ทรานสิชั่นโมเดล (RTM-STM-STSSM) กับการจำลองสถานะการปฏิสัมพันธ์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
คำสำคัญ:
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์, ระบบผู้เชี่ยวชาญ, ทรานสิชั่นโมเดลแบบรูล์, ทรานสิชั่นโมเดลแบบสเตท, โมเดลระบบสนับสนุนทรานสิชั่นแบบสเตทบทคัดย่อ
บทความนี้ เป็นตัวอย่างรูปแบบและแนวทางการใช้ Transition Model ในการจำลองสถานะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ สำหรับเป็นโมเดลระบบกฎเหตุผลของระบบผู้เชี่ยวชาญที่จะกำหนดไว้ในการปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ซึ่งอธิบายพฤติกรรมของสถานการณ์จำลอง ดังตัวอย่างกรณีศึกษา "แบบจำลองภาชนะวัดสาร 6J4U" อันเป็นโมเดลภาชนะตวงสาร J และ U ที่ไม่มีมาตรวัด ซึ่งมีขนาดความจุ 6 ลิตรและ 4 ลิตร ตามลำดับ โดยเป็นโมเดลการปฎิสัมพันธ์ที่สามารถจำลองการวัดสารฯ ที่มีปริมาณสารเป้าหมายในภาชนะที่แตกต่างกันได้ถึง 35 ปริมาณ นอกจากนี้ในแต่ละกรณีสถานะปริมาณสารเป้าหมายก็ยังสามารถมีสถานะปริมาณสารเริ่มต้นที่แตกต่างกันด้วย และจาก 9 กรณีศึกษา "แบบจำลองภาชนะวัดสาร 6J4U" ด้วยการใช้ Transition Model 3 แบบ (แบบ RTM แบบ STM และแบบ STSSM) จำลองสถานะการปฏิสัมพันธ์ภายใต้ระบบการใช้เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญที่ผู้เรียนได้ออกแบบกำหนดไว้ในการแก้ปัญหา พบว่า ระบบกฎเหตุผลของระบบผู้เชี่ยวชาญที่จะกำหนดไว้ในการปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ไม่ว่าจะด้วยการใช้ Transition Model แบบใด ในการจำลอง ต่างก็ควรต้องพิจารณาถึงปริมาณสารที่เป้าหมายคำตอบและปริมาณสารที่เริ่มต้น อีกทั้งแต่ละระดับปริมาณสารเป้าหมายและปริมาณสารเริ่มต้นเดียวกันก็ยังสามารถจำลองโมเดลที่แตกต่างกันได้หลายแบบ โดยขึ้นอยู่กับจำนวนและขั้นตอนในการใช้กฎจากเริ่มต้นให้ไปสู่เป้าหมาย ผลการดำเนินการ จากความคิดเห็นผู้เรียนจำนวน 94 ราย พบว่า ด้านต่างๆที่ผู้เรียนได้รับได้บูรณาการอยู่ในเกณฑ์ผ่าน (ค่าร้อยละเกิน 50) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเห็นความแตกต่างของการใช้ RTM จะต้องเดินตามลำดับที่กำหนดไว้ในโมเดลแต่สามารถเดินไปสู่คำตอบเป้าหมายลำดับถัดๆไปได้ (ถ้ามีหลายคำตอบเป้าหมาย) ส่วนการใช้ STM นอกจากจำนวนการใช้กฎจะเท่ากันกับการใช้ RTM เพื่อเดินไปสู่คำตอบเป้าหมายลำดับแรก แล้วก็ยังสามารถมีจำนวนที่น้อยกว่าหรือมากกว่าได้ นอกจากนี้การใช้ STSSM จะช่วยวิเคราะห์แบบ Target Seeking เพื่อเลือกทางเดินการใช้กฎโดยให้มีจำนวนการใช้กฎที่ต้องการ และ/หรือโดยให้มีจำนวนคำตอบที่ผู้ใช้ต้องการ