การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ผักตบชวา ต้นจอก และต้นธูปฤาษีเป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง

ผู้แต่ง

  • Thapakorn Khumhomsuk Eastern Asia University

คำสำคัญ:

ผักตบชวา, ต้นจอก, ต้นธูปฤาษี, เห็ดฟาง, วัสดุเพาะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ผักตบชวา ต้นจอก และต้นธูปฤาษีเป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง  และ(2)  เปรียบเทียบต้นทุนในการใช้ผักตบชวา ต้นจอก และต้นธูปฤาษีเป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง  งานวิจัยนี้ใช้การวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ มีตำรับการทดลอง 4 ตำรับการทดลอง และตำรับการทดลองละ 5 ซ้ำ การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุเพาะ ปริมาณผลผลิตและการเจริญของเห็ดฟาง และการวิเคราะห์ด้านการเงิน  โดยใช้การทดสอบทางสถิติแบบความแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ลักษณะทางกายภาพและเคมีของผักตบชวา ต้นจอก และต้นธูปฤาษีมีลักษณะใกล้เคียงกับลักษณะทางกายภาพและเคมีของฟางข้าว ยกเว้นไนโตรเจนทั้งหมด และลิกนินที่มีปริมาณมากกว่า (2) เห็ดฟางที่ถูกเพาะจากต้นจอกให้ปริมาณผลผลิตสูงกว่าวัสดุเพาะประเภทอื่น (3) การเพาะเห็ดฟางจากผักตบชวา ต้นจอก และต้นธูปฤาษีมีความคุ้มค่าทางด้านการเงินสูงกว่าการใช้ฟางข้าว ดังนั้นผักตบชวา ต้นจอกน้ำ และต้นธูปฤาษีในงานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดฟางแทนฟางข้าวได้ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย