[Retracted Article] การตรวจตำแหน่งสนิปด้วยการประยุกต์ใช้วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบเวลาจริงร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์การคลายเกลียวของสายดีเอ็นเอ เพื่อระบุชนิดของพืชสมุนไพร

ผู้แต่ง

  • Teerawat Boonsom Eastern Asia University

คำสำคัญ:

การตรวจตำแหน่งสนิป, วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบเวลาจริง, เทคนิคการวิเคราะห์การคลายเกลียวของสายดีเอ็นเอ, ระบุชนิดของพืชสมุนไพร

บทคัดย่อ

การใช้วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบเวลาจริงนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยการคลายเกลียวของสายดีเอ็นเอ จะส่งผลให้การตรวจสอบสมุนไพรมีความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและเป็นวิธีที่ทำได้จำนวนมาก ตัวอย่างในการตรวจสอบความถูกต้องของพืชสกุล Hypericum เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาและมีรายงานประโยชน์ต่อสุขภาพของพืชสกุลนี้มากขึ้นจึงส่งผลให้มีการใช้พืชสกุลนี้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะ Hypericum perforatum (St john’s wort) เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอาการซึมเศร้า ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ส่วนในตำรายาโบราณของโปรตุเกส พบว่า Hypericum androsaemum เป็นพืชที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย มีฤทธิ์ปกป้องตับและขับปัสสาวะ โดยในการวิจัยจะศึกษาดีเอ็นเอในส่วน ITS1 และ matK มีศักยภาพในการนำมาทำดีเอ็นเอมินิบาร์โค้ด ซึ่งจะนำมาใช้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของ H. perforatum และ H. androsaemum ที่อยู่ในรูปแบบชาชงได้ ผลจากการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของ ITS1 และ matK สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นไพรเมอร์ที่มีความจำเพาะเพื่อใช้ในวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบเวลาจริงร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยการคลายเกลียวของสายดีเอ็นเอ พบว่าประสบความสำเร็จในการใช้ไพรเมอร์ที่มีความจำเพาะเพิ่มผลผลิตพีซีอาร์ของดีเอ็นเอในแต่ละส่วน ผลการวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอในส่วน ITS1 พบว่ามีความเหมาะสมในการนำมาใช้แยกพืชในระดับชนิด และผลการวิเคราะห์ลำดับเอ็นเอในส่วน matK พบว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทำดีเอ็นเอมินิบาร์โค้ด ซึ่งดีเอ้นเอทั้ง 2 ส่วนเมื่อนำมาใช้กับวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบเวลาจริงนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยการคลายเกลียวของสายดีเอ็นเอ พบว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแยกสมุนไพรที่ผสมกันในรูปแบบชาชงได้ อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้วิธีนี้ในการตรวจสอบชนิดของพืชที่ระบุไว้บนฉลากเพื่อแยกพืชที่ปนปลอมได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ