โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลบุคลากรฝ่ายผลิต กรณีศึกษา: บริษัท กราเวียกราฟฟิคส์ จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • Ratchakrit Tanapattanadol Faculty of Engineering, Eastern Asia University
  • Kittisak Jangphanish College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University
  • Parinya Ruengtip College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University
  • Warunee Milinthapanya Faculty of Business Administration, Thonburi University

คำสำคัญ:

กระบวนการผลิต, ประสิทธิผลของบุคลากร, โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของบุคลากรในกระบวนการผลิต เพื่อสร้างตัวแบบจำลองในกระบวนการผลิตของบุคลากรฝ่ายผลิต และพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลของบุคลากรฝ่ายผลิตกรณีศึกษา บริษัท กราเวีย กราฟฟิคส์ จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร ประชากรคือบุคลากรฝ่ายผลิตบริษัท กราเวีย กราฟฟิคส์ จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 280 คน การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ความถี่ ร้อยละ  สำหรับความสามารถในการผลิตจะใช้การจำลองสถานการณ์จำนวน 10,000 รอบ โดยใช้โปรแกรมในการจำลองสถานการณ์และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อประสิทธิผลขององค์กรคือทัศนคติในการทำงาน รองลงมาคือ แรงจูงใจในการทำงาน ความกดดันในการทำงาน ระดับการศึกษา ความสามารถในการทำงาน และทักษะในการทำงานโดยมีน้ำหนักองค์ประกอบคือ 0.493 , 0.484 , 0.478 , 0.427 , 0.413 และ 0.395 ตามลำดับ กระบวนการผลิตประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าและเปิดใบสั่งการผลิต การวางแผนการผลิต การทำไฟล์/ฟิล์ม  การกลึง การชุบทองแดง  การเจียรนัย การแกะลาย/เลเซอร์ การชุบฮาร์ดโครม การพิมพ์สี และ การควบคุมคุณภาพ โดยแต่ละกระบวนการมีความสามารถในการทำงานร้อยละ47.31 , 54.44 , 49.53 , 53.92 , 47.46 , 49.56 ,
48.19 , 53.47 , 92.18 และ 47.06 ตามลำดับ และ ความผันแปรของประสิทธิผลขององค์กรสามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัยในกระบวนการผลิตเป็น 51.10 %

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย