https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/issue/feed วารสารสหเวชศาสตร์และสุขภาพชุมชน (Online) 2025-01-11T22:12:06+07:00 ดร.สฤษดิ์ ผาอาจ sarit@yala.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เป็นวารสารวิชาการราย 4 เดือน มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ขอเชิญท่านที่สนใจส่งบทความวิจัย&nbsp; บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทความปริทัศน์หนังสือ สารคดี ด้านสหเวชศาสตร์ ด้านการสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพ การเรียนการสอน หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/276526 การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2025-01-11T22:12:06+07:00 ไมตรี ไทยอ๋อง ongthai๓๓๔๕@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชนพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 375 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2567 โดยใช้แบบประเมินภาวะเปราะบาง Edmonton Frail scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 238 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.5 มีอายุ 60-69 ปี จำนวน 155 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.3 ส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา จำนวน 263 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.1 มีสถานภาพสมรส จำนวน 268 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.5 และยังทำงาน จำนวน 193 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.5 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.9 และส่วนใหญ่อยู่อาศัยกับคู่สมรสและลูกหลาน จำนวน 158 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.1 ไม่มีประวัติหกล้มจำนวน 345 ราย คิดเป็นร้อยละ 92 และไม่มีข้อเข่าเสื่อม จำนวน 287 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 มีความชุกของภาวะเปราะบาง คิดเป็นร้อยละ 13.6 และพบว่า อายุ สถานภาพสมรส การทำงาน รายได้ การอยู่อาศัย การหกล้ม และภาวะข้อเข่าเสื่อม เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; 0.05)</p> <p>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีส่วนสำคัญในการกำหนดภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากขึ้น สถานภาพทางเศรษฐกิจต่ำ และมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง มีแนวโน้มที่จะมีภาวะเปราะบางสูง ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุต่อไป</p> 2025-01-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/276519 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2025-01-11T17:31:29+07:00 ศศิพัชร์ รองสวัสดิ์ suwanrat.su@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเมินประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพดังกล่าว โดยกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 355 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล รองลงมาคือ ด้านมาตรการในการดำเนินงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความถูกต้องครบถ้วน รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบและติดตาม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความคุ้มค่าของค่าใช้จ่าย/ต้นทุน และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ด้านบุคคล ด้านการให้บริการ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> 2025-01-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/276521 ผลการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติ 2025-01-11T17:50:23+07:00 จุฬามณี คุณวุฒิ saritpa@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลต่อผลการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลชุมชนหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมซึ่งเป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งสิ้นจำนวน 539 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนี IOC (ความตรงของเนื้อหา) เท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และผลการศึกษาปรากฏดังต่อไปนี้</p> <ol> <li class="show">ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลชุมชนหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมที่มีหน้าที่รับผิดชอบการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาลระดับ F2 (ร้อยละ 50.28) รองลงมาคือ โรงพยาบาลระดับ M2 (ร้อยละ 11.69)</li> <li class="show">ความคิดเห็นของพยาบาลต่อการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก <strong>(</strong>= 3.90, S.D. = 0.60) โดยเห็นด้วยมากที่สุดในหัวข้อ “กระบวนการบริการพยาบาลในรูปแบบการบริการพยาบาลเชิงรุกในชุมชนของการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว สามารถปฏิบัติได้</li> </ol> <p>&nbsp;(= 4.11, S.D. = 0.62)<strong>” </strong>และเห็นด้วยน้อยที่สุดในหัวข้อ “ปัจจัยนำเข้าด้านการเงิน ของการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว สามารถปฏิบัติได้ <strong>(</strong>= 3.43, S.D.= 0.73)”</p> <ol start="3"> <li class="show">ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว สู่การปฏิบัติมีดังนี้ <strong>1) </strong>สามารถปฏิบัติได้ อาจต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ <strong>2) </strong>การจัดบริการต้องขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่เป็นหลัก <strong>3) </strong>นำไปใช้ได้จริงแต่ต้องบูรณาการกับบริบทของแต่ละพื้นที่ <strong>4) </strong>โครงสร้างและสถานที่จัดบริการ <strong>PCC </strong>ควรมีการเตรียมความพร้อมทุกที่ก่อนเปิดให้บริการ <strong>5) </strong>ควรมีการจัดประชุมเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวอย่างต่อเนื่อง <strong>6) </strong>ควรจัดสรรเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ เหมาะสมและอุปกรณ์เครื่องมือ ถ้าหากมีการจัดสรรที่เป็นไปตามคู่มือ จะทำให้งานดำเนินไปด้วยดี ชุมชนจะได้ประโยชน์อย่างมาก</li> </ol> 2025-01-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/276522 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการเกิดปัญหาภัยธรรมชาติและสุขภาพชุมชนในประเทศไทย 2025-01-11T18:05:28+07:00 พิทักษ์พล พิธาคำ saritpa@gmail.com <p>ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากหลายประเทศได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย แม้ว่าปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ แต่สำหรับคนไทยเองหลายคนยังไม่เข้าใจและมีความสับสนอยู่ไม่น้อย</p> <p>ในบทความนี้จึงพิจารณาให้เห็นถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อต่อการเกิดปัญหาภัยธรรมชาติและสุขภาพชุมชน และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทย &nbsp;ได้วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเกิดภัยธรรมชาติและสุขภาพของชุมชน และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหา โดยจุดมุ่งหมายหลักของบทความนี้คือการสร้างความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้และการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการรับมือกับปัญหานี้ โดยมุ่งเน้นที่การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่ประชาชนทั่วไป การชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในบริบทของประเทศไทยและการสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ</p> 2025-01-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/276524 บทบรรณาธิการ 2025-01-11T21:32:55+07:00 สฤษดิ์ ผาอาจ sarit@yala.ac.th 2025-01-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/276513 สภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน กับการสร้างมาตรฐานแห่งความเป็นมืออาชีพ 2025-01-11T16:24:36+07:00 รศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดีศกุล sarit@yala.ac.th 2025-01-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา