การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจเพื่อลดความเครียดในการสอบหลังฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์2 ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
สื่อวีดิทัศน์, การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ, ความเครียด, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจสำหรับนักศึกษาพยาบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) สร้างและพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจของนักศึกษาพยาบาล 2) ศึกษาเปรียบเทียบความเครียดในการสอบก่อนและหลังใช้สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน สุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ 2) แบบประเมินความเครียด 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อวีดิทัศน์ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Conbrach Alpha Coefficient) เท่ากับ .89 และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที (0ne Sample t – test) และสถิติค่าที (Paired sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจของนักศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีความยาว 45 นาทีประกอบด้วยคำบรรยาย วิธีการปฏิบัติ ภาพเคลื่อนไหวและดนตรีบรรเลง มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=10.14, p< .05) (2) ความพึงพอใจในการใช้สื่อวีดิทัศน์โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด (= 3.57, SD = 0.49) (3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในการสอบหลังการใช้สื่อวีดิทัศน์ ( = 1.41 , SD. = 0.41) น้อยกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดก่อนใช้สื่อวีดิทัศน์ ( = 1.67, SD. = 0.45) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.54, p< 0.001) สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ มีประสิทธิภาพ สามารถลดความเครียดในการสอบของนักศึกษาพยาบาลได้ มีการออกแบบเป็นที่พึงพอใจระดับมากที่สุด ความพึงพอใจด้านความสะดวกในการใช้อยู่ในระดับมาก และควรนำไปใช้ในการลดความเครียดในการสอบทุกวิชาของนักศึกษาต่อไป