รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยใช้กระบวนการพาอิก

ผู้แต่ง

  • Kan Nakapong สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • Nongnapas Thiengkamol สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ขยะมูลฝอย, การจัดการ, กระบวนการพาอิก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน แรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ระหว่างก่อนและหลังการอบรมด้วยกระบวนการพาอิก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมแบบพาอิก กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนปัจฉิมทัศน์ จำนวน 21 คน ได้มาจากการสุ่มเลือกแบบเจาะจง จาก อสม.ในชุมชนปัจฉิมทัศน์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แบบทดสอบในการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Paired Sample t-test และ One-way ANOVA

                              หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมแบบพาอิก ผลการวิจัยพบว่า หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรมในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน แรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน และผลสัมฤทธิ์ของการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งหมดทุกด้าน ในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต คะแนนเฉลี่ยมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.05 นอกจากนี้การประเมินสี่ด้าน คะแนนเฉลี่ยมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                              ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ การอบรมด้วยกระบวนการพาอิกในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน แรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน สามารถทำให้การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการพาอิกยังสามารถใช้ในการอบรมการเป็นวิทยากรฝึกอบรมได้ เพราะฉะนั้นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความช่วยเหลือแก่ อสม. โดยให้คำแนะนำแก่ อสม. ในชุมชนต่าง ๆ ให้ร่วมกันจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย