บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • Tanunnipa Paksukkanitiwat Western University (Burirum Campus)
  • Chutchawal Wongsaree Western University (Kanchanaburi Campus)

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาล, การตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน, การฟอกไตในหญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

โรคไตวายเฉียบพลันกับการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กันอย่างมากโดยเฉพาะในสตรีที่มีโรคไตวายอยู่ก่อนการตั้งครรภ์  และการตั้งครรภ์มีผลทำให้โรคไตวายที่เกิดขึ้นมีอาการเลวลงเรื่อยๆ ฉะนั้นพยาบาลจึงต้องแสดง 3 บทบาทสำคัญ คือ 1) บทบาทการประเมินและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเฉียบพลัน  โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ   เฝ้าระวังการกำเริบของโรคไตวายเฉียบพลันในระหว่างการตั้งครรภ์ การดูแลที่สำคัญในระยะนี้ คือ ดูแลให้รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ  ดูแลให้นอนตะแคงซ้ายพักบนเตียงตลอดเวลา ประเมินความดันโลหิต  น้ำหนักตัว ปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะ อาการบวม เก็บเลือดตรวจเพื่อประเมินการทำงานของไต จำกัดน้ำ  ให้ยาลดความดันโลหิตและให้ยาขับปัสสาวะ 2) บทบาทในการป้องกันและร่วมรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ทำได้โดยการป้องกันความรุนแรงของโรคไม่ให้เพิ่มขึ้น ด้วยการกำจัดสาเหตุที่จะทำให้ไตถูกทำลายมากยิ่งขึ้น การดูแลที่สำคัญในระยะนี้ คือ การทำการฟอกเลือดให้กับหญิงตั้งครรภ์ตามแผนการรักษาและจัดยา อาหารที่จำเพาะเพื่อควบคุมภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารกอย่างน้อย 4 ครั้ง/วัน ประเมินลูกดิ้นตามปกติ นอนพักบนเตียงให้มาก จำกัดน้ำ จำกัดเกลือในอาหารและเพิ่มโปรตีนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย      จำกัดระดับโปแตสเซียม เฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตต่ำที่จะนำมาสู่เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอและป้องกันการคลอดก่อนกำหนด   3) บทบาทในการดูหญิงตั้งครรภ์ในระยะต่อเนื่อง เป็นบทบาทที่ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการตั้งครรภ์ให้สำเร็จและปลอดภัยในระยะคลอดและหลังคลอด  หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อได้เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  พยาบาลต้องแสดงบทบาทในการประเมินเพื่อช่วยแพทย์ในการยุติการตั้งครรภ์  และให้การดูแลครอบครัวต่อเนื่อง  ภายใต้แนวคิดการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ