การประยุกต์ใช้ร่างไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบบนถ่านกัมมันต์เพื่อบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ผู้แต่ง

  • Khanitta Hathaisamit สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • Sombat Teekasap สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • Jakrapong Kaewkhao ศูนย์วิจัยแห่งความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีแก้วและวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • Boonmee Kavinsekson สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ไทเทเนียมไดออกไซด์, ถ่านกัมมันต์, น้ำเสีย, อุตสาหกรรมสิ่งทอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนานวัตกรรมไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบบนถ่านกัมมันต์ (2) ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบบนถ่านกัมมันต์ในรูปแบบต่างๆ การทดลองครั้งนี้เตรียมถ่านกัมมันต์ลงไปแช่ในสารละลายไทเทเนียมไดออกไซด์ (TITANIUM DIOIDE-DHA100) ที่เตรียมไว้ แล้วนำไปอบที่ 105องศาเซลเซียส และเผาที่ 500 องศาเซลเซียส แล้วทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.900-2547)พบว่าเป็นไปตามเกณฑ์ จากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอนำจาก บริษัท จงสถิตย์ จำกัด ซึ่งมีการทดลอง 2 รูปแบบ คือ1) ระบบบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนร่วมกับไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบถ่านกัมมันต์ การทดลองที่ดีทีสุด คือ ระยะเวลาเติมอากาศของระบบเอสบีอาร์ 12 ชั่วโมง ระยะเวลาตกตะกอน และปล่อยน้ำทิ้ง 1 ชั่วโมง แล้วบำบัดต่อด้วยรางบรรจุไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบถ่านกัมมันต์ 12 ชั่วโมง (ความยาว 50 เซนติเมตร) และ 2) ใช้รางบรรจุไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบถ่านกัมมันต์บำบัดน้ำเสียโดยตรง พบว่า ระยะเวลาเก็บกักน้ำ 24 ชั่วโมง ความยาวของรางบรรจุถ่าน 100 เซนติเมตร สามารถบำบัดซีโอดี บีโอดี ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งระบายออกจากโรงงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) และค่าของสีผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ร่าง) กำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย