วารสารสหเวชศาสตร์และสุขภาพชุมชน (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH <p>วารสารสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เป็นวารสารวิชาการราย 4 เดือน มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ขอเชิญท่านที่สนใจส่งบทความวิจัย&nbsp; บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทความปริทัศน์หนังสือ สารคดี ด้านสหเวชศาสตร์ ด้านการสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพ การเรียนการสอน หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา</p> <p>&nbsp;</p> [email protected] (ดร.สฤษดิ์ ผาอาจ) [email protected] (ดร.สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์) Mon, 19 Feb 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 COVID-19 หน้าต่างแห่งโอกาสเพื่อการปฏิรูประบบสาธารณสุขและบริการสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268848 นพ.ชูชัย ศรชำนิ Copyright (c) 2024 วารสารสหเวชศาสตร์และสุขภาพชุน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268848 Wed, 07 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเชื่อมโลหะในช่างเชื่อมโลหะ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268850 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตราความชุกและปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพในช่างเชื่อมโลหะจำนวน 116 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มีการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล อาการป่วยที่สัมพันธ์กับการทำงาน ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพ และ ภาวะคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.9 โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่าช่างเชื่อมโลหะส่วนใหญ่ ร้อยละ 98.3 มีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยพบอาการปวดบั้นเอว ร้อยละ 93.1 รองลงมาคืออาการปวดหลัง ร้อยละ 92.2 &nbsp;และปวดหัวไหล่ ร้อยละ 83.6 ตามลำดับ ส่วนความผิดปกติทางตาและการมองเห็น พบร้อยละ 95.7 โดยมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล ร้อยละ 83.6 รองลงมาคือ ปวดตา ตาพร่ามัว ร้อยละ 82.8 และ ตาแดง แสบตา ร้อยละ 70.7 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบความผิดปกติด้านระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ78.4 โดยส่วนใหญ่มีอาการคันคอ ไอ เสียงแหบ ร้อยละ 90.3 รองลงมาคือ อาการระคายเคืองจมูกและลำคอ ร้อยละ 57.8 และ อาการหายใจขัด หอบเหนื่อยง่าย ร้อยละ 23.3 ตามลำดับ อุบัติเหตุจากการทำงานพบร้อยละ 12.9 ซึ่งช่างเชื่อมโลหะร้อยละ 89.7 มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และมีเพียงร้อยละ 10.3 ที่ไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการศึกษาพบว่าปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานพบมากในกลุ่มช่างเชื่อมโลหะซึ่งการให้ความรู้ในส่วนของสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เหมาะสมอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานลดอันตรายจากการทำงานได้</p> ชมพูนุช สุภาพวานิช, เจียระไน แย้มมีศรี, อัญชลี พงศ์เกษตร Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268850 Wed, 07 Feb 2024 00:00:00 +0700 ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะกล้าถาดข้าว ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268852 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะกล้าถาดข้าว ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ดำเนินเก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.50 อายุระหว่าง 18 – 75 ปี มีอายุเฉลี่ย 45.74 ปี สถานภาพสมรส คู่มากที่สุด ร้อยละ 70.00 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 58.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 8,001 – 11,000 บาท ร้อยละ 36.25 ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 6,181.25 บาท) ด้านความรู้โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">&nbsp;= 12.15, SD = 2.38) ร้อยละ 78.90 ด้านทัศนคติโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 30.89, SD = 3.78) ร้อยละ 88.60 และด้านการปฏิบัติตนโดยรวม อยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 50.75,SD =3.99) ร้อยละ 90.00</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมในด้านความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง มีการติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเพิ่มการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม</p> พิชัย ชำนาญชลเจริญ, อิทธิพล ดวงจินดา, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268852 Wed, 07 Feb 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268860 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมรียเขต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยง โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากแนวคิด Breckler (1986) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ขอมูลโดยสถิติพรรณนาและสถิติ Paired Sample T-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=0.77, SD=0.08), 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3 อ 2 ส ในภาพรวมทุกด้าน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.02, SD=0.14), 3) ค่าความดันโลหิตตัวบน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=141.92, SD=6.51), และระดับความดันโลหิตตัวล่าง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=77.77, SD=9.21) ดีขึ้นกว่าก่อนการใช้โปรแกรม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของตนเอง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้</p> นฤมล ละครสี Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/268860 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยที่มีผลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/269153 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;</strong>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ้าน ในตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่ยังปฏิบัติงานและ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รับค่าป่วยการจากแอพพลิเคชั่นสมาร์ท อสม. ในตำบลด่านทับตะโกในระยะเวลาตั้งแต่ปี 2565 - 2566 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 250 คน ที่ยังปฏิบัติงานและรับค่าป่วยการจากแอพพลิเคชั่นสมาร์ท อสม. ในตำบล ด่านทับตะโก ในระยะเวลาตั้งแต่ ปี 2565 - 2566 ( ณ วันที่ 15 มีนาคม 2566) &nbsp;เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น ข้อคำถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน &nbsp;มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน &nbsp;ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี&nbsp; &nbsp;โดยปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (p-value &lt; 0.001, β = 0.564) ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในการปฏิบัติงาน (p-value &lt;0.001, β = 0.198) การรับรู้บทบาทหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (p-value &lt; 0.001, &nbsp;&nbsp;&nbsp;β = 0.186) &nbsp;และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (p-value &lt; 0.001, β = 0.035) ตามลำดับ จากผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไปใช้ในแนวทางในการพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีความทันสมัย ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำงานอย่างมีความสุข และเพื่อประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและสูงสุด</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:</strong> ความรอบรู้ด้านสุขภาพ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>ผู้ให้การติดต่อ </strong><strong>: ( e-mail ; </strong><a href="mailto:[email protected]%20เบอร์">[email protected] เบอร์</a>โทรศัพท์ 081-9417289 )</p> <p>&nbsp;</p> ชญาดา อินยอด Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JAHSCH/article/view/269153 Mon, 19 Feb 2024 00:00:00 +0700