ปัจจัยทำนายการรู้สารสนเทศอิเลคทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • Churairat Duangchan วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • Jantima Kheokao คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • Panitnat Chamnansua วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • Yaowaluck Meebunmak วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • Chularat Howharn วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • Pornlert Chumchai วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • Tunyarat Duangkam วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • Chattong Jaruphisitphaibun วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การรู้สารสนเทศอิเลคทรอนิกส์ด้านสุขภาพ, ปัจจัยทำนาย, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรู้สารสนเทศอิเลคทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลจากวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 3,346 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มวิทยาลัยพยาบาลเพื่อเป็นตัวแทนแต่ละภูมิภาคของประเทศ จากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกจากวิทยาลัยนั้นๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทักษะสารสนเทศด้านสุขภาพ พฤติกรรมการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพ สภาวะสุขภาพและการรู้สารสนเทศอิเลคทรอนิกส์ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลรู้สารสนเทศอิเลคทรอนิกส์ด้านสุขภาพในระดับมาก (mean = 4.13, SD=.58) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้สารสนเทศอิเลคทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ได้แก่ อายุ จำนวนปีที่ศึกษา ประสบการณ์ในการฝึกภาคปฏิบัติ ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ความเชื่อมั่นในการนำสารสนเทศไปใช้ เนื้อหาสาระของข้อมูลที่สืบค้น ความถี่ในการสืบค้นข้อมูล และภาวะสุขภาพ ยกเว้นความน่าเชื่อถือของสารสนเทศมีความสัมพันธ์ทางลบ ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุพบว่า ปัจจัยทำนายทุกตัวแปร ยกเว้นอายุ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการรู้สารสนเทศ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย