การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงในการเสพยาเสพติดในเด็กและ เยาวชนชาวเขาโดยการประยุกต์ใช้หลักความยืนหยัดจากสิ่งเย้ายวน ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • Narongsak Noosorn Faculty of Public Health, Narasuen University
  • Jakkapan Petchpoom Faculty of Public Health, Narasuen University

คำสำคัญ:

การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตยาเสพติดเด็กและเยาวชนชาวเขา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนชาวเขา พร้อมทั้งพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตในการลดความเสี่ยงในการเกี่ยวข้องกับสารเสพติดโดยการประยุกต์ใช้หลักความยืนหยัดและสิ่งเย้ายวน ในเด็กและเยาวชนชาวเขาพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีการศึกษา3 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1  การศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้สารเสพติด ในเด็กและเยาวชนชาวเขา จังหวัดตาก  กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนมีอายุระหว่าง 10-17 ปี จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิต ระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลโปรแกรมผลการศึกษาพบว่า เด็กและเยาวชนชาวเขาเคยมีประสบการณ์ดื่มสุราร้อยละ 30 สูบบุหรี่ร้อยละ 15ใช้สารระเหย ร้อยละ 4.7  กัญชา ร้อยละ 3.86 และการใช้ยาบ้า ร้อยละ 2.14  รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่หนึ่ง การสร้างสัมพันธภาพ  ขั้นที่สอง การสร้างการรับรู้อันตราย จากสารเสพติด  ขั้นที่สาม การสร้างความตระหนัก ขั้นที่สี่ การพึ่งตนเอง  ขั้นที่ห้า เป็นการสร้างความกลัวต่ออันตรายของสารเสพติด ขั้นที่หก การให้สัญญาลดพฤติกรรมเสี่ยง  ขั้นที่เจ็ด อาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านสารเสพติด ให้คำแนะนำเยาวชน  ขั้นที่แปด กิจกรรมมองโลกในแง่ดี  ขั้นที่เก้า ติดตามเฝ้าระวัง ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดก่อนและหลังการจัดโปรแกรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p-value < 0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย