ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากกะหล่ำปลี (Brassica oleracea L.var.capitata) ภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
กะหล่ำปลี, เพคติน, การสกัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาสภาวะการสกัดเพคตินจากกะหล่ำปลีที่เหมาะสม โดยนำกะหล่ำปลีจากภูทับเบิกมาสกัดด้วยกรด 2 ชนิด ได้แก่ กรดไฮโดรคลอริก และกรดไนตริก ความเข้มข้น 1 นอร์มอล อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัด 3 ระดับ คือ 80, 90 และ 100 องศาเซลเซียส และเวลาที่ใช้ คือ 30, 60 และ 90 นาที จากนั้นนำเพคตินที่สกัดได้ไปวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณร้อยละผลผลิตที่ได้ , ร้อยละความชื้น , ปริมาณเมธอกซี , น้ำหนักสมมูล , เปอร์เซ็นต์ DE และมิลลิกรัมของกรดกาแลกทูโรนิก (%) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี DMRT พบว่าสารสกัดเพคตินที่สกัดได้ดีที่สุด คือ เพคตินที่สกัดด้วยกรดไนตริก (HNO3) เข้มข้น 1 นอร์มอล ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 นาที จะมีลักษณะเป็นของแข็งสีขาวขุ่น ละลายน้ำได้ดี มีปริมาณน้ำหนักแห้ง ร้อยละ 15.8 ซึ่งเมื่อนำไปวิเคราะห์คุณสมบัติ พบว่าเพคตินที่สกัดได้จะมีความชื้น , ปริมาณเมธอกซี , น้ำหนักสมมูล , เปอร์เซ็นต์ DE และมิลลิกรัมของกรดกาแลกทูโรนิก (%) มีค่าเท่ากับ 20.00±0.95 , 7.44±0.02 , 900.36±1.87 , 53.33±0.07 และ 794.19±0.74 ตามลำดับ และสามารถแบ่งเกรดของเพคตินที่สกัดได้จากกะหล่ำปลีจัดเป็นแบบ High methoxyl pectih (HM) ชนิดเกิดเจลได้ช้ามาก (Extra slow set pectin) โดยดูจากปริมาณเมธอกซี (% methoxyl) มากกว่าร้อยละ 7 ซึ่งมีผลสอดคล้องกับระดับเอสเทอร์ริฟิเคชั่น (% DE) ซึ่งต้องมากกว่า 50 %