การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหาร ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา

ผู้แต่ง

  • Rungrueng Sarawijit นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ความหลากหลายของพืชอาหาร, สิ่งแวดล้อมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาความหลากหลายของพืชอาหาร  (2) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหาร (3) สร้างและพัฒนาชุดการเรียนรู้การอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80   และ (4) ประเมินความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหาร  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้กลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนครัวเรือน จำนวน 140 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย   ปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 20 คน ได้จากการสุ่มแบบลูกโซ่ (Snowball) และนักเรียน จำนวน 37 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์  แบบทดสอบวัดความรู้  แบบวัดเจตคติและพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพความหลากหลายของพืชอาหาร พบ 185 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นพืชยืนต้น 55 ชนิด  ส่วนปัญหาความหลากหลายของพืชอาหาร พบว่า มีปริมาณลดลงและหาได้ยากขึ้น (2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหาร พบว่า ใช้การปลูกแบบผสมผสาน แบบวนเกษตรและปลูกตามหัวไร่ปลายนา (3) การสร้างและพัฒนาชุดการเรียนรู้การอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการพัฒนาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ อยู่ในเกณฑ์  81.83 / 84.66 และ(4)  ผลการประเมินความรู้  เจตคติ และพฤติกรรมการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหาร พบว่าผลการเรียนรู้ด้านความรู้ เจตคติและพฤติกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย