ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ขณะรักษาด้วยเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • Patcharin Kaewrat คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Wanna Chaiaroon คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Wasinee Wisestrith คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ขณะรักษาด้วยเคมีบำบัดผู้ให้ข้อมูลคือ  ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3-4 ขณะมารักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่หอผู้ป่วยเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรีเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2558 ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคลจำนวนผู้ให้ข้อมูล จำนวน 13 ราย ผลการวิจัย พบว่าประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ขณะรักษาด้วยยาเคมีบำบัดด้วย8ประเด็นดังนี้ 1) เคมีบำบัดเป็นความหวัง 2) เบื่อ 3) เจ็บแล้วเจ็บอีก 4) ต่อสู้กับอาการคลื่นไส้ อาเจียน5) เจ็บแผลร้อนในช่องปาก6) ไม่สุขสบาย/ชา7) เหนื่อยเพลียหมดเรี่ยวแรง 8) กังวลกลัวผลเลือดไม่ผ่าน ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เข้าใจความคิด ความรู้สึกของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ขณะรักษาด้วยเคมีบำบัดซึ่งบุคลากรพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนให้การพยาบาลที่มีความสอดคล้องกับความคิด ความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรม และให้การพยาบาลที่ตรงตามความต้องการและจัดโปรแกรมการพยาบาลให้สอดคล้องกับความหวังของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย