing & health sciences 2009;

(1), 77-89.

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Switzerland: 1998.Division of Health Promotion, Education and

Communications, Health Education and Health Promotion Unit.