การเปรียบเทียบอำนาจการตรวจจับการลอกคำตอบและอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของดัชนี  และ GBT ในการตรวจจับการลอกคำตอบ

ผู้แต่ง

  • Arpapan Prathumthai Chulalongkorn University

คำสำคัญ:

การลอกคำตอบ, โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบ Nominal, การทดสอบแบบทวินามทั่วไป (Generalized Binomial Test), ดัชนีตรวจจับการลอกคำตอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบค่าอำนาจการตรวจจับการลอกคำตอบและอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของดัชนี w และ GBT ที่อยู่บนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ทำการศึกษาโดยใช้การจำลองสถานการณ์ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกันในด้านความยาวของแบบสอบ จำนวนผู้สอบ ร้อยละของจำนวนข้อสอบที่ถูกลอก และประเภทโมเดลในการประมาณค่าความน่าจะเป็นกำหนด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกม MULTILOG เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ข้อสอบและผู้สอบ และคำนวณค่าอำนาจการตรวจจับและอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ด้วยโปรแกรม R ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้เขียนคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลสำหรับทั้งสองดัชนี ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนี w และ GBT สามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกระดับนัยสำคัญที่กำหนดและทุกสถานการณ์ที่ศึกษา โดยดัชนี GBT จะสามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ดีกว่าในสถานการณ์ส่วนใหญ่ และ 2) ดัชนี w และ GBT มีค่าอำนาจการตรวจจับที่ดีในทุกสถานการณ์ที่ระดับนัยสำคัญ .01 และ .05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออำนาจการตรวจจับการลอกของทั้งสองดัชนีคือ ความยาวแบบสอบ และร้อยละของจำนวนข้อสอบที่ถูกลอก เมื่อแบบสอบมีความยาวเพิ่มขึ้น ทั้งดัชนี w และ GBT จะมีค่าอำนาจการตรวจจับการลอกเพิ่มขึ้น และโดยส่วนใหญ่ดัชนี w จะมีค่าอำนาจการตรวจจับสูงกว่าดัชนี GBT ถ้ามีจำนวนข้อสอบถูกลอกในปริมาณน้อยและปานกลาง (ร้อยละ 10 และ 50) แต่ถ้ามีจำนวนข้อสอบถูกลอกในปริมาณมาก (ร้อยละ 90) ทั้งสองดัชนีจะสามารถตรวจจับการลอกคำตอบได้ทั้งหมดในทุกสถานการณ์ที่ศึกษา 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย